IATAโชว์ข่าวดีต้นปี67การบินโลกผู้โดยสารโต15-26%

IATA เปิดข้อมูลการบินทั่วโลกเดือน..67 เพิ่ม 2 หลักยอดผู้โดยสารรวมโต 21.5 % อินเตอร์ขยายตัว 26.3% ในประเทศเพิ่ม 15 % จับตามาตรการภาษีใหม่ทำค่าตั๋วแพง

  • IATA โชว์ข้อมูลการบิน..67 ทั่วโลกโตฉลุย 2 หลัก 15-26 %
  • มาตรการภาษีใหม่ลดคาร์บอนตัวแปรค่าตั๋วเครื่องบินแพงยุโรปกังวลมากสุด

วิลลี วอลช์ ผู้อำนวยการทั่วไป  สมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ (IATA/ไออาต้า : The International Air Transport Association) เปิดเผยว่า IATA นำเสนอข้อมูลอัพเดทล่าสุดถึงปริมาณผู้โดยสารทั่วโลกในตลาดการเดินทางทางอากาศช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2567 มีสัญญาณเติบโตดีเป็นตัวเลขรวมเพิ่มขึ้นถึง 2 หลัก เปรียบเทียบระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ 2567 กับช่วงกุมภาพันธ์ 2566 มีปัจจัยตอกย้ำถึงสถานการณ์การบินโลกขยายตัวอย่างมีนัยสำคัญดังนี้

สถานการณ์ “ปริมาณการขนส่งผู้โดยสารต่อกิโลเมตร (RPK :Revenue Passenger-kilometer) ภาพรวมเพิ่มขึ้น 21.5 % ส่วนปริมาณการผลิตนั่ง (ASK :Avaliable Seat Kilometer) เพิ่มขึ้น 18.7% สามารถทำอัตราการบรรทุกผู้โดยสารเฉลี่ยรวมทั่วโลก (load factor) ได้ถึง 80.6% เพิ่มขึ้น 1.9 %  มาจาก 2 ส่วนหลัก ได้แก่

ส่วนที่ 2  ผู้โดยสารระหว่างประเทศเพิ่มขึ้น 26.3% ด้วยกำลังการผลิตจำนวนที่นั่งเที่ยวบินเพิ่มขึ้น 25.5% ปี 2567 เปรียบเทียบกับปี 2566 มีอัตราบรรทุกผู้โดยสารเฉลี่ยระหว่างประเทศเพิ่มขึ้นได้ 79.3% เดือนกุมภาพันธ์ปีนี้เพิ่มขึ้น 0.5 % จากช่วงเดียวกันกับปีก่อน

ส่วนที่ 3 ปริมาณความต้องการของผู้โดยสารในเที่ยวบินภายในประเทศของทั่วโลก เพิ่มขึ้น 15.0% มีกำลังการผลิตที่นั่งเที่ยวบินเพิ่มขึ้น 9.4% เปรียบเทียบปี 2567 กับปี 2566 มีอัตราการบรรทุกผู้โดยสารเฉลี่ยภายในแต่ละประเทศ 82.6% เพิ่มขึ้น 4 % จากช่วงเดียวกันกับปีก่อน

วิลลี วอลช์  กล่าวว่า อุตสาหกรรมการบินทั่วโลกเริ่มต้นปี 2567 ได้แข็งแกร่งจึงทำให้ผลสรุปเดือนกุมภาพันธ์ปีนี้ ทุกตลาดยกเว้นอเมริกาเหนือรายการจำนวนผู้โดยสารเติบโตเป็นตัวเลขสูงถึง 2 หลัก เป็นเหตุผลที่ดีจะมองโลกธุรกิจการบินมุมบวกเกี่ยวกับแนวโน้มอุตสาหกรรมตลอดปี 2567 เนื่องจากสายการบินต่าง ๆ เร่งลงทุนควบคู่กับแผนการลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ จึงทำให้ผู้โดยสารต้องการของผู้โดยสารเลือกใช้บริการเดินทางทางอากาศมากขึ้น 

ในทางกลับกันจากความผันผวนทางสภาพภูมิรัฐศาสตร์และเศรษฐกิจ จึงมีแนวโน้มที่หลายประเทศทั่วโลกอาจจะต้องจัดเก็บภาษีใหม่ที่เกี่ยวข้องกับการบินเพื่อรณรงค์ให้สายการบินต่าง ๆ ร่วมกระบวนการลดการปล่อยคาร์บอนและร่วมลดมลพิษ ซึ่งอาจทำให้ “ราคาตั๋วโดยสารเครื่องบินสูงขึ้น” แล้วสร้างผลกระทบกับเสถียรภาพเชิงบวกกับผู้โดยสารทั้งเส้นทางบินในประเทศและระหว่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแถบยุโรปตอนนี้เริ่มมีความกังวลมากขึ้น เพราะเศรษฐกิจยังซบเซาไม่ฟื้นตัวเท่าที่ควรผนวกกับมาตรการด้านภาษีต่าง ๆ ไม่ได้ส่งผลดีกับการแข่งขันในตลาดการบินมากนักนั่นเอง – เรื่องโดย #เพ็ญรุ่งใยสามเสน