“พาณิชย์” เดินหน้าเสริมแกร่งเอสเอ็มอีไทย

“นภินทร” เสริมแกร่งเอสเอ็มอีไทย ลุยทำทันที 2 มาตรการ ทั้งสร้างอาชีพผ่านระบบแฟรนไชส์ และเพิ่มกำลังซื้อในประเท

  • เคาะ 2 มาตรการทำทันทีให้เห็นผลเป็นรูปธรรม
  • ร้างอาชีพ สร้างรายได้ผ่านแฟรนไชส์
  • เพิ่มกำลังซื้อหนุนแรงงานต่างด้าวซื้อของไทยส่งกลับบ้าน

นายนภินทร ศรีสรรพางค์ รมช.พาณิชย์ เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะอนุกรรมการส่งเสริมและยกระดับ SMEs ไทย ร่วมกับผู้แทนภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง เพื่อติดตามความคืบหน้ามาตรการส่งเสริมและแก้ปัญหาให้เอสเอ็มอีไทย 9 ด้าน พร้อมเร่งรัดให้เห็นผลเป็นรูปธรรมโดยเร็วที่สุดว่า ที่ประชุมเห็นชอบให้เร่งดำเนินการ 2 มาตรการเร่งด่วนทันที ได้แก่ สร้างอาชีพผ่านแฟรนไชส์ ซึ่งกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ได้หาสถานที่ที่เหมาะสมสำหรับให้ประชาชน ที่ต้องการขายสินค้าแฟรนไชส์เข้าไปค้าขายได้ พร้อมกับได้เจรจาต่อรองราคาให้แล้ว ล่าสุด ในกรุงเทพฯ จัดหาได้แล้ว 124 และในต่างจังหวัดทั่วประเทศอีก 3,977 แห่ง ซึ่งจะนำเผยแพร่บนเว็บไซต์กรมพัฒนาธุรกิจการค้า www.dbd.go.th ต่อไป

นอกจากนี้ กรมยังมีธุรกิจแฟรนไชส์ที่ผ่านการพัฒนาศักยภาพและมาตรฐานการประกอบธุรกิจ 525 ราย แบ่งเป็น ธุรกิจอาหาร 234 แบรนด์ ธุรกิจเครื่องดื่ม 103 แบรนด์ ธุรกิจการศึกษา 68 แบรนด์ ธุรกิจบริการ 63 แบรนด์ ธุรกิจค้าปลีก 33 แบรนด์ ธุรกิจความงาม และสปา 24 แบรนด์ รวมถึง ธุรกิจสินค้าชุมชน และธุรกิจในรูปแบบรถขายอาหารเคลื่อนที่ (ฟู้ดทรัค) ที่จะเป็นตัวเลือกให้ผู้ประกอบการพิจารณาเพื่อสร้างอาชีพ สร้างรายได้ด้วย

ส่วนการเพิ่มกำลังซื้อภายในประเทศ ที่จะสนับสนุนให้แรงงานต่างด้าวในไทย ซื้อสินค้าไทยแล้วส่งกลับไปให้ญาติพี่น้องที่ประเทศของตน ตั้งเป้าหมาย 2.5 ล้านชิ้นนั้น เบื้องต้น จะนำร่องที่แรงงานเมียนมาก่อน เพราะเข้าทำงานในไทยกว่า 2.5 ล้านคน ซึ่งแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มสินค้าที่เป็นที่รู้จักของแรงงานต่างด้าวอยู่แล้ว ผู้ผลิตเป็นผู้ส่งสินค้า หรือ มีศูนย์กระจายสินค้า หรือเอาท์เล็ตในเมียนมา ก็จะจะส่งเสริมให้แรงงานซื้อสินค้าผ่านผู้ผลิต และผู้ผลิตจะจัดการส่งสินค้าไปยังเอาท์เล็ต หรือเครือข่ายในเมียนมาเพื่อมารับสินค้า

ส่วนกลุ่มสอง คือ กลุ่มสินค้าชุมชน สินค้าโอทอป และสินค้าเอสเอ็มอี ที่ยังไม่มีเอาท์เล็ตใเมียนมา โดยจะให้แรงงานสั่งซื้อสินค้าผ่านแพลตฟอร์มของโลจิสติกส์ และจัดส่งไปให้ตรงถึงครัวเรือนในเมียนมา คาดจะเริ่มต้นดำเนินการในอีก 2 สำหรับอีก 7 ด้าน เช่น เพิ่มมูลค่าสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (จีไอ), บริหารจัดการสินค้าเกษตรเพื่อรักษาสมดุลราคา, พัฒนาร้านค้าโชห่วยด้วยระบบการค้าสมัยใหม่ ฯลฯ ได้กำชับให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งดำเนินการให้เป็นรูปธรรมชัดเจนในระยะเวลาอันใกล้ เพื่อให้เอสเอ็มอี มีศักยภาพ และแข่งขันได้ในทุกตลาด รวมถึงช่วยให้บรรลุเป้าหมาย ที่ต้องการผลักดันให้มูลค่าของเอสเอ็มอีมีสัดส่วนเพิ่มเป็น 40% ในผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ในปี 70 จากปัจจุบันที่ 35.2%