ต้องเร่งเบิกจ่ายถึง 70% ถึงจะทำให้ จีดีพี 67 โตได้ 2.5%

พิชัย เปิดเผยว่า ต้องเร่งเบิกจ่ายถึง 70 % ถึงจะทำให้ จีดีพี 67 โตได้ 2.5%
พิชัย เปิดเผยว่า ต้องเร่งเบิกจ่ายถึง 70 % ถึงจะทำให้ จีดีพี 67 โตได้ 2.5%

พิชัย เผย จีดีพี โตขึ้น ต้องเร่งรัดการเบิกจ่ายถึง 70% ถึงจะทำให้ จีดีพี 67 โตได้ 2.5% ตามที่สภาพัฒน์ฯ คาดการณ์ไว้

นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง ได้รายงานในที่ประชุมครม.เศรษฐกิจ ถึงการกำหนดเป้าหมายการเติบโตทางเศรษฐกิจในปี 67 ซึ่งตั้งเป้าหมาย ตามที่สภาพัฒนาเศรษฐกิจ และ สังคมแห่งชาติ หรือ สภาพัฒน์ฯ คาดการณ์ไว้ที่ 2.5% สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) คาดการณ์ไว้ที่ 2.4%

พิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง
พิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง

นายพิชัย กล่าวว่า ในวันนี้จะรายงาน ครม.เศรษฐกิจ ถึงการตั้งเป้าในปี 67 ว่า เศรษฐกิจ จะโตที่เท่าไร ทั้งนี้ สิ่งสำคัญที่สุดที่จะกำหนดเป้าหมาย การเติบโตทางเศรษฐกิจปี 67 คือ การเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณลงทุนให้ถึงเป้า ซึ่ง รายจ่ายลงทุนปี 67 มียอดทั้งหมด 8.5 แสนล้านบาท ซึ่ง ณ วันที่ 7 มิ.ย.มีอัตราการเบิกจ่าย 38.6 % หรือ 3.3 แสนล้านบาท ส่วนที่รอเซ็นสัญญา (รวม PO) 50.1% หรือ 4.3 แสนล้านบาท นายพิชัย กล่าวว่า การที่จะทำให้จีดีพีถึง 2.5% การเบิกจ่ายต้องทำให้ได้ถึง 70% จึงจำเป็นต้องเร่งรัดการเบิกจ่ายให้ได้

กระทรวงการคลัง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง : นายกฯ ยืนยัน ไตรมาส 4 เศรษฐกิจดีขึ้นมากแน่นอน

อ้างอิงข่าว

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เศรษฐกิจในไตรมาส 4 ( ตุลาคม-ธันวาคม ) ดีขึ้นแน่นอน ดีขึ้นมาก และ ตอนนี้กำลังพิจารณา ไตรมาส 3 ( กรกฎาคม-กันยายน ) ว่าทำอย่างไรที่จะให้ดีขึ้นกว่าเดิมอีกหน่อย เพราะ ตอนนี้เงินงบประมาณก็เริ่มผันจ่ายออกไปได้บ้างแล้ว

“คงมีการพูดคุยกับหน่วยงานเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องถึงเรื่องปัญหา ว่าจะมี หรือไม่ หากมีการผันเงินงบประมาณออกไปให้ได้เร็วที่สุด”

ต่อข้อซักถามว่า เมื่อถามอีกว่าเมื่อวันที่ 4 มิ.ย.ที่ผ่านมา นายเผ่าภูมิ โรจนสกุล รมช.คลัง กล่าวว่าอีก 1-2 สัปดาห์จะมีการเสนอมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเข้ามาอีกนายกฯ กล่าวว่า “กำลังดูอยู่ ซึ่งเป็นเรื่อง สืบเนื่องมาจากมีการประชุมคณะทำงาน ที่เกี่ยวกับเรื่อง เศรษฐกิจก็จะดูว่าเศรษฐกิจมีปัญหาอะไร และเราจะขับเคลื่อนเศรษฐกิจอย่างไร เส้นทางกระทรวงการคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำลังทำอยู่”

สำหรับคำถามที่ว่า สำหรับแนวโน้มเศรษฐกิจในภาพรวมรายได้ของเรา จะเพียงพอไม่จำเป็นต้องมีการกู้แล้วใช่หรือไม่ นายกฯกล่าวว่า ขณะนี้ทุกอย่างยังเป็นไปตามแผนงานอยู่ แต่ว่า ตอนนี้ครึ่งปีแล้ว ก็ต้องมานั่งดูว่าตรงไหน ที่จะต้องมีการลดหรือเพิ่ม โดยจะต้องดูเรื่องการบริหารจัดการรายจ่ายให้ดี ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของมาตรการสนับสนุนทางด้านภาษี ที่ให้นักลงทุนต่างประเทศ ซึ่งเราต้องมาดูว่าตรงไหนที่จะทำอะไรได้บ้าง เพราะเรื่องรายได้เป็นเรื่องสำคัญ

GDP ย่อมาจากคำว่า Gross Domestic Productคือ ผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ คำนวณมาจากมูลค่าสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายที่ผลิตในประเทศ ณ ช่วงเวลานั้น หรือพูดง่าย ๆ ว่า GDP เป็นมูลค่าเศรษฐกิจทั้งหมดที่เกิดขึ้นในประเทศ ถ้าตัวเลข GDP ของไทยสูงขึ้น ก็แปลได้ว่ามีรายได้เกิดขึ้นในประเทศไทยมากขึ้น ซึ่งอาจจะมาจากการจับจ่ายใช้สอยของคนในประเทศ มีการจ้างงานเพิ่มขึ้น ภาครัฐมีการลงทุนโครงการต่าง ๆ รวมถึงมีนักท่องเที่ยวมาใช้เงินในประเทศเรามากขึ้น เป็นต้น

สำหรับการคำนวณ GDP จะนับเฉพาะรายได้ ที่เกิดขึ้นในประเทศเท่านั้น อย่างถ้าเป็น GDP ประเทศไทย ก็จะนับเฉพาะรายได้ที่เกิดขึ้นในไทย โดยไม่เกี่ยวว่ามาจากคนสัญชาติไหน แต่ถ้าเป็นคนไทยไปมีรายได้ที่ต่างประเทศ อันนี้จะไม่ถูกนับรวมใน GDP ของไทย

อย่างไรก็ตาม แม้ว่า GDP จะเป็นตัวเลขที่สะท้อนมูลค่าเศรษฐกิจทั้งหมดที่เกิดขึ้นในประเทศ แต่ก็ มีบางอย่างที่ไม่ได้ถูกนับใน GDPอาทิ การซื้อสินค้ามือสอง เพราะ ไม่ได้เป็นการเพิ่มผลผลิตปัจจุบัน และ จะเป็นการนับมูลค่าซ้ำซ้อน, กลุ่มสินค้าผิดกฎหมายและสินค้าเลี่ยงภาษี รวมทั้งผลิตภัณฑ์ทางการเงินต่าง ๆ เช่น หุ้น กองทุน ตราสารหนี้ ก็จะไม่ถูกนับรวมเป็น GDP เช่นกัน