การเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์ ส่งผลให้ไทยมีเงินลงทุนโดยตรงระหว่างประเทศ (FDI) ลดลง

สภาพัฒน์
การเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์ ส่งผลให้ไทยมีเงินลงทุนโดยตรงระหว่างประเทศ(FDI) ลดลง


การเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์ ส่งผลต่อไทย ทำให้เงินลงทุนโดยตรงระหว่างประเทศ (FDI) ลดลง เป็นประเด็นท้าทายสำคัญในการกำหนดนโยบายของประเทศไทยเพื่อรองรับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของห่วงโซ่อุปทานและการย้ายฐานการผลิต

สภาพัฒน์สร้างความตระหนัก รับมือการเปลี่ยนแปลง ในการประชุมประจำปี 2567 จัดประชุมประจำปี 2567 เรื่อง “พลิกความเสี่ยงภูมิรัฐศาสตร์ สร้างโอกาสประเทศไทย (Geopolitical Uncertainty : Navigating the Future)” เพื่อให้คนไทยตระหนักและรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงที่ผันผวนรวดเร็วซึ่งเป็นผลมาจากภูมิรัฐศาสตร์โลก 

นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้นำเสนอในหัวข้อ “การเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์โลก : นัยต่อประเทศไทย” โดยกล่าวว่าการแยกห่วงโซ่อุปทานระหว่างสหรัฐฯ และจีน (Decoupling)ข้อจำกัดจากมาตรการ
กีดกันต่าง ๆ ส่งผลให้เกิดการแบ่งแยกทางเศรษฐกิจ นำมาสู่แนวนโยบายที่ส่งผลเสียต่อการค้าเสรีในหลายประเทศ เมื่อรวมกับวิกฤติโควิด-19 รวมถึงสงครามรัสเซียและยูเครนอิสราเอลและกลุ่มฮามาส ส่งผลให้แนวโน้มการปรับเปลี่ยนห่วงโซ่การผลิตโลกมีความเข้มข้นมากขึ้น ประเทศต่าง ๆ มุ่งย้ายฐานการผลิตกลับไปยังประเทศแม่ของบริษัท หรือไปยังประเทศที่เป็นพันธมิตร เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับห่วงโซ่การผลิต และหลีกเลี่ยงผลกระทบจากมาตรการกีดกันทางการค้า

FDI ในระดับโลกลดลงอย่างมีนัยสำคัญ 

เงินลงทุนโดยตรงระหว่างประเทศ (Foreign Direct Investment: FDI) ในระดับโลกลดลงอย่างมีนัยสำคัญ เงินลงทุนจากประเทศพัฒนาแล้วโดยเฉพาะสหรัฐฯ และสหภาพยุโรปลดลงอย่างมากแต่เงินลงทุนจากจีนและประเทศกลุ่ม BRICS อื่น ๆ ปรับเพิ่มขึ้นท่ามกลางเม็ดเงินลงทุนระหว่างประเทศที่ลดลง ในขณะที่มีบางกลุ่มประเทศที่ยังคงมีมูลค่า FDI เพิ่มขึ้น อาทิ สิงคโปร์ ญี่ปุ่นเกาหลีใต้ ไต้หวัน อินโดนีเซีย และเวียดนาม สะท้อนถึงการย้ายฐานการผลิตมายังกลุ่มประเทศดังกล่าว 

“ไทยเป็นประเทศที่ FDI ลดลง จึงเป็นประเด็นท้าทายสำคัญในการกำหนดนโยบายของประเทศไทยเพื่อที่จะสามารถรับผลกระทบจากการเปลียนแปลงของห่วงโซ่อุปทานและการย้ายฐานการผลิตดังกล่าว”

การแย่งชิงแรงงาน  การแบ่งแยกห่วงโซ่การผลิต ทำให้เกิดการย้ายฐานอุตสาหกรรม หลายประเทศต้องการแรงงานทักษะสูง นำไปสู่ Talent War จากรายงานข้อมูลดัชนีชี้วัดศักยภาพการแข่งขันด้านทรัพยากรมนุษย์โลก (The Global Talent Competitiveness Index : GTCI) ปี 2566 ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 79 จาก 134 ประเทศทั่วโลก และเป็นอันดับ 4 ของอาเซียน จากผลการจัดอันดับดังกล่าวสะท้อนว่า ไทยต้องเร่งพัฒนาแรงงานให้มีทักษะที่สูงขึ้น

ความมั่นคงทางอาหาร สงครามและความขัดแย้งทางการเมืองในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วโลก ส่งผลให้พื้นที่การเกษตร ระบบขนส่งโครงสร้างพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับการผลิตและการกระจายสินค้าอาหารและวัตถุดิบถูกทำลายเกิดการย้ายถิ่นของประชากร ส่งผลต่อการเข้าถึงและใช้ประโยชน์อาหารในพื้นที่ใหม่เป็นไปอย่างยากลำบาก ราคาวัตถุดิบสูงขึ้น ซึ่งเพิ่มต้นทุนและราคาสินค้าเกษตร และอาจนำไปสู่การขาดแคลนอาหารในประเทศ 

 ความมั่นคงทางพลังงาน ภาวะสงครามและเหตุการณ์ความไม่สงบในตะวันออกกลางและหลายประเทศในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ส่งผลให้โครงสร้างพื้นฐานหลายด้านถูกทำลาย รวมทั้งด้านพลังงาน 

การแย่งชิงทรัพยากรน้ำ การบริหารจัดการพลังงานน้ำอาจกลายเป็นองค์ประกอบสำคัญของการแข่งขันทางภูมิรัฐศาสตร์ที่เพิ่มขึ้นระหว่างจีนและประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ความท้าทายที่ไทยต้องบริหารจัดการเพื่อรับมือความผันผวน  

(1) ด้านการค้าการลงทุนโดยตรง ที่ไหลสู่ประเทศในภูมิภาคอาเซียนอย่างต่อเนื่อง และการไหลเข้ามาของสินค้าราคาถูกจากจีนที่ กระทบผู้ประกอบการภาคการผลิตของไทยโดยเฉพาะ SMEs หรือผลกระทบจากมาตรการกีดกันทางการค้าของประเทศคู่ขัดแย้ง 

(2) เทคโนโลยี ควรให้ความสำคัญกับ Platform ให้บริการ
ที่แยกจากกัน ที่จะส่งผลให้ต้นทุนการใช้บริการสูง รวมถึงประเด็นความปลอดภัยทางไซเบอร์และช่องว่างทางดิจิทัล 

(3) แรงงานและทักษะการพัฒนา ecosystem ที่เอื้อต่อการดึงดูดแรงงานทักษะสูงและพัฒนาทักษะแรงงานให้สอดคล้องกับแนวโน้มทางเทคโลยีและตลาด รวมถึงการพัฒนาเมืองที่สามารถดึงดูด Talent
การรองรับแรงงานหรือผู้ย้ายถิ่นจากเมียนมาและมีความมั่นคงทางอาหาร  

(4) ความมั่นคงทางพลังงานไทยมีสัดส่วนนำเข้าพลังงานที่สูง แม้ยังมีศักยภาพในการพัฒนาแหล่งก๊าซธรรมชาติระดับหนึ่ง แต่ยังไม่สามารถเกิดความมั่นคงทางพลังงาน ไทยจึงต่อเร่ง สร้างความร่วมมือและใช้ประโยชน์จากการเป็นศูนย์กลางพลังงานของภูมิภาค และการพัฒนาพลังงานสะอาด และต้องใช้ประโยชน์จากการใช้เทคโนโลยีและ Critical Materials ที่นำเข้าจากต่างประเทศอย่างชาญฉลาด

สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง : ‘สภาพัฒน์’ เผย NPL สินเชื่อรวม Q2 สูงขึ้นต่อเนื่อง 3 ไตรมาสติด และสูงกว่าช่วงโควิด