มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ยกระดับเมือง “ปทุมธานี​” พัฒนาเป็นเมืองน่าอยู่

มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ยกระดับเมือง "ปทุมธานี​" พัฒนาเป็นเมืองน่าอยู่

มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ทำงานร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ในจังหวัด “ปทุมธานี” เพื่อพัฒนาเป็นมืองน่าอยู่ ศูนย์กลางธุรกิจบริการและฐานการผลิตสินค้าและบริการที่มีมูลค่าสูง

  • ศูนย์กลางธุรกิจบริการ
  • ฐานการผลิตสินค้า
  • และบริการที่มีมูลค่าสูง

วันที่ 2 มิ.ย.2567 นายภูรัตน์ โอสถานุเคราะห์ อธิการบดี มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เปิดเผยว่า ได้ร่วมหารือกับนายภาสกร บุญญลักษม์ ผู้ว่าราชการจังหวัด ปทุมธานี และหน่วยงานต่างๆ ในพื้นที่จังหวัดปทุมธานี เพื่อพัฒนาจังหวัดปทุมธานีเพื่อนำไปสู่เป้าหมาย “ปทุมธานี” เมืองน่าอยู่ ศูนย์กลางธุรกิจบริการและฐานการผลิตสินค้าและบริการที่มีมูลค่าสูง

โดย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ มีศักยภาพและความพร้อมด้านบุคลากรในการดำเนินกระบวนการระดมความคิดเห็นและความเหมาะสมด้านสิ่งอำนวยความสะดวกให้จังหวัด ปทุมธานี ในการใช้เป็นพื้นที่จัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดปทุมธานี

ภายใต้การพัฒนา 4 ด้านประกอบด้วย 1. พัฒนาสภาพแวดล้อมเมืองให้น่าอยู่ เอื้อต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจและสังคม  2. ยกระดับการผลิต ภาคการเกษตร อุตสาหกรรม และบริการให้มีมูลค่าสูงได้มาตรฐานสู่ตลาดโลก 3. พัฒนาและยกระดับการท่องเที่ยวเชื่อมโยงธุรกิจและมาตรฐานบริการ  และ 4. พัฒนาและเสริม

ซึ่งแนวทางนี้สอดคล้องกับ รัฐบาลในการผลักดันท่องเที่ยวเมืองรอง โดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ระบุว่า การส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองน่าเที่ยว หรือ เมืองรอง เป็นนโยบายที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ IGNITE Thailand ที่รัฐบาลต้องการยกระดับการท่องเที่ยวเมืองรอง ชูเสน่ห์ในแต่ละพื้นที่ นำไปสู่การกระจายรายได้ ทำให้ประชาชนมีวิถีชีวิตที่ดีขึ้น

ล่าสุด การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ผนึกกำลัง 12 หน่วยงานภาครัฐ บูรณาการจัดทำแผนกระตุ้น “ท่องเที่ยวเมืองรอง” ปี 67 ตั้งเป้าสร้างรายได้ 3.6 แสนล้านบาท จากรายได้ตลาดในประเทศทั้งหมดกว่า 1.2 ล้านล้านบาท

เดินหน้าพัฒนาเมืองหลักและเมืองรองภายใต้ IGNITE TOURISM THAILAND ทั้งยกระดับมาตรฐานที่พัก ร้านอาหาร และสิ่งอำนวยความสะดวก /ปรับปรุงภูมิทัศน์ เพื่อรองรับนักท่องเที่ยว /พัฒนาสินค้าและบริการ กิจกรรมเส้นทางท่องเที่ยว ผ่านการสร้างเรื่องราวเชื่อมโยงเส้นทางท่องเที่ยวของแต่ละจังหวัด รวมถึงเพิ่มระบบขนส่งสาธารณะให้เชื่อมโยงต่อไปยังแหล่งท่องเที่ยวได้อย่างสะดวก

คาดว่าจะสรุปเป็นข้อมูลนำเสนอต่อคณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ (ททช.) และนำผลจากการระดมความคิดเห็นไปจัดทำแผนคำของบประมาณปี 2568 ต่อไป

ส่วน 4 นโยบายหลักในปีนี้เพื่อเดินหน้าให้ตามเป้าหมาย ประกอบด้วย

นโยบายที่ 1 ส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองไทยได้ทั้ง 365 วัน ตามที่นายกรัฐมนตรี กับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ย้ำเน้นถึงเมืองไทยจะต้องยกระดับเป็นไฮซีซั่นสามารถเดินทางท่องเที่ยวได้ทุกวันโดยไม่มีโลว์ซีซั่น

นโยบายที่ 2 ส่งเสริมการท่องเที่ยว 55 เมืองรอง ททท.เดินหน้าทำภารกิจทันที เพื่อกระตุ้น “ตลาดในประเทศ ประกอบด้วย 4 แนวทางหลัก ได้แก่

แนวทางที่ 1 ททท.เน้นใช้กลยุทธ์ Partnership 360 องศา ส่งเสริมการท่องเที่ยว 55 เมืองรอง มุ่งทำงานร่วมกับพันธมิตรทุกกลุ่มทำงานด้วยความกระตือรือร้นกับทั้งภาคเอกชน หน่วยงานรัฐบาล รวมทั้งผู้เกี่ยวข้องทางตรงและทางอ้อมกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวทั่วประเทศ

2. ส่งเสริมการลงทุนสร้างจุดขายใหม่ ๆ ทางวัฒนธรรม โดยเน้นเอกลักษณ์ท้องถิ่น เป็นทุนสำคัญทางวัฒนธรรม ขณะนี้ ททท.ทั้ง 5 ภูมิภาค คือ ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคตะวันออก และภาคใต้ ได้จัดทำโครงการกิจกรรมต่าง ๆ สร้างการรับรู้ประชาสัมพันธ์เชิงรุกต่อเนื่องทุกเดือน

3. ยกระดับคมนาคมสร้างการเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยวทั่วไทย ปี 2567 ททท. ทำงานเชิงรุกแบบเข้มข้นกว่าทุกปี โดยร่วมกับ กรมทางหลวงชนบท กระทรวงคมนาคม เสริมเส้นทางท่องเที่ยวใหม่เข้าสู่เมืองรองทั้ง 55 จังหวัด เพื่อให้สามารถเดินทางท่องเที่ยวได้ตลอด 365 วัน

4. ออกแบบกิจกรรมการท่องเที่ยว ควบคู่กับการพัฒนาสินค้าชุมชน ทาง ททท.ผนึกกับ 3 กระทรวงหลัก คือ กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งพร้อมจะเข้ามาช่วย ททท.บูรณาการผลิตสินค้าและกิจกรรมท่องเที่ยวอย่างเต็มที่ ซึ่งจะทำให้เกิดประโยชน์แบบ วิน วิน กับเศรษฐกิจฐานรากภาพรวมตามชุมชนทั่วประเทศ

นโยบายที่ 3 ททท.ขับเคลื่อนการสื่อสารเชื่อมต่อกับนักท่องเที่ยว ทั้งในประเทศและทั่วโลก โดยได้เชิญชวนผู้นำแต่ละด้านทั้ง Influencer หรือผู้มีอิทธิพลสร้างกระแสการท่องเที่ยว Celebrity หรือผู้มีชื่อเสียง รวมถึงขอให้เชิญผู้แทนองค์กรชั้นนำ สมาคมต่าง ๆ มาสร้างความเชื่อมั่นในประเทศไทย

อีกทั้ง ททท.ยังได้ออกแบบเส้นทางใหม่ เช่น เส้นทางแห่งความฝัน หรือ Dream Route ในเชิงโฆษณาประชาสัมพันธ์ แล้วสื่อสารผ่านเครือข่ายต่าง ๆ ในตลาดทั้งในและต่างประเทศ โดยร่วมกับสื่อมวลชนเผยแพร่ข้อมูลตรงไปถึงกลุ่มเป้าหมายอย่างมีคุณภาพและประสิทธิภาพ

นโยบายที่ 4 กระตุ้นนักท่องเที่ยวไทยและต่างชาติใช้จ่ายเงินตลอดปี 2567 หลังจากนายกรัฐมนตรีมอบหมายให้ ททท. ทำงานเชิงรุก 2 เรื่อง คือ 1. ทำงานร่วมกับเอกชนแกนใหญ่ของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวอย่าง สมาคมโรงแรมไทย ทำโปรโมชั่นห้องพัก ขยายวันพักของนักท่องเที่ยว

2. พัฒนาสินค้าบริการการท่องเที่ยว โดยร่วมกับไทยแลนด์ ซอฟท์ พาวเวอร์ 11 อุตสาหกรรม ทั้งจะคณะแฟชั่น ศิลปะ อาหาร วัฒนธรรม และเฟสติวัลต่าง ๆ และร่วมกับกระทรวงมหาดไทยเดินหน้ายกระดับสินค้าชุมชนแบบครบวงจร ทั้งแหล่งท่องเที่ยว ผลิตภัณฑ์พื้นเมืองของแต่ละจังหวัดที่มีอยู่อย่างหลากหลาย สร้างแรงจูงใจให้นักท่องเที่ยวคนไทยและต่างชาติตัดสินใจใช้เงินซื้อในแต่ละทริปได้ตลอด 365 วัน

ทั้งนี้ ผู้ว่าฯ ฐาปนีย์ ยืนยันว่า ตลอดปี 2567 จะนำอุตสาหกรรมท่องเที่ยวของประเทศ ก้าวสู่ความสำเร็จสร้างรายได้ให้เป็นไปตามเป้าหมายเกินกว่า 3 ล้านล้านบาท ทำให้เกิดการกระจายเม็ดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจไทยอย่างมั่งคั่ง มั่นคง ด้วยจุดขาย 365 มหัศจรรย์เมืองไทย เที่ยวได้ทุกวัน มีรายได้เกิดขึ้นทุกเวลา

ข่าวที่เกี่ยวข้อง: ก. ท่องเที่ยว ปลื้มนำไทยดึงผู้ผลิตหนังโลก เฮลงทุน 3.69 พันล้าน
: ททท.ปี67รุกเร็ว4นโยบายชูเที่ยวเมืองไทย365วันดันเศรษฐกิจโต