สิงคโปร์ แอร์ไลน์ เปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์รัดเข็มขัดนิรภัยใหม่

สิงคโปร์​ แอร์ไลน์ เข้มงวดการรัดเข็มขัดนิรภัย
สิงคโปร์​ แอร์ไลน์ ออกข้อบังคับใหม่

หลังจากเหตุการณ์เครื่องบิน ตกหลุมอากาศจนเกิดเหตุ ผู้เสียชีวิต และ ผู้บาดเจ็บจำนวนมาก สิงคโปร์ แอร์ไลน์ ได้ออกแถลงการณ์ เปลี่ยนแปลงกฏเกณฑ์การรัดเข็มขัดนิรภัยใหม่

สำนักข่าวบลูมเบิร์ก รายงานว่า สิงคโปร์ แอร์ไลน์ ประกาศใช้ข้อบังคับภายในห้องโดยสารบนเครื่องบินที่เข้มงวดมากขึ้น เมื่อ เครื่องบินประสบกับตกหลุมอากาศ หลังจาก ผู้โดยสารรายหนึ่งประสบเหตุเสียเสียชีวิตรายหนึ่ง และ ผู้มีได้รับบาดเจ็บจำนวนมาก บนไฟล์ท SQ 321 จาก กรุงลอนดอน – สิงคโปร์ โดยเปลี่ยนเส้นทางลงจอดฉุกเฉินที่ สนามบินสุวรรณภูมิ

สายการบินดังกล่าว ระบุ เมื่อวันศุกร์นี้ ว่า จะใช้ แนวทางระมัดระวังมากขี้น” ในการรับมือกับสภาพอากาศแปรปรวน โดยการบริการอาหารบนเที่ยวบิน จะถูกระงับทันที เมื่อมีการเปิดสัญญาณให้ผู้โดยสารทำการรัดเข็มขัด นอกเหนือ จากการระงับเครื่องดื่มร้อน ด้วย

แถลงการณ์ระบุด้วยว่า สมาชิกลูกเรือจะกลับไปยังที่นั่งของตน และ รัดเข็มขัดทันที โดยทางสายการบินดังกล่าว “จะทบทวนกระบวนการของเราต่อไป” เพื่อใ ห้ความสำคัญกับความปลอดภัยของลูกเรือและผู้โดยสาร

อย่างไรก็ตาม ในนโยบายดังกล่าว ไม่ได้ให้ผู้โดยสาร ต้องทำการรัดเข็มขัดตลอดการเดินทาง โดยไม่คำนึงถึงสภาพการบินในขณะนั้น โดยทั่วไปแล้ว สายการบิน จะทำการแนะนำให้นักเดินทางทำเช่นนี้ และ แนะนำให้พวกเขานั่งลง และ รัดเข็มขัดในช่วงที่สภาพอากาศไม่แน่นอนเท่านั้น

รอน บาร์ตช์ อดีตหัวหน้าฝ่ายความปลอดภัยของบริษัท แควนตัส แอร์เวย์ส จำกัด ซึ่งเคยบริหารการปฏิบัติงานของสายการบิน ให้กับหน่วยงานกำกับดูแลการบินพลเรือน ของออสเตรเลีย กล่าวว่า แม้จะมีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บ แต่สายการบินต่าง ๆ ก็ไม่น่าจะบังคับเข็มขัดนิรภัยตลอดเวลา ในทุกเที่ยวบิน การเสียชีวิต และ การบาดเจ็บสาหัสจากเหตุการณ์ปั่นป่วนรุนแรงเกิดขึ้นได้น้อยมาก จึงไม่คุ้มที่จะบังคับใช้มาตรการจำกัดถาวร ที่อาจทำให้ผู้โดยสารบางคนต้องหยุดชะงัก

“ผนจำไม่ได้ว่า การเสียชีวิตครั้งสุดท้าย ที่เกี่ยวข้องกับความวุ่นวายนั้นเป็นอย่างไร ไม่ใช่ว่ามันเป็นเรื่องปกติ”

ในแถลงการณ์ ของสายการบิน กล่าวว่า นักบิน และ ลูกเรือตระหนักถึงอันตราย ที่เกี่ยวข้อง กับสภาพอากาศแปรปรวน ลูกเรือได้รับการฝึกอบรม เพื่อรักษาความปลอดภัยสิ่งของ และ อุปกรณ์ทั้งหมด เพื่อลดความเสี่ยง ของการบาดเจ็บ ในสถานการณ์เหล่านี้

สภาพอากาศแปรปรวนอาจเกิดขึ้น เมื่อเครื่องบิน ชนกับกระแสลมแรงที่ดัน หรือ ดึงโครงเครื่องบิน ปรากฏการณ์นี้อาจเกิดจากกลุ่มอากาศร้อน หรือ ระบบสภาพอากาศที่รุนแรง ที่ระดับความสูงที่สูงขึ้น เครื่องบินอาจพบกับความปั่นป่วนในอากาศที่ชัดเจน ซึ่งระบุได้ยากซึ่งเกิดจากมวลอากาศที่มีความเร็วต่างกัน

สรุปเหตุการณ์สำคัญ ในแต่ละช่วงเวลา จากเหตุ เครื่องบินของสายการบิน สิงคโปร์แอร์ไลน์ ตกหลุมอากาศ และขอ ลงจอดฉุกเฉิน ที่ สนามบินสุวรรณภูมิ

เวลา 15.51 น. วันที่ 21 พ.ค.2567 สิงคโปร์แอร์ไลน์ แจ้งขอ ลงจอดฉุกเฉิน หลัง ตกหลุมอากาศ รุนแรง

สายการบิน สิงคโปร์แอร์ไลน์ เที่ยวบิน SQ321 มีผู้โดยสาร จำนวน 211 คน และ นักบินและลูกเรือ จำนวน 18 คน เส้นทางการบิน จากท่าอากาศยาน ฮีทโธรว์ ประเทศอังกฤษ ปลายทาง ท่าอากาศยานชางงี ประเทศสิงคโปร์

แจ้งรหัส 7700 ขอลงจอดฉุกเฉิน ที่ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ในเวลา 15.51 น.เนื่องจาก มีผู้โดยสาร ได้รับบาดเจ็บ จากเหตุ เครื่องบินของ สิงคโปร์แอร์ไลน์ ตกหลุมอากาศ

โดยมีรายงานว่า ขณะที่เครื่องบินตกหลุมอากาศ อยู่ระหว่างที่ ผู้โดยสารกำลังรับประทานอาหารเช้า ทำให้บางคนไม่ได้คาดเข็มขัดนิรภัย ซึ่งการคาดเข็มขัดนิรภัย ให้แน่นในระดับพอดี จะช่วยลดความรุนแรงของการบาดเจ็บได้

ผู้โดยสารบางรายที่ไม่ได้คาดเข็มขัดนิรภัย ได้ลอยตัวขึ้นชนเพดาน ทำให้รับบาดเจ็บมากกว่าคนที่คาดเข็มขัดนิรภัย ส่วนผู้เสียชีวิต เป็นชาวอังกฤษ ที่มีโรคประจำตัวคือ โรคหัวใจ

ทันทีที่เครื่องบิน เข้าจอด ที่หลุมจอด ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ได้ส่งทีมแพทย์ และ ทีมฝ่ายดับเพลิง และ กู้ภัย เข้าพื้นที่เพื่อช่วยเหลือ ผู้ได้รับบาดเจ็บ บนอากาศยาน โดยทันที

พร้อมทั้งประสาน หน่วยฉุกเฉินทางการแพทย์ และโรงพยาบาล ให้พร้อมรองรับ การส่งต่อผู้บาดเจ็บ ไปทำการรักษาต่อ

https://www.bloomberg.com/news/articles/2024-05-24/singapore-airlines-changes-seatbelt-sign-rules-after-fatal-turbulence?embedded-checkout=true

https://thejournalistclub.com/singapore-airline-accident/261127