“เสริมศักดิ์ -ททท.” ดันไทยเจ้าภาพงานโลก InterPride2025

กระทรวงการเที่ยวและกีฬา นำทีม ททท. และ กทม.สนับสนุนงาน Bangkok Pride Festival 2024 เปิดครั้งแรกพระราม 1 ถนนสีรุ้ง จัดงานใหญ่ 31 พ.ค.-4 มิ.ย.67
กระทรวงการเที่ยวและกีฬา นำทีม ททท. และ กทม.สนับสนุนงาน Bangkok Pride Festival 2024 เปิดครั้งแรกพระราม 1 ถนนสีรุ้ง จัดงานใหญ่ 31 พ.ค.-4 มิ.ย.67

รมว.เสริมศักดิ์” หวังนำไทยเจ้าภาพ InterPride2025 หนุน “ ททท. -กทม.” ยืนหนึ่งแปลงโฉมย่านพระราม 1 เป็นถนนสีรุ้ง รมว.เสริมศักดิ์ จัดกระหึ่ม“บางกอกไพรด์เฟสติวัล 2024” 5 วันรวด 31 พ.ค.-4 มิ.ย.นี้

นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รมว.กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กับ น.ส.ฐาปนีย์ เกียรติไพบูลย์ ผู้ว่าการ ททท. ร่วมสนับสนุนจัด Pride Month ทั่วไทย
นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รมว.กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กับ น.ส.ฐาปนีย์ เกียรติไพบูลย์ ผู้ว่าการ ททท. ร่วมสนับสนุนจัด Pride Month ทั่วไทย

นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เปิดเผยว่า ร่วมกับนางสาวฐาปนีย์ เกียรติไพบูลย์ ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ศานนท์ หวังสร้างบุญ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร วาดดาว – อรรณว์ ชุมาพร ประธานและผู้ก่อตั้งนฤมิตไพรด์ ประกาศเดินหน้าแผนงานเตรียมความพร้อมจัดงานใหญ่ใจกลางกรุงเทพฯ “บางกอกไพรด์ เฟสติวัล 2024 : Bangkok Pride Festival 2024) ภายใต้แนวคิด Celebration of Love” โดยจะเนรมิตถนนพระราม 1 เป็นถนนสีรุ้งแห่งความเท่าเทียม ต่อเนื่อง 5 วัน เริ่ม 31 พฤษภาคม – 4 มิถุนายน 2567

มุ่งขับเคลื่อนกิจกรรมเคานต์ดาวน์หรือนับถอยหลังที่ประเทศไทยจะเปิดกว้างให้ใช้กฎหมายสมรสเท่าเทียมก่อนสิ้นปี 2567 ควบคู่กับการตั้งเป้าปี 2567 จะใช้พลังของตลาดความหลากหลายทางเพศเป็นอีกหนึ่งพลังขยายฐานการท่องเที่ยวทำให้เศรษฐกิจของประเทศเติบโตได้ตามเป้าหมาย 3.5 ล้านล้านบาท รวมทั้งจะผนึกกำลังกันนำเสนอความพร้อมและคุณสมบัติผลักดันให้ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดงาน Inter Pride World Conference 2025 ปี 2568 และ Bangkok WorldPride 2030 ปี 2573 รองรับท่องเที่ยวทั่วโลกกลุ่มดังกล่าวกำลังเติบโตอย่างมีนัยสำคัญ

ส่วนกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา โดยททท.ให้ความสำคัญตลาดนักท่องเที่ยว LGBTQIAN+ เนื่องจากเป็นกลุ่มสนใจเฉพาะหรือ Niche market ที่ทรงพลัง มีคุณภาพและศักยภาพใช้จ่ายสูง รวมถึงมีความถี่ในการเดินทางบ่อยครั้ง ใช้ระยะเวลาพำนักในเมืองไทยยาวนาน ก่อให้เกิดเม็ดเงินไหลเวียนทางเศรษฐกิจมหาศาล ซึ่งไทยสามารถจะพึ่งพาตลาดดังกล่าวขับเคลื่อนรายได้เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจประเทศทั้งปัจจุบันและอนาคต

ทุกมิถุนายนของทุกปีผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ ได้กำหนดให้เดือน “Pride Month” ในประเทศไทยก็จะมีกลุ่ม LGBTQIAN+ ทั้งคนไทย และนานาชาติ มารวมตัวกันจัดงานตามจังหวัดต่าง ๆ โดยเฉพาะในพื้นที่จุดหมายปลายทาง การท่องเที่ยวทั้ง 5 ภูมิภาค ในภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคเหนือ ภาคใต้ ภาคอีสาน

บรรดาผู้หลากหลายทางเพศ LGBTQIAN+ เตรียมรวมตัวกันนับถอยหลังที่ไทยจะเปิดให้ใช้กฎหมายสมรสได้ และนำงาน InterPride 2025 มาจัดในไทยปี 2568
บรรดาผู้หลากหลายทางเพศ LGBTQIAN+ เตรียมรวมตัวกันนับถอยหลังที่ไทยจะเปิดให้ใช้กฎหมายสมรสได้ และนำงาน InterPride 2025 มาจัดในไทยปี 2568

ปัจจุบัน LGBTQIAN+ มาจากความหลากหลายทางเพศ ซึ่งมีความหมายแตกต่างกันไป 8 สไตล์ขึ้นไป ประกอบด้วย

1.Lesbian หญิงชื่นชอบหญิงด้วยกัน 2.Gay ผู้ที่ชื่นชอบรสนิยมเพศตรงกับตนเอง 3.Bisexual ผู้ชื่นชอบได้ทั้งเพศเดียวกันและเพศตรงข้าม4.Transgender ผู้ที่แสดงอัตลักษณ์ทางเพศตรงข้าม แตกต่างไปจากเพศกำเนิดของตัวเอง

5.Queer/เควียร์ คำที่ใช้ในกลุ่มคนรุ่นใหม่ ที่มีความหลากหลายทางเพศ อธิบายถึงรสนิยมทางเพศของตัวเอง บ่งบอกความไม่มีกรอบการกำหนดเกี่ยวกับเรื่องเพศ 6.Intersex ผู้มีเพศกำกวม ด้วยสรีระทางเพศหรือไม่ตรงอาจจะมีทั้งชายและหญิง 7.Asexual ผู้ไม่ฝักใฝ่ทางเพศ 8 Non-Binary ใช้เพื่อทำให้เห็นอัตลักษณ์ทางเพศ หรือการแสดงออกซึ่งอยู่นอกเหนือการจัดหมวดเรื่องเพศที่มีเพียงแค่ชายและหญิงเท่านั้น

-เรื่องโดย #เพ็ญรุ่งใยสามเสน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง : ททท. หนุนสมุย จัดเทศกาล Pride ดันไทยติดท็อป LGBTQ 6.64 ล้านล้าน

LGBTQ คือ ความหลากหลายทางเพศ ถือเป็นความชอบที่หลากหลายเฉพาะบุคคล เฉกเช่นเดียวกับการชื่นชอบสิ่งต่างๆในชีวิตประจำวันทั่วไป เช่น รูป รส กลิ่น สี รสนิยมต่างๆ โดยไม่ได้เกิดจากความผิดปกติจากส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายแต่อย่างใด

LGBTQ ย่อมาจาก L = Lesbian กลุ่มผู้หญิงรักผู้หญิง , G = Gay กลุ่มชายรักชาย , B = Bisexual กลุ่มที่รักได้ทั้งผู้ชายและผู้หญิง , T = Transgender กลุ่มคนข้ามเพศ จากเพศชายเป็นเพศหญิง หรือเพศหญิงเป็นเพศชาย , Q = Queer กลุ่มคนที่พึงพอใจต่อเพศใดเพศหนึ่ง โดยไม่ได้จำกัดในเรื่องเพศ และความรัก