“พลังงาน” แจงแผน PDP ใหม่เม็ดเงินลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ไฟฟ้า รวมกว่า 1 ล้านล้านบาท เน้นเทคโนโลยีช่วยค่า ไฟฟ้า ให้เหมาะสม พร้อมสร้างสมดุลทั้งด้านความมั่นคง ราคา สิ่งแวดล้อม ให้ตอบโจทย์การลดการปล่อยคาร์บอน
นายประเสริฐ สินสุขประเสริฐ ปลัดกระทรวงพลังงาน เปิดเผย ว่า จากสถานการณ์ ที่นักลงทุนกังวลต่อ ร่างแผน พัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศฉบับใหม่ (PDP 2024) ว่าจะ ลดความสำคัญ ของโรงไฟฟ้าหลักฟอสซิล นั้น ในความเป็นจริงแล้ว
ภาพรวม กิจกรรม การลงทุนในแผนPDP กระทรวงพลังงาน เน้นให้เกิดการเลือกใช้เทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้า ที่สามารถรักษา ระดับราคาค่าไฟฟ้า ที่มีความเหมาะสม และ มีเสถียรภาพในระยะยาว เนื่องจาก ค่าไฟฟ้า เป็นปัจจัย ขับเคลื่อน ทางเศรษฐกิจ ที่สำคัญของประเทศ
แม้ว่า ระดับค่าไฟฟ้า ไม่ได้สูงขึ้น แต่ ก็ไม่ได้ส่งผล ให้กิจกรรม การลงทุน ในภาคไฟฟ้าลดลง แต่อย่างใด เพราะ มีการเพิ่มสัดส่วน การก่อสร้างระบบผลิตไฟฟ้า จากพลังงานหมุนเวียน มีมูลค่าสูงกว่ากิจกรรม การลงทุนก่อสร้างโรงไฟฟ้าฟอสซิล ซึ่ง มีข้อสนับสนุน จากข้อมูลการวิเคราะห์ การลงทุน จากหน่วยงานด้านพลังงาน ในต่างประเทศ ที่ชี้ให้เห็นว่าการลงทุนจากพลังงานหมุนเวียน จะทำให้เกิดเม็ดเงินลงทุนสูงกว่า เชื้อเพลิงฟอสซิล ทั้งนี้
พลังงานหมุนเวียน,มูลค่าลงทุน 525,000 ล้านบาท
เมื่อพิจารณา ตามแผนPDP ฉบับใหม่ ยังคง มีกิจกรรมการลงทุน ในภาคไฟฟ้าตามแผนPDP อย่างต่อเนื่อง จากการลงทุน ของโรงไฟฟ้าที่มีข้อผูกพันไว้แล้ว และ ที่จะเปิดรับเพิ่มเติมตามแผนในช่วงก่อนปีพ.ศ. 2573 มากกว่า 650,000 ล้านบาท ประกอบด้วย พลังงานหมุนเวียน ประมาณ 13,300 MW คิดเป็นมูลค่า ลงทุนประมาณ 525,000 ล้านบาท และ การลงทุนโรงไฟฟ้าฟอสซิลประมาณ 5,300 MW คิดเป็นมูลค่า การลงทุนประมาณ 125,000 ล้านบาท
การเข้ามาของ พลังงานหมุนเวียน(RE) ที่มากขึ้นจะ นำไปสู่ โครงสร้างระบบไฟฟ้า แบบกระจายศูนย์ และ ธุรกิจไฟฟ้ารูปแบบใหม่ ที่จะต้องควบคู่ ไปกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ให้สามารถรองรับได้
ซึ่ง ก็จะมีอีกแผน คือแผนสมาร์ท กริดที่จะมารองรับการเปลี่ยนผ่านนี้ โดยมีแผนงานที่คิดเป็นเงินลงทุนทั้งแผนอีกประมาณ กว่า 400,000 ล้านบาท ซึ่งแผนดังกล่าวยังได้ตอบโจทย์เรื่องความมั่นคงทางด้านพลังงานของประเทศ การลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ และลดก๊าซเรือนกระจกซึ่งเป็นไปตามทิศทางของโลกที่สนับสนุนการใช้พลังงานสะอาด
พลังงานหมุนเวียนมากขึ้นช่วยไทยบรรลุเป้าหมาย Net Zero
ประเทศไทยได้ประกาศเป้าหมายการลดคาร์บอนในระหว่างการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (COP26) โดยมีเป้าหมายในการเป็นกลางทาง คาร์บอน (Carbon Neutrality) ในปีพ.ศ. 2593 และปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปีพ.ศ. 2608 อย่างไรก็ตาม แผนพีดีพี 2024 ที่จะประกาศใช้จะกำหนดให้มีการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนเพิ่มขึ้นและเร็วขึ้น เพื่อให้ประเทศไทยสามารถบรรลุเป้าหมายดังกล่าวได้ โดยนอกจากสามารถลดการปล่อยคาร์บอนได้ การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์เพิ่มขึ้นยังช่วยให้ค่าไฟฟ้าของไทยมีราคาคงที่ไม่ผันผวนตามราคาเชื้อเพลิงตลาดโลก
ไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติยังเป็นเชื้อเพลิงหลัก
นอกจากการพิจารณาปัจจัยเรื่องของการใช้พลังงานหมุนเวียนในการผลิตไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น แผนPDP 2024 จะต้องพิจารณาถึงปัจจัยสำคัญอื่นๆ ได้แก่ โอกาสการเกิดไฟฟ้าดับ โดยพิจารณาจากเกณฑ์ “LOLE” หรือดัชนีโอกาสเกิดไฟฟ้าดับ โดยมีมาตรฐานว่าไฟฟ้าจะดับได้ไม่เกิน 0.7 วันต่อปี หมายความว่าแม้จะส่งเสริมให้มีการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนมากขึ้น แต่กระทรวงพลังงานก็ยังคงให้ความสำคัญกับเรื่องของเสถียรภาพของระบบไฟฟ้าด้วย โดยการผลิตไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติยังถือว่าเป็นเชื้อเพลิงหลักในการผลิตไฟฟ้าของประเทศ
สำหรับบทบาทของผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายเล็ก (SPP) ยังคงมีบทบาทสำคัญในภาคการผลิตไฟฟ้าในฐานะระบบผลิตไฟฟ้าแบบกระจายศูนย์ (Distributed Generation :DG) ที่จะช่วยเสริมความมั่นคง ลดภาระการลงทุนในระบบไฟฟ้า และทำให้การใช้พลังงานในระบบไฟฟ้ามีประสิทธิภาพ
โดยในอนาคตภาครัฐก็ยังคงมีแนวทางในการส่งเสริมให้มีการผลิตไฟฟ้าในรูปแบบกระจายศูนย์ต่อไป แต่อาจจะต้องปรับแนวทางการผลิตไฟฟ้าให้สอดคล้องกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรมของลูกค้า SPP เอง ที่มีแรงกดดันที่จะต้องลดการปล่อย CO2 ตามทิศทางโลกด้วยเช่นกัน โดยภาครัฐต้องส่งเสริม DG ที่เป็นพลังงานสะอาดผ่านนโยบายและกลไกหลากหลายรูปแบบ เช่น การส่งเสริมเทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้าไมโครกริดจากพลังงานหมุนเวียน กลไกการรับซื้อพลังงานสีเขียว การรับซื้อไฟฟ้าแบบ Direct PPA การส่งเสริมเทคโนโลยีทางเลือกใหม่ๆ เป็นต้น
ข่าวที่เกี่ยวข้อง : รัฐฯ เชิญชวนประชาชนร่วมเดินหน้าแผน พลังงาน ชาติ