EXIM Bank สนับสนุนการ ส่งออก ของ supply chain

ดร.เบญจรงค์ สุวรรณคีรี รองกรรมการผู้จัดการ นำคณะ พบปะหารือการท่าเรือแห่งประเทศไทย สนับสนุนผู้ประกอบการไทยใน Supply Chain การส่งออก
ดร.เบญจรงค์ สุวรรณคีรี รองกรรมการผู้จัดการ นำคณะ พบปะหารือการท่าเรือแห่งประเทศไทย สนับสนุนผู้ประกอบการไทยใน Supply Chain การส่งออก

EXIM Bank พบปะหารือการท่าเรือแห่งประเทศไทย สนับสนุน ส่งออก ของผู้ประกอบการไทยใน Supply Chain การ ส่งออก

EXIM Bank หารือการท่าเรือแห่งประเทศไทยสนับสนุนการส่งออกของไทย supply chain
EXIMBank หารือการท่าเรือแห่งประเทศไทยสนับสนุนการส่งออกของไทย supply chain

ดร.เบญจรงค์ สุวรรณคีรี รองกรรมการผู้จัดการ และนายอิทธิพล เลิศศักดิ์ธนกุล รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออก และนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIMBank) เมื่อวานนี้พบปะหารือกับนายเกรียงไกร ไชยศิริวงศ์สุข ผู้อำนวยการการท่าเรือแห่งประเทศไทย เกี่ยวกับแนวทางความร่วมมือในการสนับสนุนผู้ประกอบการใน Supply Chain การส่งออกและที่เกี่ยวข้อง

EXIMBankตั้งเป้าหมายยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการไทย ในเวทีโลก ขับเคลื่อน การค้าการลงทุนที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ และ การพัฒนาอย่างยั่งยืน ณEXIM Bank สำนักงานใหญ่ เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2567

EXIM Bank นำเสนอยุทธศาสตร์ต่อ รมว.คลัง

EXIM Bank นำเสนอยุทธศาสตร์ต่อ รองนายกและรมว.คลัง, นายพิชัย ชุณหวชิร
EXIMBank นำเสนอยุทธศาสตร์ต่อ รองนายกและรมว.คลัง, นายพิชัย ชุณหวชิร

EXIMBankเข้าเยี่ยมคารวะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นายวโรทัย โกศลพิศิษฐ์กุล ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจระหว่างประเทศ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง และ ประธานกรรมการกำกับดูแลกิจการที่ดี และ ความยั่งยืน

ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM Bank) พร้อมด้วย ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการEXIM Bank นำผู้บริหารเข้าเยี่ยมคารวะนายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เพื่อแสดงความยินดีในโอกาสเข้ารับตำแหน่ง

นอกจากนี้ได้นำเสนอยุทธศาสตร์และบทบาทของEXIM Bank ในฐานะสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงการคลังที่มุ่งสู่บทบาท Green Development Bankมีบริการครบวงจรเพื่อเติมความรู้ เติมโอกาส เติมเงินทุนให้แก่ผู้ประกอบการทุกขนาดธุรกิจในทุกอุตสาหกรรม ส่งเสริมการค้าและการลงทุนที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศและการพัฒนาอย่างยั่งยืน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :EXIM BANK ลดดอกเบี้ยเงินกู้เหลือ 6.60%

ธสน. มีขอบเขตอำนาจในการทำธุรกิจ ไว้อย่างกว้างขวาง ธสน. จึงสามารถ ให้สินเชื่อได้ทุกรูปแบบ เช่น สินเชื่อระยะสั้น และ สินเชื่อระยะยาว สินเชื่อในประเทศ และ สินเชื่อต่างประเทศ โดยสามารถทำธุรกิจ ได้ทั้งที่เป็นสกุลเงินบาท และ สกุลเงินตราต่างประเทศ นอกจากนี้ ยังสามารถกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงินทุกประเภท ทั้งในประเทศ และ ต่างประเทศ และ ออกตราสารการเงินระยะสั้น และ ระยะยาวขายแก่สถาบันการเงิน และ ประชาชนทั่วไปทั้งในประเทศ และ ต่างประเทศ

กล่าวโดยสรุป ธสน. สามารถทำธุรกิจทุกประเภทที่ธนาคารพาณิชย์ทำได้ ยกเว้น เพียงการรับฝากเงินจากประชาชนทั่วไปเท่านั้น สำหรับนักลงทุนไทยที่ไปลงทุนในต่างประเทศ สนับสนุนการลงทุน ในรูปของการให้บริการทางการเงิน ทั้งสินเชื่อระยะสั้น และระยะยาว และ เพื่อเป็นการเพิ่มความมั่นใจ ให้แก่นักลงทุน ยังพร้อมที่จะร่วมลงทุนถือหุ้น ในกิจการอีกด้วย การรับประกันความเสี่ยงในการเรียกเก็บเงินจากการส่งออก

ธสน. ดำเนินงานตามภารกิจภายใต้การกำกับดูแล ของกระทรวงการคลัง โดยได้นำแนวนโยบายจากผู้ถือหุ้นภาครัฐ ทั้งแนวนโยบายจาก สศค. ระยะ 5 ปี (ปี 2564-2568) ซึ่งมุ่งเน้นให้ “การดำเนินงานของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ เป็นฟันเฟือง ทางเศรษฐกิจและสังคมที่มีคุณภาพ สามารถขับเคลื่อนกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ให้สามารถสร้างประโยชน์ต่อสังคม และประเทศ ตลอดจนเพิ่มพูนผลิตภาพเชิงเศรษฐกิจ ควบคู่กับการฟื้นฟูผลิตภาพทางสังคมไปอย่างยั่งยืน”

และ แผนพัฒนารัฐวิสาหกิจ ปี 2566-2570 ของ สคร. ได้กำหนดทิศทางหลักในการพัฒนารัฐวิสาหกิจ สาขาสถาบันการเงิน ซึ่งมีความสอดคล้อง กับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13

โดย ธสน. เกี่ยวข้องโดยเฉพาะกับหมุดหมายที่ 7 ไทยมีวิสาหกิจขนาดกลาง และ ขนาดย่อมที่เข้มแข็ง มีศักยภาพสูงและสามารถแข่งขันได้ เป็นหลัก รวมไปถึงหมุดหมายที่ 5 ไทยเป็นประตูการค้าการลงทุน และ ยุทธศาสตร์ทางโลจิสติกส์ ที่สำคัญของภูมิภาค และ หมุดหมายที่ 10 ไทยมีเศรษฐกิจหมุนเวียนและสังคมคาร์บอนต่ำ

โดยมีกรอบภารกิจสาขาสถาบันการเงิน คือ “เป็นสถาบันการเงิน เพื่อการพัฒนา และ สร้างโอกาสให้ประชาชน เข้าถึงแหล่งเงินทุนอย่างทั่วถึง ควบคู่ กับการให้ความรู้ทางการเงิน รวมทั้งสนับสนุน ความเข้มแข็งเศรษฐกิจฐานราก พัฒนา ขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และ ลดความเหลื่อมล้ำในสังคม”