Iron Dome เกราะคุ้มภัยชีวิตคนอิสราเอล

Iron Dome เกราะคุ้มภัยชีวิตคนอิสราเอล


ไอเอิร์นโดม(Iron Dome) เกราะป้องกันการถูกโจมตีจากขีปนาวุธที่มีประสิทธิภาพ ทันสมัย ใช้งานได้จริง ของอิสราเอล ถูกออกแบบมาเป็นพิเศษเพื่อป้องกันการโจมตีทางอากาศระยะใกล้

โดยมีจุดกำเนิดมาจากครั้งที่อิสราเอลทำสงครามกับกลุ่มติดอาวุธ “เฮซบอลเลาะห์” ของเลบานอน ในปี 2006 ซึ่งตอนนั้นมีการยิงจรวจโจมตีอิสราเอลหลายพันลูก สร้างความเสียหายรุนแรง ทำให้มีผู้เสียชีวิตหลายสิบคน และต้องอพยพผู้คนจำนวนมาก

ด้วยความชาญฉลาดของคนเชื้อสายยิว อิสราเอลจึงได้สั่งพัฒนาระบบป้องกันภัยขีปนาวุธขึ้นมาใหม่

ไอเอิร์นโดม ถูกพัฒนาขึ้นโดยบริษัทของอิสราเอลคือ Rafael Advanced Defense Systems และ Israel Aerospace Industries โดยได้รับความช่วยเหลือจากสหรัฐฯ และเริ่มถูกนำมาใช้งานในปี 2011

ไอเอิร์นโดม ถือเป็นหนึ่งในระบบป้องกันการโจมตีที่มีเทคโนโลยีล้ำสมัยที่สุดในโลก ทำงานโดยใช้เรดาร์เพื่อบ่งชี้และทำลายภัยที่เข้ามา ก่อนที่มันจะสร้างความเสียหายขึ้น

ระบบที่สามารถทำงานได้ในทุกสภาพลมฟ้าอากาศนี้ ถูกออกแบบขึ้นเพื่อต่อสู้กับอาวุธพื้นฐานพิสัยการยิงสั้น คือระหว่าง 4 – 70 กม. เช่น จรวจที่ยิงมาจากเขตฉนวนกาซา

แม้ไอเอิร์นโดมจะมีต้นทุนสูงในการพัฒนา แต่ผู้ผลิตระบุว่ามีความคุ้มค่ามาก เนื่องจากมีเทคโนโลยีที่สามารถแยกแยะได้ระหว่างจรวดที่มีแนวโน้มจะมุ่งเป้าไปยังแหล่งชุมชนที่มีคนอยู่หนาแน่น กับบริเวณที่คนไม่หนาแน่น

ฐานยิงซึ่งมีทั้งชนิดติดตั้งอยู่กับที่ และชนิดเคลื่อนที่ได้นั้นจะยิงขีปนาวุธขึ้นไปสกัดและทำลายสิ่งที่ระบบประเมินว่าเป็นภัยอันตรายเท่านั้น

ขั้นตอนการทำงานของ Iron Dome

  • เริ่มต้นจากการค้นหา

ระบบเรดาร์จะตรวจจับจรวดที่ยิงเข้ามาภายในระยะ 2.5-43 ไมล์ หรือ 4-70 กิโลเมตร โดยเรดาร์จะติดตั้งไว้ที่จาก

ตัวเครื่องยิงสกัดกั้น แล้วส่งข้อมูลเกี่ยวกับเส้นทางของจรวดไปยังศูนย์บัญชาการและควบคุม

  • ประมวลผล ประเมินสถานการณ์

ศูนย์บัญชาการและควบคุมจะคำนวณตำแหน่งของการชน และคาดการณ์ว่าทิศทางของจรวดจะเข้าโจมตีพื้นที่ที่มีคนอยู่อาศัยหรือไม่

  • คัดกรองเลือกเป้าหมาย

ระบบจะคัดเลือกเป้าหมาย จรวดที่จะก่อให้เกิดภัยคุกคามสูงสุดต่อพื้นที่ในเมือง และโครงสร้างพื้นฐานสำคัญ

ซึ่งเมื่อต้องรับมือกับภัยคุกคามหลายอย่างพร้อมกัน ระบบจะไม่สนใจจรวดที่มีแนวโน้มจะโจมตีพื้นที่ที่

ไม่มีผู้คนอาศัยหรือเป้าหมายของจรวดอยู่ในทะเล

  • ยิงสกัด

เมื่อประมวลผลเรียบร้อย ระบบควบคุมจะเชื่อมต่อกับตัวสั่งการ แล้วยิงขีปนาวุธเพื่อทำลายจรวด

ขอบคุณ CNN