EXIM BANK ส่งเสริมผู้ส่งออกขายผ่านแพลตฟอร์มระดับโลก

EXIM BANK จัดโครงการ “The Road to Global E-Commerce 2024” สนับสนุนผู้ส่งออก
EXIM BANK จัดโครงการ “The Road to Global E-Commerce 2024” สนับสนุนผู้ส่งออก

EXIM BANK จัดโครงการ “The Road to Global E-Commerce 2024” สร้างผู้ส่งออก ผ่านการค้าออนไลน์ผ่านแพลตฟอร์มระดับโลก

EXIM BANK เปิดโครงการ “The Road to Global E-Commerce 2024” เพื่อส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการให้สามารถเริ่มต้นหรือขยายการส่งออกได้ผ่านแพลตฟอร์มระดับโลก Alibaba.com และ HKTDC.com

โดยนอกจากนี้มีการให้ความรู้เรื่องแนวโน้มตลาด E-Commerce ทั่วโลก เทคนิคการขายสินค้าออนไลน์อย่างมืออาชีพ โอกาสในการขยายธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มในตลาดฮ่องกง และการจัดส่งสินค้าระหว่างประเทศ

EXIM BANK ยังให้บริการคำปรึกษาแนะนำและบริการทางการเงิน รวมถึงบริการประกันการส่งออกที่ช่วยคุ้มครองความเสี่ยงจากกรณีผู้ซื้อในต่างประเทศไม่ชำระเงินค่าสินค้า

ดรัสวันต์ ชูวงษ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK)
ดรัสวันต์ ชูวงษ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK)

ทั้งนี้ นางสาวดรัสวันต์ ชูวงษ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIMBANK) นายกรพงศ์ นวลสนิท ผู้จัดการฝ่ายช่องทางและรายได้ Alibaba.com นายขนิฐพงษ์ เอี่ยมพิชัยฤทธิ์ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท เอเจ อีคอมเมอร์ซ จำกัด และนางสาวพจมาลย์ กลิ่นขจร ผู้ช่วยผู้จัดการโครงการ องค์การสภาพัฒนาการค้าฮ่องกง (HKTDC) ร่วมกันเปิดโครงการ

องค์การสภาพัฒนาการค้าฮ่องกง (Hong Kong Trade Development Council หรือ HKTDC) เป็น หน่วยงานรัฐวิสาหกิจของฮ่องกง ซึ่งมีภารกิจในการส่งเสริมการค้านอกประเทศของฮ่องกง ทั้งในส่วน ของสินค้าและการบริการเพื่อขยายธุรกิจในตลาดสากลและเพิ่มจำนวนบริษัทนานาชาติที่ใช้ฮ่องกง เป็นเวทีทางการค้าในรูปแบบต่างๆ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง : EXIMBank สนับสนุนการ ส่งออก ของ supply chain

ธสน. มีขอบเขตอำนาจในการทำธุรกิจ ไว้อย่างกว้างขวาง ธสน. จึงสามารถ ให้สินเชื่อได้ทุกรูปแบบ เช่น สินเชื่อระยะสั้น และ สินเชื่อระยะยาว สินเชื่อในประเทศ และ สินเชื่อต่างประเทศ โดยสามารถทำธุรกิจ ได้ทั้งที่เป็นสกุลเงินบาท และ สกุลเงินตราต่างประเทศ นอกจากนี้ ยังสามารถกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงินทุกประเภท ทั้งในประเทศ และ ต่างประเทศ และ ออกตราสารการเงินระยะสั้น และ ระยะยาวขายแก่สถาบันการเงิน และ ประชาชนทั่วไปทั้งในประเทศ และ ต่างประเทศ 

กล่าวโดยสรุป ธสน. สามารถทำธุรกิจทุกประเภทที่ธนาคารพาณิชย์ทำได้ ยกเว้น เพียงการรับฝากเงินจากประชาชนทั่วไปเท่านั้น สำหรับนักลงทุนไทยที่ไปลงทุนในต่างประเทศ สนับสนุนการลงทุน ในรูปของการให้บริการทางการเงิน ทั้งสินเชื่อระยะสั้น และระยะยาว และ เพื่อเป็นการเพิ่มความมั่นใจ ให้แก่นักลงทุน ยังพร้อมที่จะร่วมลงทุนถือหุ้น ในกิจการอีกด้วย การรับประกันความเสี่ยงในการเรียกเก็บเงินจากการส่งออก

ธสน. ดำเนินงานตามภารกิจภายใต้การกำกับดูแล ของกระทรวงการคลัง โดย ได้นำแนวนโยบายจากผู้ถือหุ้นภาครัฐ ทั้งแนวนโยบายจาก สศค. ระยะ 5 ปี (ปี 2564-2568) ซึ่งมุ่งเน้นให้ “การดำเนินงานของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ เป็นฟันเฟือง ทางเศรษฐกิจ และสังคมที่มีคุณภาพ สามารถขับเคลื่อนกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ให้สามารถสร้างประโยชน์ต่อสังคม และ ประเทศ ตลอดจนเพิ่มพูน ผลิตภาพเชิงเศรษฐกิจ ควบคู่กับการฟื้นฟูผลิตภาพทางสังคมไปอย่างยั่งยืน”

และ แผนพัฒนารัฐวิสาหกิจ ปี 2566-2570 ของ สคร. ได้กำหนดทิศทางหลักในการพัฒนารัฐวิสาหกิจ สาขาสถาบันการเงิน ซึ่งมีความสอดคล้อง กับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 

โดย ธสน. เกี่ยวข้องโดยเฉพาะกับหมุดหมายที่ 7 ไทยมีวิสาหกิจขนาดกลาง และ ขนาดย่อมที่เข้มแข็ง มีศักยภาพสูงและสามารถแข่งขันได้ เป็นหลัก รวมไปถึงหมุดหมายที่ 5 ไทยเป็นประตูการค้าการลงทุน และ ยุทธศาสตร์ทางโลจิสติกส์ ที่สำคัญของภูมิภาค และ หมุดหมายที่ 10 ไทยมีเศรษฐกิจหมุนเวียนและสังคมคาร์บอนต่ำ 

โดยมีกรอบภารกิจสาขาสถาบันการเงิน คือ “เป็นสถาบันการเงิน เพื่อการพัฒนา และ สร้างโอกาสให้ประชาชน เข้าถึงแหล่งเงินทุนอย่างทั่วถึง ควบคู่ กับการให้ความรู้ทางการเงิน รวมทั้งสนับสนุน ความเข้มแข็งเศรษฐกิจฐานราก พัฒนา ขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และ ลดความเหลื่อมล้ำในสังคม”