ครม. เห็นชอบรื้อระบบ วีซ่า ประเทศไทยใหม่ทั้งหมด

เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี แถลงผลประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) ว่า ครม. เห็นชอบรื้อระบบวีซ่าประเทศไทยใหม่ทั้งหมด
เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี แถลงผลประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) ว่า ครม. เห็นชอบรื้อระบบวีซ่าประเทศไทยใหม่ทั้งหมด

ครม. เห็นชอบรื้อระบบ วีซ่า ประเทศไทยใหม่ทั้งหมด วีซ่า -ฟรี 93 ประเทศ อยู่ในไทยได้ 60 วัน จากเดิมในกลุ่มนี้ 57 ประเทศได้รับยกเว้นวีซ่า แต่อยู่ได้ 30 วัน และเพิ่มให้ใหม่36 ประเทศ ทำรัฐสูญรายได้ 12,300 ล้านบาท แต่คุ้มค่าทางเศรษฐกิจจากการมีนักท่องเที่ยวเข้ามามากขึ้น

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี แถลงผลประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) ว่า ครม.เห็นชอบมาตรการและแนวการตรวจลงตราเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวและกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ เช่น การให้สิทธิ์ยกเว้นการตรวจลงตรา สามารถพำนักในประเทศไทยไม่เกิน 60 วัน เพิ่มการตรวจลงตราประเภทใหม่ Destination Thailand Visa

การปรับปรุงสิทธิสำหรับนักศึกษาต่างชาติที่เข้ามาเรียนในระดับปริญาตรีขึ้นไป โดยขยายเวลาพำนักในประเทศไทย หลังการศึกษา 1 ปี

รวมถึงการปรับปรุงหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการรับการตรวจลงตรา ประเภทอยู่ชั่วคราว พำนักระยะยาวหรือ Long stay สำหรับกลุ้มผู้มีอายุมากที่ประสงค์ใช้ชีวิตบั้นปลายที่ประเทศไทย

นายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุม คณะรัฐมนตรี(ครม. )เห็นชอบมาตรการและแนวทางตรวจลงตราเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว และกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศไทย ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ

มาตรการทั้งหมด 3 ระยะ

โดยจะมีทั้งหมด 3 ระยะ ซึ่งมาตรการระยะสั้น ประกอบด้วย5 มาตรการ เริ่มใช้เดือนมิ.ย. 2567 มีประเด็นที่สำคัญประกอบด้วยการให้สิทธิ์ยกเว้นการตรวจลงตรา(วีซ่า) สามารถพำนักในไทยได้ไม่เกิน 60 วัน(ผ.60) เป็นมาตรการฝ่ายเดียวของไทย มีทั้งสิ้น 93 ประเทศ เช่น อันดอร์รา ออสเตรเลีย เบลเยี่ยม บาห์เรน บรูไน แคนาดา เช็ก เดนมาร์ก เอสโตเนีย ฟินแลนด์ ฝรั่งเศส ทั้งนี้ เป็นประเทศที่ได้รับสิทธิ์เดิมพำนักได้ 30 วัน(ผ.30) 57 ประเทศ และ เพิ่มประเทศที่ได้รับสิทธิ์ใหม่ 36 ประเทศ

โดย 36 ประเทศที่เพิ่มใหม่ ประกอบด้วย 13 ประเทศ ที่ได้รับสิทธิ์ตรวจลงตราช่องทางอนุญาตของด่านตรวจคนเข้าเมือง (Visa on Arrival:VOA) ได้แก่ ภูฏาน บัลแกเรีย ไซปรัส ฟีจี จอร์เจีย อินเดีย คาซัคสถาน มอลตา เม็กซิโก ปาปัวนิวกีนี โรมาเนีย อุซเบกิสถาน และไต้หวัน

รวมทั้งประเทศที่ได้รับสิทธิ์ตามความตกลงยกเว้นวีซ่าสามารถพำนักในไทยได้น้อยกว่า 60 วัน จำนวน 6 ประเทศ ได้แก่ จีน ลาว มาเก๊า มองโกเลีย รัสเซีย กัมพูชา และ ประเทศที่ไม่เคยได้รับสิทธิ์ยกเว้นวีซ่าและ VOA 17 ประเทศ ได้แก่ แอลเบเนีย โคลอมเบีย โครเอเชีย คิวบา ดอมินีกา โดมินิกัน เอกวาดอร์ กัวเตมาลา จาเมกา จอร์แดน ศรีลังกา ตรินิแดด โตเบโก ตองกา อุรุกวัย

เพิ่มวีซาแบบใหม่ Destination Thailand Visa

“ มาตรการครั้งนี้ยังเพิ่มการตรวจลงตราประเภทใหม่ Destination Thailand Visa หรือ DTV สำหรับคนต่างด้าวที่มีมีทักษะและการทำงานทางไกลผ่านระบบดิจิตอลที่เรียกว่ารีโมท เวิร์กเกอร์หรือดิจิตอล นอแมด ที่ประสงค์พำนักในไทย เพื่อทำงานและท่องเที่ยวไปพร้อมกันโดยมีนายจ้างและลูกค้าอยู่ในต่างประเทศ และปรับปรุงสิทธิ์สำหรับนักศึกษาต่างชาติที่เข้ามาเรียนระดับปริญญาตรีขึ้นไป ให้ขยายเวลาพำนักในไทยหลังสำเร็จการศึกษาหนึ่งปีเพื่อหางานเดินทางท่องเที่ยวหรือทำกิจกรรมอื่นๆในไทยได้จากเดิมต้องเดินทางออกนอกประเทศทันทีที่สำเร็จการศึกษา”

สำหรับมาตรการระยะกลาง ประกอบด้วย 3 มาตรการ เริ่มใช้เดือนก.ย.ถึงธ.ค. 2567 ได้แก่การจัดกลุ่มและปรับลดรหัสกำกับการตรวจตรงตามประเภทคนอยู่ชั่วคราวจากเดิม 17 รหัสเหลือ 7 รหัสเริ่มดำเนินการภายในเดือนกันยายนนี้

ปรับหลักเกณฑ์วีซาลองสเตย์

การปรับหลักเกณฑ์เงื่อนไขการรับตรวจลงตราประเภทอยู่ชั่วคราวพนักระยะยาวหรือ ลองสเตย์ สำหรับกลุ่มผู้สูงอายุที่ประสงค์ใช้ชีวิตบ้านปลายในไทยโดยจะเริ่ม ภายในเดือนก.ย.นี้เช่นกัน

การปรับหลักเกณฑ์ได้แก่ ปรับลดเงินประกันสุขภาพจากเดิม 3 ล้านบาท ให้เหลือ 40,000 บาทสำหรับผู้ป่วยนอกและ 400,000 บาทสำหรับผู้ป่วยใน และให้เพิ่มประเทกลุ่มเป้าหมายที่คนต่างด้าวสามารถขอวีซ่าพำนักระยะยาวในไทยจากเดิม 14 ประเทศ ได้แก่ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย เดนมาร์ก ฟินแลนด์ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี เนเธอร์แลนด์ นอร์เวย์สวีเดน แคนาดาสวิตเซอร์แลนด์ สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา

นอกจากนี้ จะขยายการเปิดให้บริการขอวีซ่าอิเล็กทรอนิกส์หรือ e-Visa ณ สถานเอกอัครราชทูตสถานกงสุลใหญ่ ซึ่งให้บริการอยู่ 47 แห่ง จากทั้งหมด 94 แห่งให้ครอบคลุมทุกแห่งทั่วโลกภายในธ.ค. 2567 ส่วนมาตรการระยะยาวเริ่มให้บริการ เดือนธ.ค. 2567 และ ใช้เต็มรูปแบบมิ.ย. 2568 เป็นการพัฒนาระบบ Electronic Travel Authorization (ETA) สำหรับกลุ่มคนต่างด้าวที่ได้รับสิทธิ์ยกเว้นวีซ่า เมื่อถึงสนามบินสามารถสแกน QR Code เพื่อใช้ช่อง Auto-gate ที่สนามบิน บุคคลที่ได้รับการยกเว้นได้แก่ผู้ถือหนังสือเดินทางทูต หนังสือเดินทางราชการ และหนังสือเดินทางของสหประชาชาติ รวมถึงผู้ใช้บอเดอร์พาร์ท ในการเดินทางเข้าไทยผ่านด่านพรมแดนทางบกและทางน้ำ

ทั้งนี้ ที่ผ่านมาประเทศไทยไม่ได้ปรับปรุงมาตรการและแนวทางการตรวจลงตรามาเป็นระยะเวลา 22 ปีแล้ว

โดยมาตรการยกเว้นวีซ่า โดยให้อยู่ในไทยได้ไม่เกิน 60 วันเป็นกรณีพิเศษรวมทั้งทั้งสิ้น 93 สัญชาติจะสูญเสียรายได้แผ่นดินประมาณ 12300 ล้านบาทต่อปี ส่วนมาตรการอำนวยความสะดวกแก่นักศึกษาต่างชาติทำให้รัฐสูญเสียรายได้แผ่นดิน 152 ล้านบาท อย่างไรก็ตามเป็นประโยชน์ต่อมิติเศรษฐกิจและการต่างประเทศต่างประเทศในภาพรวมมากกว่า

ทำเนียบรัฐบาล

ข่าวที่เกี่ยวข้อง : เริ่มแล้ว! ขยายเวลายกเว้น “วีซ่าฟรี”นักท่องเที่ยวอินเดีย-ไต้หวัน 6 เดือน