ครม. อนุมัติหลักการ เงินประจำตำแหน่ง ข้าราชการตำรวจ

ข้าราชการตำรวจ เงินประจำตำแหน่ง
ครม.อนุมุติหลักการ เงินประจำตำแหน่ง ข้าราชการตำรวจ

ครม. อนุมัติหลักการ เงินประจำตำแหน่ง ข้าราชการตำรวจ เพื่อ ให้เป็นไปตามมาตรฐานเดียวกันกับข้าราชการพลเรือนและข้าราชการทหาร

ข้าราชการตำรวจ เฮ! เตรียมรับ เงินประจำตำแหน่ง

นางรัดเกล้า อินทวงศ์ สุวรรณคีรี รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า วันนี้ (28 พฤษภาคม 2567) ที่ประชุม ครม. มีมติ อนุมัติหลักการ ร่างพระราชกฤษฎีกา การได้รับเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการตำรวจ พ.ศ. …. ตามที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตช.) เสนอ และให้ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ตรวจพิจารณาต่อไป

สืบเนื่องจาก พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565 ได้ยกเลิก พ.ร.บ. ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547 และที่แก้ไขเพิ่มเติมแล้ว จึงต้องมีการตราพระราชกฤษฎีกา ได้รับเงินประจำตำแหน่ง ข้าราชการตำรวจ ใหม่

เพื่อทดแทนพระราชกฤษฎีกา การได้รับเงินประจำตำแหน่ง ของข้าราชการตำรวจ พ.ศ. 2558 ทั้งนี้ เพื่อให้สอดคล้องและเป็นไปตามที่ พ.ร.บ. ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565 กำหนดให้ ข้าราชการตำรวจ จะได้รับ เงินประจำตำแหน่ง ท้าย พ.ร.บ. ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565 ในอัตราใด ให้เป็นไปตาม พระราชกฤษฎีกากำหนด

รวมทั้ง เพื่อเป็นการปรับปรุง การได้รับเงินประจำตำแหน่ง ข้าราชการตำรวจ ให้เป็นไปตามมาตรฐาน เดียวกันกับข้าราชการพลเรือน และข้าราชการทหาร และสอดคล้องกับ การกำหนดลักษณะงานบริหาร ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ

สำหรับร่างพระราชกฤษฎีกา ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เสนอ เป็นการกำหนดประเภทตำแหน่ง และการได้รับเงินประจำตำแหน่ง ข้าราชการตำรวจ เพิ่มเติม จากพระราชกฤษฎีกาการได้รับเงินประจำตำแหน่ง ของข้าราชการตำรวจ พ.ศ. 2558 ที่จะถูกยกเลิก

เพื่อให้สอดคล้องกับ พ.ร.บ. ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565 และกำหนดสิทธิ และหลักเกณฑ์ ของ ข้าราชการตำรวจ ให้ได้รับ เงินประจำตำแหน่ง ตามบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่ง ข้าราชการตำรวจท้ าย พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565 สรุปดังนี้

เท่าเทียม ข้าราชการพลเรือน ข้าราชการทหาร

กำหนดให้ ข้าราชการตำรวจ ที่ได้รับการแต่งตั้ง ให้ดำรงตำแหน่ง ประเภทบริหาร ของสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา ระดับปริญญา ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และ ได้ดำรงตำแหน่ง ประเภทวิชาการ อีกประเภทหนึ่ง อยู่ด้วยแล้วนั้น

ให้ได้รับ เงินประจำตำแหน่ง ประเภทบริหาร โดยไม่ตัดสิทธิ การได้รับ เงินประจำตำแหน่ง ประเภทวิชาการ ที่ตนครองอยู่ เพื่อให้สอดคล้อง กับการได้รับ เงินประจำตำแหน่ง ของผู้บริหาร ที่ครองตำแหน่งประเภทวิชาการด้วย ของข้าราชการพลเรือน และข้าราชการทหาร

ตาม พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2547 พระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการการจ่าย เงินประจำตำแหน่ง ของข้าราชการ และ ผู้ดำรงตำแหน่ง ผู้บริหาร ซึ่งไม่เป็นข้าราชการ พ.ศ. 2539 แก้ไขเพิ่มเติม

ข้าราชการตำรวจ เงินประจำตำแหน่ง รัดเกล้า
รัดเกล้า อินทวงศ์ สุวรรณคีรี รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี

โดยพระราชกฤษฎีกา ว่าด้วย หลักเกณฑ์และวิธีการการจ่าย เงินประจำตำแหน่ง ของข้าราชการ และ ผู้ดำรงตำแหน่งผู้บริหารซึ่ง ไม่เป็นข้าราชการ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2550 และพระราชกฤษฎีกา การได้รับ เงินประจำตำแหน่ง ของข้าราชการทหาร พ.ศ. 2553 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

นอกจากนี้ ยังกำหนด ให้ ข้าราชการตำรวจ ซึ่งมียศตั้งแต่ พ.ต.ท. ขึ้นไป และดำรงตำแหน่ง ที่ปฏิบัติหน้าที่ ในวิชาชีพเฉพาะได้รับ เงินประจำตำแหน่ง ประเภทวิชาชีพเฉพาะ (วช.)

โดยเพิ่มสายงาน ที่ปฏิบัติหน้าที่ในวิชาชีพเฉพาะ ที่ไม่อาจมอบหมาย ให้ผู้มีคุณวุฒิอย่างอื่น ปฏิบัติงานแทนได้ และเป็นงาน ที่มีผลกระทบ ต่อชีวิตและทรัพย์สิน ของประชาชนอย่างเห็นได้ชัด

ให้ได้รับ เงินประจำตำแหน่ง ประเภทวิชาชีพเฉพาะ จำนวน 5 สายงาน (ได้แก่ วิชาชีพเฉพาะกายอุปกรณ์ วิชาชีพเฉพาะกิจกรรมบำบัด วิชาชีพเฉพาะเทคโนโลยีหัวใจและทรวงอก วิชาชีพเฉพาะแพทย์แผนไทย และวิชาชีพเฉพาะเวชศาสตร์การสื่อความหมาย)

จากเดิมที่มีอยู่แล้ว 28 สายงาน เพื่อเป็นการรองรับ การปรับปรุงภารกิจ ที่จำเป็นต้องใช้ บุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ ในวิชาชีพเฉพาะดังกล่าว ในอนาคต

กำหนดให้ ข้าราชการตำรวจ ซึ่งดำรงตำแหน่งรองผู้บังคับการ หรือเทียบเท่าขึ้นไป ที่ต้องปฏิบัติงานที่ เป็นงานหลักของหน่วยงาน และต้องใช้ความเชี่ยวชาญ เฉพาะด้าน ได้รับ เงินประจำตำแหน่ง ประเภทเชี่ยวชาญเฉพาะ (ชช.)

โดยเพิ่ม ลักษณะงาน ความเชี่ยวชาญ เฉพาะด้าน จำนวน 2 ด้าน ให้ได้ รับเงินประจำตำแหน่ง ประเภทเชี่ยวชาญเฉพาะ จากเดิมที่เคยมีอยู่ 46 ด้าน

ได้แก่ ด้านการสืบสวนสอบสวน เพื่อให้สอดคล้อง กับสายงานสืบสวนสอบสวน ตาม พ.ร.บ. ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565 และด้านความมั่นคง และกิจการพิเศษ เพื่อให้เหมาะสม สอดคล้อง กับการกำหนดลักษณะงาน บริหารของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ

ข้าราชการตำรวจ รับ เงินประจำตำแหน่ง ไม่กระทบงบประมาณสตช.

ทั้งนี้ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้ดำเนินการตามมาตรา 27 แห่ง พ.ร.บ. วินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 แล้ว โดยรายงานว่า การตราพระราชกฤษฎีกา ฉบับนี้  ไม่ก่อให้เกิดการสูญเสียรายได้ ของรัฐหรือหน่วยงานของรัฐ

ไม่ส่งผลกระทบ ต่องบประมาณหมวดเงินเดือน ของ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และจะลดช่องว่าง ความเหลื่อมล้ำ ของระบบค่าตอบแทน การปฏิบัติงาน ระหว่าง ข้าราชการตำรวจ กับข้าราชการพลเรือน ข้าราชการทหาร

รวมทั้ง เป็นการจัดทำระบบ ค่าตอบแทนของหน่วยงาน ภาครัฐให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน และเหมาะสม สอดคล้อง กับการกำหนดลักษณะ งานบริหาร ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เห็นชอบด้วย ในหลักการ โดยสำนักงาน ก.พ. เห็นควร ให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ วางแผนบริหารจัดการ และกำหนดกรอบอัตรากำลั งให้เหมาะสม กับความจำเป็นตามภารกิจ

รวมทั้ง กำหนดลักษณะงาน และคุณสมบัติ ของผู้ดำรงตำแหน่ง ที่จะมีสิทธิได้รับ เงินประจำตำแหน่ง ให้สอดคล้องกับตำแหน่ง ข้าราชการตำรวจ ที่มีสิทธิได้รับ เงินประจำตำแหน่ง อยู่เดิม

และเป็นมาตรฐานเดียวกัน กับข้าราชการประเภทอื่นด้วย และ สำนักงบประมาณเห็นว่า สำนักงานตำรวจแห่งชาติควรใช้จ่าย งบประมาณ ตามหลักเกณฑ์ และเงื่อนไข การใช้งบประมาณ รายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ไปพลางก่อน หรือเสนอ ขอตั้งงบประมาณรายจ่าย ประจำปี ตามความจำเป็น และเหมาะสม ตามขั้นตอนต่อไป

อ้างอิงจาก รัฐบาลไทย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง : นายกฯ ถก 3 บิ๊กตำรวจกำชับความปลอดภัยบุคคลสำคัญ ดูแลสวัสดิการตร.