นายกฯ ยกระดับคุณภาพชีวิต “แรงงาน” เพิ่มความคุ้มครองลูกจ้าง 11 เรื่อง

Foreign workers seen at a construction site on February 10, 2016 in Kuala Lumpur. Photo by Hafzi Mohamed / TMR.

นายกฯ เร่งยกระดับคุณภาพชีวิต “แรงงาน” ผลักดันกฎหมายเพิ่มความคุ้มครองให้กับลูกจ้าง 11 เรื่อง หวังส่งเสริมแรงงานให้ได้รับสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ที่ครอบคลุมตามกฎหมาย

  • ส่งเสริมให้ได้รับสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ
  • ที่ครอบคลุมตามกฎหมาย

วันที่ 5 พ.ค.2567 นายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ได้ให้ความสำคัญกับแรงงานนอกระบบ ซึ่งเป็นอีกกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ

โดยมุ่งผลักดันมาตรการ ส่งเสริมแรงงานให้ได้รับสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ตามกฎหมาย ยกระดับคุณภาพชีวิตแรงงาน ให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมไทยในปัจจุบัน

โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า รัฐบาลโดยกระทรวงแรงงาน ได้ผลักดันการออกกฎกระทรวง ฉบับที่ 15 (พ.ศ.2567) ตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 โดยได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา วันที่ 30 เมษายน 2567 มีจุดประสงค์เพื่อเพิ่มการคุ้มครองให้กับลูกจ้าง ซึ่งทำงานบ้าน 11 เรื่อง ได้แก่

1.มีเวลาทำงานไม่เกิน 8 ชั่วโมงต่อวัน

    2.มีเวลาพักไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมง

    3.มีสิทธิลากิจธุระอันจำเป็น

    4.ห้ามลูกจ้างหญิงมีครรภ์ทำงานเวลา 22.00 – 06.00 น. ทำล่วงเวลา หรือวันหยุด

    5.ลูกจ้างหญิงลาคลอดได้ 98 วัน

    6.ห้ามเลิกจ้างเพราะเหตุมีครรภ์

    7.ให้นายจ้างแจ้งการใช้แรงงานเด็ก

    8.ลูกจ้างเด็กมีสิทธิฝึกอบรมโดยได้รับค่าจ้าง 30 วัน

    9.ลูกจ้างหญิงได้รับค่าจ้างลาคลอด 45 วัน

    10.ห้ามนายจ้างหักค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด

    11.ลูกจ้างได้รับค่าจ้างไม่น้อยกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ

      “รัฐบาลมุ่งมั่นยกระดับคุณภาพชีวิต ของแรงงานในทุกภาคส่วน ให้แรงงานทุกกลุ่ม ได้รับการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ ครอบคลุม และสอดคล้องตามสภาพสังคม และเศรษฐกิจ รวมทั้ง สนับสนุนให้ กฎ ระเบียบ ช่วยดูแลคุ้มครองแรงงาน อย่างทั่วถึง และเท่าเทียม ด้วยตระหนักดีว่า แรงงานทุกคนคือกลไกสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจประเทศ” นายชัย กล่าว

      • ตุลาฯ นี้คิกออฟขึ้นค่าจ้าง 400 บาททั่วไทย

      นอกจากนี้รัฐบาลจะยังมีการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำอีก เพื่อยกระดับชีวติแรงงาน โดยเรื่องนี้ยืนยันจาก นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รมว.แรงงาน ที่ระบุว่า กล่าวว่า ตนมั่นใจว่าสิ่งที่ประกาศจะขึ้นค่าแรง 400 บาท ทั่วประเทศในวันที่ 1 ต.ค.นี้ จะต้องทำให้ได้

      เพราะจากการหารือกับนายไพโรจน์ โชติกเสถียร ปลัดกระทรวงแรงงาน และคณะอนุกรรมการพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ำบางท่าน มีความเห็นตรงกันว่าถึงเวลาที่เราจะต้องปรับค่าแรงของประเทศไทยอีกสักครั้ง และมีความเห็นว่า จะต้องควบคุมราคาสินค้าอุปโภค บริโภค ที่มีการขึ้นล่วงหน้าไปบ้างแล้ว

      โดยจะไปหารือกับนายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ว่าในการประกาศขึ้นค่าแรง ขอให้กระทรวงพาณิชย์ช่วยควบคุมราคา ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ไม่เช่นนั้นการขึ้นค่าแรงที่ 400 จะไม่ได้ประโยชน์ เพราะสินค้าอุปโภค บริโภค ลอยตัวขึ้น ซึ่งตรงนี้เป็นสิ่งที่น่ากังวลมากกว่า

      นายพิพัฒน์ ยังกล่าวถึงความห่วงใย หากมีการขึ้นค่าแรงแผู้ประกอบการจะย้ายฐานการผลิต ว่า ตั้งแต่ได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรี ในครั้งแรก ได้มีการหารือผู้ประกอบการในหลายภาคส่วน ซึ่งผู้ประกอบการอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ จะมีค่าแรงขั้นต่ำที่เกินกว่า 400 บาทไปแล้ว แต่จะมีความกังวลในส่วนของ SME ที่อาจจะมีผลกระทบพอสมควร โดยวันที่ 13 พ.ค.นี้ จะมีการหารือกับสภาหอการค้า สภาอุตสาหกรรม และผู้ประกอบการอีกหลายสาขาอาชีพ นายกสมาคม SME ว่าอยากให้ทางรัฐบาลช่วยอะไร

      “เราจะค่อยๆ ประชุม และค่อยๆ คุยไปทีละสาขาอาชีพ เพราะตอนนี้เราทำรีเสิร์ช ทีเดียวทั้งระบบไม่ทัน อะไรที่กระทรวงแรงงานทำได้ ก็จะทำให้เลย แต่หากทำไม่ได้ ก็จะไปขอความร่วมมือกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง” รมว.แรงงาน กล่าว

      ขณะที่ นายวีรสุข แก้วบุญปัน ผู้แทนฝ่ายลูกจ้างในคณะกรรมการค่าจ้าง ชุดที่ 22 เปิดเผยว่า เรื่องการปรับค่าจ้าง 400 บาททั่วประเทศ ในวันที่ 1 ตุลาคม 2567 ถือเป็นการเร่งรัดให้เกิดขึ้นเร็วกว่าปกติ เพราะโดยปกติจะมีการปรับในปีถัดไป แต่ปีนี้ คณะกรรมการค่าจ้างขอให้อนุกรรมการจังหวัดสรรหาข้อมูลแล้วรวบรวมตัวเลขมาส่งให้เร็วขึ้น กำหนดคือก่อนเดือนตุลาคมนี้ จะได้พิจารณาค่าจ้าง เพื่อประกาศใช้ให้ทัน

      ผมคงไม่สามารถตอบได้ว่าการปรับค่าจ้างครั้งนี้เป็นผลดี ผลเสียต่อใคร แต่อาจมีเรื่องความท้าทายเกิดขึ้น เช่น สินค้าขึ้นราคา เพราะเรื่องนี้เป็นลูกโซ่ และเป็นเงาตามตัวกับค่าจ้างอยู่แล้ว ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เปรียบเหมือนกับการดึงเชือก เพราะสิ่งที่ผูกอยู่ปลายเชือกจะตามมาด้วย ที่สำคัญ การปรับค่าจ้างขั้นต่ำครั้งนี้ แรงงาน

      ไทยมีจำนวนไม่เยอะ และส่วนใหญ่เกินค่าจ้างขั้นต่ำอยู่แล้ว แต่ไม่ได้หมายความว่า พอค่าจ้างขั้นต่ำขึ้นไปถึง 400 บาท จะไม่เกิดผลดีกับลูกจ้าง เพราะคนที่เป็นลูกจ้างในโรงงาน บริษัทเขา ก็ต้องขยับค่าจ้างของพนักงานเหล่านั้น ให้หนีจากค่าจ้างขั้นต่ำไป ตามอัตราส่วน และความเหมาะสม อย่างไรก็ตาม ผมมีความเห็นว่า ควรปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ แต่จะปรับขึ้นตัวเลขมากน้อยอย่างไร ต้องดูเหตุการณ์วันนั้น ถึงจะสรุปได้อีกทีหนึ่ง”

      ด้านเอกชนอย่างนางฐนิวรรณ กุลมงคล นายกสมาคมภัตตาคารไทย (TRA) กล่าวว่า สถานการณ์แบบนี้ หากมีการปรับค่าจ้าง 400 บาททั่วประเทศ อาจเกิดการย้ายโรงงาน ย้ายฐานการผลิตไปอยู่ประเทศอื่น โดยเฉพาะประเทศเวียดนาม เนื่องจากเวียดนามค่าจ้างต่ำกว่าไทย

      ดังนั้นหากมีการปรับขึ้นจริง จะเริ่มเห็นภาพแบบนี้เยอะ เพราะตอนนี้ผู้ใช้แรงงานในประเทศส่วนใหญ่มาจากเมียนมา เท่ากับว่าตอนนี้ เรากําลังเอาค่าจ้างขั้นต่ำ ไปคุ้มครองแรงงานต่างด้าว เพราะคนเมียนมาจบปริญญาโท เงินเดือนยังแค่ 12,000 บาทเอง

      ข่าวที่เกี่ยวข้อง: กระทรวงแรงงาน เตรียมจัดงานวันที่ 1 พ.ค.นี้ เปิดพื้นที่รับฟังข้อเรียกร้อง

      https://tna.mcot.net/politics-1360136