นายก ผลักดันความร่วมมือ ด้านการค้าการลงทุน แฟชั่น และซอฟต์พาวเวอร์กับอิตาลี

นายก พบหารือกับนางสาวจอร์จา เมโลนี นายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐอิตาลี ณ ห้องSalotto Presidenziale ชั้น 3 ทำเนียบ นายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐอิตาลี
นายก พบหารือกับนางสาวจอร์จา เมโลนี นายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐอิตาลี ณ ห้องSalotto Presidenziale ชั้น 3 ทำเนียบ นายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐอิตาลี

นายก หารือทวิภาคี นายกฯ อิตาลี เดินหน้าความสัมพันธ์ไทย – อิตาลี ผลักดันความร่วมมือด้าน การค้าการลงทุน แฟชั่น และซอฟต์พาวเวอร์ การยกเว้นวีซ่าเชงเกน การเจรจา FTA ไทย – EU

นายเศรษฐา ทวีสิน นายก เข้าร่วมพิธีต้อนรับอย่างเป็นทางการ และหารือทวิภาคีกับนางจอร์จา เมโลนี นายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐอิตาลี
นายเศรษฐา ทวีสิน นายก เข้าร่วมพิธีต้อนรับอย่างเป็นทางการ และหารือทวิภาคีกับนางจอร์จา เมโลนี นายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐอิตาลี

เมื่อวานนี้นายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐอิตาลี (Palazzo Chigi) นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี เข้าร่วมพิธีต้อนรับอย่างเป็นทางการ และหารือทวิภาคีกับนางจอร์จา เมโลนี (Madame President Ms. Giorgia Meloni) นายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐอิตาลี ในโอกาสการเยือนสาธารณรัฐอิตาลีอย่างเป็นทางการ

นางรัดเกล้า อินทวงศ์ สุวรรณคีรี รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยสาระสำคัญของการหารือว่า นายกรัฐมนตรีและนายกรัฐมนตรีอิตาลีต่างแสดงความยินดีที่ได้พบหารือกันในวันนี้ ซึ่งเป็นโอกาสอันดีในการส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมือระหว่างกันให้ใกล้ชิดยิ่งขึ้น

ในโอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีขอบคุณรัฐบาลอิตาลีที่ให้การต้อนรับและดูแลบุคคลสำคัญของไทยในการเยือนอิตาลี พร้อมแสดงความยินดีกับอิตาลีที่ได้ดำรงตำแหน่งประธานกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำของโลก (G7) ปี 2567 และเชื่อมั่นว่าอิตาลีจะประสบความสำเร็จในการจัดการประชุม G7 Summit ในเดือนมิถุนายนนี้

ทั้งสองฝ่ายได้หารือร่วมกันในประเด็นความร่วมมือที่สำคัญ ดังนี้ “การค้าและการลงทุน” นายกรัฐมนตรียินดีต่อความสำเร็จของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและภาคเอกชนของทั้งสองประเทศ ในการร่วมกันจัดงาน Thailand – Italian Business Forum

โดยไทยต้องการให้อิตาลี ซึ่งเป็นพันธมิตรที่เชื่อถือได้ มาเป็นส่วนหนึ่งในโครงการ Landbridge และร่วมลงทุนในด้านพลังงานสะอาด ยานยนต์ไฟฟ้า (EVs) และอุตสาหกรรมแฟชั่น ทั้งสองฝ่ายเชื่อมั่นว่า การจัดงานดังกล่าวจะมีส่วนสำคัญช่วยเพิ่มการค้าและการลงทุนระหว่างกันมากขึ้น ในแต่ละด้านดังนี้

แฟชั่นและซอฟต์พาวเวอร์  

นายกรัฐมนตรีเชิญชวนให้อิตาลีเข้ามาลงทุนในไทยด้านแฟชั่นและซอฟต์พาวเวอร์ การเกษตร การบิน และการเงิน พร้อมขอให้อิตาลีพิจารณาสนับสนุนสินค้าแฟชั่นของไทย โดยเฉพาะผ้าไหมไทย เพื่อขยายธุรกิจในวงการแฟชั่นเฮาส์และสถาบันการศึกษาของอิตาลี ผ่านการดำเนินความร่วมมือระหว่างกันและความเชี่ยวชาญด้านการออกแบบของอิตาลี “อุตสาหกรรมป้องกันประเทศ”

ทั้งสองฝ่ายยินดีที่ไทยและอิตาลีมีความร่วมมือด้านการป้องกันประเทศมายาวนาน โดยมีการร่วมฝึก Cobra Gold และการจัดทำความตกลงด้านการป้องกันประเทศ

นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรีขอบคุณอิตาลีที่เข้าร่วมนิทรรศ Defense & Security ที่กรุงเทพฯ และหวังว่าไทยกับอิตาลีจะยังคงความร่วมมือระหว่างกันในอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ โดยไทยต้องการสร้างความร่วมมือกับอิตาลีผ่านกลยุทธ์การจัดซื้อและการพัฒนา และต้องการผลักดันไทยให้เป็นฐานการผลิตระดับภูมิภาค หรือศูนย์บำรุงรักษาขั้นสูง

แรงงาน

นายกฯขอบคุณอิตาลีที่เสนอความร่วมมือในการบรรจุไทยในกฤษฎีกา (Flows Decree) ของอิตาลี โดยไทยได้แสดงความตั้งใจเป็นลายลักษณ์อักษรตั้งแต่เดือนมีนาคม 2567 พร้อมขอรับการสนับสนุนจากอิตาลีในประเด็นดังกล่าว

นายกรัฐมนตรีอิตาลี ยังกล่าวถึงความสนใจที่อิตาลีมีต่อแรงงานในอุตสาหกรรมเกษตรของไทย ซึ่งนับว่าเป็นกลุ่มรายงานที่มีคุณภาพโดยขอชวนให้ไทยมองเห็นอิตาลีเป็นอีกทางเลือกในสถานที่ทำงาน “การยกเว้นการตรวจลงตราเข้าเขตเชงเกน”

ประเทศไทยขอรับการสนับสนุนจากอิตาลีในการผลักดันการยกเว้นการตรวจลงตราเข้าเขตเชงเกนสำหรับผู้ถือหนังสือเดินทางธรรมดาของไทย โดยนักท่องเที่ยวไทยเป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวที่มีศักยภาพและมีการใช้จ่ายในอิตาลีสูง มีการยื่นขอวีซ่าเข้าอิตาลีประมาณ 100,000 คนต่อปี

หากสามารถผลักดันการยกเว้นการตรวจลงตราเข้าเขตเชงเกนได้สำเร็จ จะสนับสนุนการเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวที่มีศักยภาพจากไทยมากขึ้น

นอกจากนี้

ขอหนุนไทยเจรจา FTA Thai- EU บรรลุในปี 2568

นายกรัฐมนตรีขอให้อิตาลีสนับสนุนไทยในการบรรลุการเจรจาความตกลงการค้าเสรี (FTA) ไทย – สหภาพยุโรป ให้สามารถสรุปภายในปี 2568 (ค.ศ. 2025) ซึ่งจะเป็นเครื่องมือสำคัญในการเพิ่มพูนการค้าและการบริการระหว่างกัน

นายกฯขอบคุณอิตาลีที่สนับสนุนการสมัครเป็นสมาชิก OECD ของไทย ซึ่งการเข้าเป็นสมาชิก OECD ของไทยจะมีส่วนช่วยกระชับความสัมพันธ์ทวิภาคีระหว่างกันให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น และอำนวยความสะดวกในการเจรจา FTA ไทย – สหภาพยุโรปที่กำลังดำเนินอยู่

นายกฯอิตาลีเสนอให้มี Action Plan ความร่วมมือ

ในโอกาสนี้นายกรัฐมนตรีอิตาลีเสนอให้มี Action Plan เพื่อความร่วมมือในสาขาที่เกี่ยวข้อง อาทิ Defence และ best practices ในสาขาที่มีศักยภาพ เช่น การเกษตร นวัตกรรมการเกษตร การออกแบบ เพิ่มคุณค่าสินค้าให้สินค้าไทยเป็นที่รู้จัก

ในโอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีได้เชิญนายกรัฐมนตรีอิตาลีเดินทางเยือนไทย ซึ่งคาดการณ์กันว่าจะเป็นในช่วงปี 2568 โดยระหว่างการเยือนเสนอให้มี Business Forum เสนอให้ฝ่ายอิตาลีนำนักธุรกิจเยือนไทย

ทำเนียบรัฐบาล

ข่าวที่เกี่ยวข้อง : นายกฯเศรษฐา นำคณะ นักธุรกิจไทย บุก ฝรั่งเศส อิตาลี

อ้างอิง

หลังจากนั้น นายกรัฐมนตรี จะเดินทาง เยือนสาธารณรัฐ อิตาลี อย่างเป็นทางการ พบหารือกับ นางจอร์จา เมโลนี (H.E. Mrs. Giorgia Meloni) นายกรัฐมนตรี สาธารณรัฐ อิตาลี เพื่อส่งเสริม ความสัมพันธ์ ระหว่างไทย กับ อิตาลี

ซึ่งในปี 2567 จะครบรอบ 156 ปี การสถาปนา ความสัมพันธ์ ทางการทูต ระหว่างกัน พร้อมขยาย ความร่วมมือ ในสาขาที่ไทย และ อิตาลี มีศักยภาพ ร่วมกัน

ได้แก่ พลังงานหมุนเวียน การท่องเที่ยวเชิงกีฬา วิทยาศาสตร์การแพทย์และเภสัชกรรม และ กลาโหม โดยนายกรัฐมนตรีจะผลักดัน ประเด็นสำคัญ

เช่น การยกเว้น การตรวจลงตรา สำหรับ ผู้ถือหนังสือเดินทาง ธรรมดา ของไทยในเขตเชงเกน และ การเจรจา ความตกลงการค้าเสรี (FTA) ไทย – สหภาพยุโรป ให้สามารถ สรุปภายในปี 2568 (ค.ศ. 2025)

รวมถึง ประเด็น การรับแรงงานไทย ที่เดินทาง กลับจากอิสราเอล ไปทำงาน ใน อิตาลี ในอนาคต โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีจะพบหารือ กับนาย Attilio Fontana ผู้ว่าการ แคว้นลอมบาร์เดีย ซึ่งเป็นแคว้น ที่สำคัญที่สุด ด้านเศรษฐกิจ ของ อิตาลี

สำหรับการเยือน ในครั้งนี้ จะเป็นโอกาส พบหารือ ภาคเอกชน รายใหญ่ ระดับโลก ของ อิตาลี และ นาย Carlo Capasa ประธาน the National Chamber of Italian Fashion

โดยจะเชิญชวน ภาคเอกชน อิตาลี ให้มาลงทุน ในประเทศไทย มากขึ้น โดยเฉพาะ ในอุตสาหกรรมแฟชั่น และ Soft Power การเกษตรและอาหาร ยานยนต์ พลังงาน การเงินและพันธบัตร Sustainability Linked Bonds รวมถึง โครงการแลนด์บริดจ์