ครม. ไฟเขียวไทยสมัครสมาชิกของกลุ่ม BRICS

ชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ครม. มีมติให้ความเห็นชอบร่างหนังสือแสดงความประสงค์ของไทยในการเข้าร่วมเป็นสมาชิกของกลุ่ม BRICS
ชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ครม. มีมติให้ความเห็นชอบร่างหนังสือแสดงความประสงค์ของไทยในการเข้าร่วมเป็นสมาชิกของกลุ่ม BRICS


ครม. มีมติให้ความเห็นชอบร่างหนังสือแสดงความประสงค์ของไทย ในการเข้าร่วมเป็นสมาชิกของกลุ่ม BRICS

นายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า วันนี้ (28 พฤษภาคม 2567) ที่ประชุม ครม. มีมติให้ความเห็นชอบร่างหนังสือแสดงความประสงค์ของไทยในการเข้าร่วมเป็นสมาชิกของกลุ่ม BRICS ตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ

โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าวว่า กลุ่ม BRICS มีนโยบายขยายความร่วมมือกับประเทศที่ไม่ใช่สมาชิก

โดยมีแผนจะเชิญประเทศที่ไม่ใช่สมาชิกเข้าร่วมในกลไกของกลุ่มในการประชุมสุดยอดของกลุ่ม BRICS ครั้งที่ 16 ณ เมืองคาซาน รัฐรัสเซีย ระหว่างวันที่ 22-24 ตุลาคม 2567

การเข้าร่วมยกระดับบทบาทของไทยในเวทีโลก

ดังนั้นจึงเป็นโอกาสที่ไทยจะเร่งเดินหน้ากระบวนการเข้าร่วมเป็นสมาชิกกลุ่ม เพื่อ ยกระดับบทบาทของไทยในฐานะผู้มีบทบาทนำในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา และเพิ่มการมีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ

โดยในการประชุมสุดยอดกลุ่ม BRICS ครั้งที่ 15 ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบเอกสาร การขยายสมาชิกภาพของกลุ่ม BRICS หลักการชี้แนะ มาตรฐาน หลักเกณฑ์ และ กระบวนการขยายสมาชิก ซึ่งกำหนดกระบวนการสมัครเข้าเป็นสมาชิกกลุ่ม BRICS จำนวน 6 ขั้นตอน และมีหลักการแนวทางสำหรับการขยายสมาชิกภาพของกลุ่ม BRICS

วัตถุประสงค์ของกลุ่ม BRICS ในการเสริมสร้างความร่วมมือภายใต้ 3 เสา

  • (1) การเมืองและความมั่นคง
  • (2) เศรษฐกิจและการเงิน
  • (3) ความร่วมมือทางวัฒนธรรมและในระดับประชาชน การสนับสนุนการปฏิรูปสหประชาชาติอย่างรอบด้าน โดย มีเป้าหมาย เพื่อให้มีความเป็นประชาธิปไตย และ เพื่อ ให้ประเทศกำลังพัฒนา มีตัวแทนเพิ่มขึ้นในคณะมนตรีฯ มาตรฐานและหลักเกณฑ์ สำหรับการขยายสมาชิกภาพของกลุ่ม BRICS เช่น มีความสัมพันธ์ทางการทูต และความสัมพันธ์ฉันมิตร กับรัฐสมาชิกกลุ่ม BRICS ทั้งหมด ยอมรับถ้อยแถลงและปฏิญญาต่างๆ ของกลุ่ม BRICS เป็นต้น

นายชัยกล่าวว่า กต. ได้ดำเนินการยกร่างหนังสือแสดงความประสงค์ฯ โดยระบุวิสัยทัศน์ของไทยที่ให้ความสำคัญต่อระบบพหุภาคีนิยมและการเพิ่มบทบาทของประเทศกำลังพัฒนาในเวทีระหว่างประเทศ ซึ่งสอดคล้องกับหลักการของกลุ่ม BRICS

“การเข้าเป็นสมาชิกกลุ่ม BRICS จะเป็นประโยชน์ต่อไทยในหลายมิติ เช่น ยกระดับบทบาทของไทย ในเวทีระหว่างประเทศ เพิ่มบทบาทไทยในการกำหนดทิศทางนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ และ เพิ่มโอกาสให้ไทย ได้ร่วมสร้างระเบียบโลกใหม่” นายชัยกล่าว

ทำเนียบรัฐบาล

ข่าวที่เกี่ยวข้อง : รัฐบาลกระทุ้ง งบลงทุน 5แสนล้านบาท เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ

คําว่า BRIC เป็นอักษรย่อใช้เรียกกลุ่มประเทศกําลังพัฒนา ที่มีการพัฒนา และการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว (Emerging Market) ประกอบด้วยประเทศ บราซิล (Brazil) รัสเซีย (Russia) อินเดีย (India) และจีน (China) โดยคําศัพท์นี้ถูกบัญญัติขึ้นโดย นายจิม โอนีลล์ (Mr. Jim O’Neil) หัวหน้าทีมวิจัยเศรษฐกิจโลกจากโกลด์แมน แซคส์ (Goldman Sachs)

ซึ่งคําว่า BRIC ใช้เป็นสัญลักษณ์แสดงถึงการ ย้ายอํานาจเศรษฐกิจโลกจากกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วอย่าง G7มาสู่กลุ่มประเทศกําลังพัฒนา โดยที่ประเทศทั้งสี่ข้างต้นมีพื้นที่รวมกันมากกว่าหนึ่งในสี่ของโลก และมีจํานวนประชากรรวมกันมากกว่าร้อยละ 43 ของประชากรโลก มีสัดส่วนใน GDP โลกประมาณ หนึ่งในสี่ของทั้งหมด หรือคิดเป็นประมาณ 13.7 แสนล้าน ดอลล่าร์สหรัฐ และ มีเงินทุนสำรองระหว่างประเทศรวมกันถึง 4.4 แสนล้านดอลล่าร์สหรัฐ และในปี 2555 กลุ่มประเทศ BRICS มีสัดส่วน ในการลงทุนโดยตรงในต่างประเทศ (FDI) คิดร้อยละ 11 ของโลก และ มีสัดส่วนในการค้าโลกถึงร้อยละ 17

แม้ว่ากลุ่ม BRICS ไม่ได้มีแนวทางที่ชัดเจนที่จะรวมกลุ่มกันจัดตั้งกลุ่มเศรษฐกิจหรือสมาคมการค้าอย่างเป็นทางการเหมือนสหภาพยุโรป (EU) แต่มีข้อบ่งชี้บางอย่างว่ากลุ่ม BRIC พยายามที่จะสร้างสมาคมหรือพันธมิตรทาง การเมือง รวมถึงเปลี่ยนอํานาจทางเศรษฐกิจ ที่กําลังเติบโตให้เป็นอํานาจการเมืองระดับภูมิภาค ซึ่งปัจจุบัน ประเทศแอฟริกาใต้ก็ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกของกลุ่ม BRIC อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2553 โดยเปลี่ยนชื่อกลุ่มใหม่ เป็น BRICS ซึ่งอักษรย่อ “S” ที่เพิ่มต่อท้ายเข้ามาหมายถึง South Africa หรือ ประเทศแอฟริกาใต้