นายกฯ เศรษฐา เปิดกระหึ่ม PrideMonth จัดทั่วไทย 20 จังหวัดมิ.ย.67

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี นำทีมรัฐ เอกชน และผู้เกี่ยวข้องทั้งในและต่างประเทศ ร่วมเปิดงาน PrideMonth คลิกออฟเฉลิมฉลองยิ่งใหญ่เดือนแห่งความหลากหลายทางเพศ 1-30 มิ.ย.2567
นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี นำทีมรัฐ เอกชน และผู้เกี่ยวข้องทั้งในและต่างประเทศ ร่วมเปิดงาน PrideMonth คลิกออฟเฉลิมฉลองยิ่งใหญ่เดือนแห่งความหลากหลายทางเพศ 1-30 มิ.ย.2567

นายกฯ เศรษฐา นำรัฐเอกชนเปิดกระหึ่ม! เทศกาล Bangkok Pride Festival 2024” (PrideMonth) จัดพาเหรดยาวสุดในเอเชีย 2.5 กม. หนุน LGBTQIAN+ นายก ร่วมสร้างประวัติศาสตร์ในไทย นับถอยหลังใช้กม.สมรสเท่าเทียม จัดใน 20 จังหวัด 21 พื้นที่เตรียมเป็นเจ้าภาพงานโลก Road to Bangkok World Pride 2030

1 มิถุนายน 2567 นายกฯ เปิดงาน บางกอกไพร์ “บางกอกไพรด์ เฟสติวัล 2024” งานแรกหน้าลานพาร์คพารากอน ได้รับความสนใจจากสื่อเผยแพร่ไปทั่วโลก
1 มิถุนายน 2567 นายกฯ เปิดงาน บางกอกไพร์ “บางกอกไพรด์ เฟสติวัล 2024” งานแรกหน้าลานพาร์คพารากอน ได้รับความสนใจจากสื่อเผยแพร่ไปทั่วโลก

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ได้เป็นประธานเปิดงาน บางกอกไพรด์ เฟสติวัล 2024 : Bangkok Pride Festival 2024 โดยใช้หน้าลานพารากอน ศูนย์การค้าสยาม เปิดวันแรก เพื่อสนับสนุน Pride Month ตลอดมิถุนายน 2567

ซึ่งเป็นเดือนแห่งเทศกาลความหลากหลายทางเพศเพื่อยกระดับให้ประเทศไทยเป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวกลุ่มคุณภาพกำลังซื้อสูง LGBTQIAN+ โดยมีนายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิชย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา นางสาวฐาปนีย์ เกียรติไพบูลย์ ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) รองผู้ว่าฯ กรุงเทพมหานคร พร้อมพันธมิตรเอกชน ภาคประชาสังคมภาคเอกชนร่วมกันส่งเสริมการเปิดงานวันแรก 1 มิถุนายน 2567

ภายใต้แนวคิด Celebration of Love โบกสะบัดธงไพรด์สีรุ้งยาวที่สุดในประเทศ 200 เมตร และขบวนพาเหรดเฟสติวัลยาวสุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กว่า 2.5 กิโลเมตร จากสนามกีฬาแห่งชาติ ทอดยาวบนถนนพระราม 1 ถึงสี่แยกราชประสงค์

ปรเทศไทยมุ่งมั่นสร้างอีเวนต์ “บิ๊กเฟสติวัล” จุดประจายงานเฉลิมฉลอง นับถอยหลังเคานต์ดาวน์เพื่อประกาศใช้กฎหมายสมรสเท่าเทียม ก่อนสิ้นปี 2567 เพื่อเปิดประวัติศาสตร์ให้ LGBTQIAN+ ปี 2567 นี้ได้มารวมตัวกันอยู่ทั่วเมืองไทย โดยใช้เงินลงทุนกระจายสู่พื้นที่จัดงานครอบคลุม ทั้งในกรุงเทพมหานคร และเมืองจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยว 5 ภูมิภาค 20 จังหวัด 21 พื้นที่ ประกอบด้วย

จุดหมายปลายทางท่องเที่ยว

  • ภาคกลาง 2 จังหวัด ได้แก่กรุงเทพมหานคร นครนายก
  • ภาคตะวันออก 2 พื้นที่ ได้แก่ พัทยา และพื้นที่ยอดนิยมในจังหวัดชลบุรี
  • ภาคเหนือ 6 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง ตาก กำแพงเพชร พิษณุโลก
  • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 8 จังหวัด ได้แก่ สุรินทร์ นครราชสีมา ขอนแก่น มุกดาหาร อุดรธานี บุรีรัมย์ มหาสารคาม อุบลราชธานี
  • ภาคใต้ 3 จังหวัด ได้แก่ ภูเก็ต สงขลา ตรัง นครศรีธรรมราช
รัฐบาลกระตุ้นทุกฝ่ายร่วมกันเตรียมความพร้อมรับตลาด LGBTQIAN+ นักท่องเที่ยวที่ใช้จ่ายเงินสูง และเตรียมไทยเป็นเจ้าภาพปี’73 จัดงานระดับโลก Road to Bangkok World Pride 2030
รัฐบาลกระตุ้นทุกฝ่ายร่วมกันเตรียมความพร้อมรับตลาด LGBTQIAN+ นักท่องเที่ยวที่ใช้จ่ายเงินสูง และเตรียมไทยเป็นเจ้าภาพปี’73 จัดงานระดับโลก Road to Bangkok World Pride 2030

นายกฯ เศรษฐา กล่าวว่า ความร่วมมือจัดนฤมิตไพรด์ครั้งนี้ทุกภาคส่วนได้ผนึกกำลังจับมือกันระหว่างกลุ่มผู้จัดคณะทำงานไพรด์ทั่วประเทศ ภาครัฐ รุกสร้างต้นแบบที่น่าสนใจ 6 เรื่อง ได่แก่ 1.ออกแบบกิจกรรมหลากหลาย 2.สร้างความตระหนักรู้เดินหน้าส่งเสริมการเข้าถึงสิทธิพื้นฐานทางเพศ 3.จัดกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ด้วยนิทรรศการต่าง 4.เปิดเสวนาให้ความรู้ 5.จัดเทศกาลภาพยนตร์และดนตรี

การแสดงวัฒนธรรมท้องถิ่น 6.เปิดตลาดนัดสีรุ้ง 7.หน่วยงานรัฐเปิดรับฟังข้อเรียกร้องทางกฎหมายที่จะยกระดับกฎหมายสมรสเท่าเทียม เพื่อเสริมสร้างเครือข่ายภาคประชาชนอย่างเข้มแข็ง สนับสนุนให้ทุกคนในชุมชนมีส่วนร่วมเตรียมพร้อมประเทศไทยให้พร้อมเป็นเจ้าภาพปี 2573 จัดงาน Road to Bangkok World Pride 2030

สำหรับ บางกอกไพรด์ เฟสติวัล 2024 : Bangkok Pride Festival 2024 ที่จัดขึ้นในไทยครั้งนี้ จะสามารถตอกย้ำศักยภาพเพิ่มไฮไลต์หลักศิลปินแดร็กและนางโชว์ และ สะท้อนเกี่ยวกับเอกลักษณ์ ศิลปะ วัฒนธรรม วิถีชีวิตของคนไทย ผ่านการแต่งกายและการแสดงโชว์ต่าง ๆ แล้ว

กลุ่ม LGBTlQIAN+ ยังเป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวศักยภาพสูงเป็น 1 ในกลุ่มที่สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจประเทศเติบโตอย่างเข้มแข็ง ส่งเสริมไทยเป็น Pride Friendly Destination พร้อมก้าวขึ้นเป็นประเทศแลนด์มาร์กอันดับ 1 ของกลุ่ม LGBTQIAN+ ทั่วโลกในอนาคตอันใกล้นี้

-เรื่องโดย #เพ็ญรุ่งใยสามเสน

ทำเนียบรัฐบาล

ข่าวที่เกี่ยวข้อง : เริ่มแล้ว “Bangkok Pride Festival 2024” เฉลิมฉลองสมรสเท่าเทียม

ขอบคุณแหล่งข้อมูล : แอลจีบีทีอาจหมายถึงบุคคลที่ไม่ได้รักต่างเพศ หรือไม่เป็นเพศซิส มากกว่า ที่จะหมายถึงเฉพาะกลุ่มเลสเบียน เกย์ ไบเซ็กชวล และทรานส์เจนเดอร์ โดยเฉพาะ เพื่อ ให้เป็นการครอบคลุมกลุ่มบุคคล ที่มีความหลากหลายมากขึ้น จึงนิยมใช้อักษรย่อ แอลจีบีทีคิว (อังกฤษ: LGBTQ) ซึ่งเป็นรูปแบบที่นิยมกว่า โดยการเพิ่มอักษร คิว (Q)

เพื่อสื่อถึงบุคคลที่นิยามตนเอง ว่าเป็นเควียร์ (อังกฤษ: Queer) หรือ เควชชันนิง (อังกฤษ: Questioning; ยังไม่ชัดเจน) บางทีมีการเพิ่มกลุ่มอินเตอร์เซ็กซ์ (อังกฤษ: Intersex) เข้าไป เป็นอักษรย่อ แอลจีบีทีไอ (อังกฤษ: LGBTI)

และ บางครั้งพบนำทั้งสองรูปแบบมารวมกันเป็น แอลจีบีทีไอคิว (อังกฤษ: LGBTIQ)

นอกจากนี้ ยังปรากฏอักษรย่อในรูป แอลจีบีที+ (อังกฤษ: LGBT+) เพื่อรวมสเปกตรัมของเพศวิถีและอัตลักษณ์ทางเพศอันหลากหลายของมนุษย์ทั้งหมด รูปแบบอื่น ๆ ที่พบไม่บ่อย เช่น แอลจีบีทีคิวไอเอ+ (อังกฤษ: LGBTQIA)

โดยอักษร เอ (A) มาจาก “อะเซ็กชวล” (อังกฤษ: Asexual), “อะโรแมนติก” (อังกฤษ: Aromantic) หรือ “อะเจนเดอร์” (อังกฤษ: Agender)

ส่วนตัวย่อรูปแบบอื่น ๆ ซึ่งในบางรูปแบบมีความยาวมากกว่าสองเท่าของ แอลจีบีที ก่อให้การวิพากษ์วิจารณ์ขึ้น[11][12][13] และการตีความว่าตัวย่อนี้เป็นการหมายถึงชุมชนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเป็นเฉพาะก็ยังคงเป็นที่ถกเถียงอยู่