บพท.-อว.-ยูเนส โก ปั้นเครือข่ายเมืองแห่งการเรียนรู้อาเซียน+3

เมืองแห่งการเรียนรู้ระดับภูมิภาคอาเซียนบวก
ไทยรวมพลังกับยูเนสโกจัดประชุมสัมมนา “เมืองแห่งการเรียนรู้ระดับภูมิภาคอาเซียนบวก” ที่กรุงเทพฯ ครั้งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้


บพท.กระทรวง อว.ผนึกยูเนสโก ผนึกจัด “ประชุมสัมมนาเมืองแห่งการเรียนรู้ระดับภูมิภาคอาเซียนบวก” ที่กรุงเทพฯ ครั้งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นำไทยกับสมาชิกต่อยอด “เครือข่ายเมืองแห่งการเรียนรู้” สู่เป้าหมายปี’73 SDG 4/การศึกษาที่มีคุณภาพ และ SDG 11/เมืองและชุมชนที่ยั่งยืน

.ดร.ศุภชัย ปทุมนากุล ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เปิดเผยว่า เป็นประธานเปิดงาน “ประชุมสัมมนาเมืองแห่งการเรียนรู้ระดับภูมิภาคอาเซียนบวกสาม” จัดขึ้นครั้งแรกที่กรุงเทพฯ ระหว่าง 29 – 30 ตุลาคม 2567 โดยมีผู้นำด้านการเรียนรู้ตลอดชีวิตจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กว่า 200 คน ร่วมหารือวิธีรับมือกับความเปลี่ยนแปลงของโลกเพื่อสร้างชีวิตเมืองให้ดีขึ้น ในภูมิภาคนี้มีประชากรรวมกันกว่า 700 ล้านคน กว่าครึ่งอาศัยอยู่ในเมือง “เมื่อพื้นที่ในเมืองโตขึ้น ความท้าทายและโอกาสต่าง ๆ ก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน” จึงมีความท้าทายเป็นปัญหาเร่งด่วนต้องเตรียมรับมือไฮไลต์ 4 เรื่อง 1.การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 2.ความหนาแน่นของประชากรเมืองที่ส่งผลไปยังสภาพเศรษฐกิจและสังคม 3.การสูญเสียอัตลักษณ์วัฒนธรรมท้องถิ่น 4.ความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วของปัญญาประดิษฐ์ 

@ยูเนสโกบพท.-อว.ถกครั้งแรกเมืองแห่งการเรียนรู้อาเซียน

กระทรวง อว.
บพท. กระทรวงอุดมศึกษาฯ ตั้งเป้าใช้ประโยชน์จากงานสัมมนาขับเคลื่อนนโยบายปี 2573 SDG 4 : การศึกษาที่มีคุณภาพ และ SDG 11 : เมืองและชุมชนที่ยั่งยืน

ทางสำนักงานภูมิภาคยูเนสโกในกรุงเทพฯ ร่วมกับหน่วยบริหารและจัดการทุน ด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) จึงร่วมกันจัด ประชุมสัมมนาเมืองแห่งการเรียนรู้ระดับภูมิภาคอาเซียนบวกสาม ขึ้นในกรุงเทพฯ เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างภาคีเครือข่ายในภูมิภาค ทำให้ได้ข้อมูลเชิงลึก เร่งให้เกิดความก้าวหน้าส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตทำให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของวาระการศึกษาปี 2573 โดยเฉพาะ SDG 4 : การศึกษาที่มีคุณภาพ และ SDG 11 : เมืองและชุมชนที่ยั่งยืน

ส่วนนโยบายรัฐบาลโดยกระทรวง อว.จึงให้ความสำคัญกับการศึกษายุคปัจจุบันจะต้องทำให้ทุกพื้นที่ของเมืองคือแหล่งเรียนรู้เป็น “เมืองแห่งการเรียนรู้” ที่ผู้คน ทุกช่วงวัย เข้าถึงความรู้ และใช้ประโยชน์ได้ (Lifelong Learning) และพัฒนาส่วนที่เกี่ยวข้อง เช่น เรื่องระบบการสะสมหน่วยการเรียนรู้ (Credit Bank System) เรื่องของการทำให้ทุกคนเข้าสู่ระบบการเรียนออนไลน์ได้ แต่จะต้องทำให้ทุกคนตระหนักในการเรียนรู้ตลอดชีวิตการประชุมครั้งนี้จึงหวังให้เป็นตัวอย่างแนวทางการปฏิบัติที่สร้างสรรค์และยั่งยืน ส่งเสริมเมืองแห่งการเรียนรู้ในเอเชียตะวันออก และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จัดตั้ง “เครือข่ายเมืองแห่งการเรียนรู้ในภูมิภาคอาเซียน” เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างเมืองต่าง ๆ สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้อย่างยั่งยืน

@บพท.เล็งรวมข้อมูลกระตุ้นทั่วไทยร่วมเครือข่ายเมืองฯ

ดร.กิตติ สัจจาวัฒนา ผู้อำนวยการหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) กล่าวว่า ปัจจุบันประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงของเมืองอย่างรวดเร็ว ทั้งทางกายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ การรู้ทันการเปลี่ยนแปลงเพื่อตั้งรับ ปรับตัวให้อยู่รอด และใช้ประโยชน์จากสิ่งรอบตัวเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา กระบวนการเรียนรู้ก็ควรจะเกิดขึ้นตลอดเวลาเช่นกัน การเรียนรู้ตลอดชีวิตจะช่วยให้พลเมืองสามารถรับมือกับความผันผวนของศตวรรษที่ 21 ได้

เวทีประชุมสัมมนาเมืองแห่งการเรียนรู้ระดับภูมิภาคอาเซียนบวกสาม ครั้งนี้มีคณะผู้แทนสมาชิกอาเซียน บวกสาม เข้าร่วม 12 ประเทศ คือ บรูไนดารุสซาลาม กัมพูชา อินโดนีเซีย สปป.ลาว มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ติมอร์เลสเต เวียดนาม สาธารณรัฐประชาชนจีน ญี่ปุ่น และเกาหลี เข้าร่วม ด้วยเป้าหมายเดียวกันคือแลกเปลี่ยนข้อมูล ความรู้ และประสบการณ์ในการสร้าง “เมืองแห่งการเรียนรู้” ซึ่งเป็นเครื่องมือที่สำคัญ และมีพลังในการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่

ดร.กิตติ ย้ำว่า“การพัฒนาเมืองน่าอยู่และเมืองแห่งการเรียนรู้” เป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์ของประเทศที่ บพท. นำมากำหนดเป็นกรอบการดำเนินงาน “เมืองแห่งการเรียนรู้ (Learning City)” และเป็นแหล่งงบประมาณสำคัญสนับสนุนและผลักดันให้เมืองต่าง ๆ ยกระดับเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ โดยสร้างเครือข่ายเมืองแห่งการเรียนรู้ของประเทศไทย เข้าเป็นสมาชิกเครือข่ายระดับโลกตามแนวคิดเมืองแห่งการเรียนรู้ของยูเนสโก (The UNESCO Global Network of Learning Cities – GNLC) เกิดกลไกความร่วมมือระดับพื้นที่ โดยนักจัดการเรียนรู้ในเมือง เกิดนิเวศการเรียนรู้ของเมือง ประกอบด้วย พื้นที่การเรียนรู้ ตัวความรู้ กิจกรรม การเรียนรู้ นำไปสู่การส่งเสริมเมือง เกิดการสร้างงาน สร้างอาชีพ ให้คนและประชาชนทุกช่ววัยในพื้นที่มีคุณภาพชีวิตดีขึ้นอย่างยั่งยืน

@ยูเนสโกเพิ่มกทม.-ขอนแก่นยะลาน้องใหม่เมืองเรียนรู้ฯ

นายพิเชฐ โพธิ์ภักดี รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า ขอยกย่องถึงเมืองแห่งการเรียนรู้ทั่วโลกใน 79 ประเทศทางยูเนสโกประกาศเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มี 19 เมือง ในจีน ญี่ปุ่น และเกาหลี มี 70 เครือข่าย ส่วน “ไทย” มีเครือข่ายทั่วประเทศ 10 แห่งทั่วประเทศ การประชุมครั้งนี้ทางยูเนสโกพร้อมประกาศเกียรติคุณเมืองแห่งใหม่ ได้แก่ ไทย 3 แห่ง คือ กรุงเทพฯ ขอนแก่น กับ ยะลา หนานจิง (จีน) เลกัซปี (ฟิลิปปินส์) และโฮจิมินห์ซิตี้ และเซินลา (เวียดนาม) ซึ่งเมืองเหล่านี้กำลัง สร้างหนทางสู่ความรู้ที่การเรียนรู้ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในห้องเรียน แต่เกิดขึ้นได้ทั้งในสวนสาธารณะ ตามถนนหนทาง และที่บ้านด้วย

นายวัลเดซโคเทรา สถาบันการเรียนรู้ตลอดชีวิต องค์การยูเนสโกและผู้ประสานงานเครือข่ายเมืองแห่งการเรียนรู้ระดับโลกของยูเนสโกกล่าวว่า “การเรียนรู้ตลอดชีวิต” คือ การปลดล็อกให้เกิดศักยภาพของเมืองในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งปัจจุบันมีประชากรกว่าครึ่งหนึ่งของภูมิภาคที่อาศัยอยู่ในเมือง ครั้งนี้เลือกไทยเป็นเจ้าภาพจัด ประชุมสัมมนาเมืองแห่งการเรียนรู้ระดับภูมิภาคอาเซียนบวกสามเพราะไทยมีแนวปฏิบัติที่ดีและประสบการณ์หลากหลายในการสร้างเมืองแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต สามารถเชื่อมโยงสถาบันการศึกษา การฝึกอบรม และวัฒนธรรม สร้างความมีส่วนร่วมระหว่างหน่วยงานจากภาครัฐ ภาคประชาสังคม และธุรกิจ สร้างสภาพแวดล้อมที่ประชาชนสามารถนำการเรียนรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันและกำหนดแนวทางการเรียนรู้ของตนเองได้ 

รวมทั้ง “การเรียนรู้” คือ เครื่องมือสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ทรงพลัง ทางกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ให้ความสำคัญอย่างยิ่งเป็นหนึ่งในหน่วยงานหลักที่มีภารกิจสร้างคน สร้างความรู้ สร้างนวัตกรรม และพัฒนาประเทศ ทั้งนำมาใช้ประโยชน์เพื่อตัวเอง ครอบครัว ชุมชน สังคมแล้ว ยังยกระดับการพัฒนาประเทศสร้างคุณภาพชีวิตประชาชนได้ด้วย 

รศ.ดร. ปัทมาวดี โพชนุกูล ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) กล่าวว่า ข้อสรุปที่ได้จากการแลกเปลี่ยนจากการประชุม ทาง สกสว.จะนำไปใช้ปรับปรุงแผนวิจัยให้ชัดเจน เข้มข้น ทั้งเนื้อหาและกระบวนการ ทำให้การวิจัยและนวัตกรรมเป็นเครื่องมือสำคัญสร้างการเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะการสร้าง “เมืองแห่งการเรียนรู้” ตอบโจทย์เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) ได้อีกทาง นำความสำเร็จการเชื่อมโยงแผนวิจัยกับกิจกรรมการดำเนินงาน และผลักดันให้เกิดผลตามเป้าหมายถือเป็นบทบาทและภารกิจของ สกสว.ไปพร้อม ๆ กัน

เรื่องโดย #เพ็ญรุ่งใยสามเสน #gurutourza

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

ข่าวที่เกี่ยวข้อง : อว. มอบเรือกู้ภัย Wi-Fi ให้มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง(ภาฯ) ช่วย 7 จังหวัด