booking.com เปิดข้อมูล 3 ปมร้อนคนไทย เที่ยว ยั่งยืนปี’67

การท่อง เที่ยว แห่งประเทศไทย (ททท.) เป็นองค์กรหลักนำทีมขับเคลื่อนการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนอย่างต่อเนื่อง โดยนำร่องทำโครงการ STGs : Sustainable Tourism Goals
การท่อง เที่ยว แห่งประเทศไทย (ททท.) เป็นองค์กรหลักนำทีมขับเคลื่อนการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนอย่างต่อเนื่อง โดยนำร่องทำโครงการ STGs : Sustainable Tourism Goals

Booking.com เปิดข้อมูลลึกปี’67 “คนไทยกับท่อง เที่ยว ยั่งยืน” 3 หัวข้อดัชนี “สำนึกรับผิดชอบ” พุ่งสูง “อนาคต 12 เดือนหน้า” มีความท้าทาย เรื่องคนเบื่อหน่ายรับรู้โลกร้อน สภาพอากาศเปลี่ยน ขณะที่ “ความหวังยังสดใส” 80% นักเดินทาง ท่อง เที่ยว ยืนยันจะลองบิ๊กเชนจ์

Booking.com เปิดเผยว่า ได้จัดทำข้อมูลการเดินทางอย่างยั่งยืนเชิงลึกประจำปี 2567 จาก 34 ประเทศ กว่า 31,000 คน โดยสะท้อนถึงทัศนคติ ปัจจัยที่มีอิทธิพลของผู้คนทั่วโลกและนักท่องเที่ยวคนไทย ถึงความต้องการออกเดินทางอย่างยั่งยืน และตระหนักเรื่องที่ยังจะต้องเผชิญความท้าทายต่อเนื่องทั้งความมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และชุมชนท้องถิ่น โดยเฉพาะพฤติกรรมการเดินทางของ “นักท่องเที่ยวคนไทย” ใน 3 หัวข้อเด่น ๆ ที่น่าสนใจดังนี้

มาตรการส่งเสริมการท่องเที่ยวยั่งยืนของไทยตามแนวทางขององค์การสหประชาชาติในมิติความยั่งยืนที่มีผลต่อสังคมและเศรษฐกิจ
มาตรการส่งเสริมการท่องเที่ยวยั่งยืนของไทยตามแนวทางขององค์การสหประชาชาติในมิติความยั่งยืนที่มีผลต่อสังคมและเศรษฐกิจ

หัวข้อที่ 1 -นักเดินทางย้ำความรับผิดชอบ-ยั่งยืนต้องมาคู่กัน

นักเดินทางคนไทยสะท้อนความรู้สึกถึงเดินทางอย่างยั่งยืนไม่ใช่ “ความรับผิดชอบ” ของพวกตนเองเพียงฝ่ายเดียว แต่ต้องได้รับการสนับสนุนจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง จึงจะทำให้เห็นบทบาทและการมีส่วนร่วมแก้ไขผลกระทบได้ดีมากขึ้น ตามความเห็นของคนไทย ระบุเหตุปัจจัยชัดเจน 6 ส่วน คือ

  • ส่วนที่ 1 คนไทย 84 %ระบุต้องการทำให้จุดหมายปลายทางที่ไปเยือนดีขึ้นกว่าเดิมหลังจากที่เดินทางกลับมาแล้ว เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมามีเพียง 81%
  • ส่วนที่ 2 คนไทย 50% คิดว่าตัวเองมีศักยภาพช่วยแก้ไขผลกระทบกับการท่องเที่ยวที่มีต่อสังคม และชุมชนท้องถิ่นที่พวกเขาเดินทางไปเยือนได้
  • ส่วนที่ 3 คนไทย 39% มองว่ารัฐบาลมีบทบาทและศักยภาพมากสุดในการแก้ไขผลกระทบเชิงเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว อีก 46% เชื่อว่าผู้ให้บริการด้านการเดินทางเป็นฟันเฟืองและกุญแจสำคัญในการแก้ไขปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม และ 42% ยืนยันรัฐบาลมีหน้าที่ให้ความรู้ประชาชนเกี่ยวกับผลกระทบของการเดินทางและท่องเที่ยว
  • ส่วนที่ 4 คนไทยระบุที่พักที่ได้รับการรับรองควรมีแนวทางดำเนินธุรกิจเพื่อความยั่งยืน ซึ่งสามารถดึงดูดไทยได้ถึง 63% ผนวกกับต้องตรวจสอบมาตรฐานความยั่งยืนอย่างสม่ำเสมอ ถือเป็นปัจจัยสำคัญอีกอย่างด้วย
  • ส่วนที่ 5 คนไทย 78% เห็นพ้องกันเรื่องเว็บไซต์จองที่พักและการเดินทางทั้งหมด ควรมอบป้ายสัญลักษณ์รับรองที่พักให้มีแนวปฏิบัติด้านความยั่งยืนด้วยมาตรฐานเดียวกัน

โดยนักเดินทางคนไทย 56 % ลดลงจากปีก่อนถึง 20 % เรื่องความสนใจเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับเหตุผลเรื่องที่พักต่าง ๆ จำเป็นต้องได้การรับรองให้เป็นที่พักรักษ์โลกหรือมีแนวปฏิบัติด้านความยั่งยืน สะท้อนถึงความต้องการสื่อสารเรียบง่าย ชัดเจน ช่วยให้ตัดสินใจได้ง่ายโดยไม่คำนึงถึงลำดับความสำคัญในประเด็นอื่น ๆ

หัวข้อที่ 2  –การเดินทางอย่างยั่งยืนบนความท้าทาย

Book.com เสนอรายงานการเดินทางอย่างยั่งยืนปี 2567 มีข้อมูลระบุถึงการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนกับความท้าทายว่า คนไทยถึง 94% ยืนยันการเดินทางอย่างยั่งยืนยังคงมีความสำคัญที่ต้องใส่ใจ ส่วนอีก 30% ตอบว่าไม่ใช่สิ่งที่ต้องพิจารณาเป็นอันดับแรกในการวางแผนหรือจองทริปการเดินทาง อีก 46% รู้สึกเบื่อหน่ายกับการรับรู้เรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสภาวะโลกร้อนอยู่ตลอดเวลา

ดังนั้นการร่วมมือระหว่างผู้ประกอบการและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวจึงมีความสำคัญกว่าเดิม จึงจะทำให้การขับเคลื่อนอุตสาหกรรมท่องเที่ยวให้ยั่งยืน ก้าวไปข้างหน้าได้

คนไทย 85% มองอนาคตอีก 12 เดือนหน้า ยังต้องการเดินทางอย่างยั่งยืนมากขึ้น คงมีประมาณ 58% จะรู้สึกผิดเมื่อตัดสินใจเลือกการเดินทางที่ยั่งยืนน้อยกว่านี้ ส่วน “แรงจูงใจ” มีคนไทยเลือกเดินทางอย่างยั่งยืนมากขึ้น 18 %  แล้วมองถึง “ผลความเสียต่อสิ่งแวดล้อม” 57% รู้สึกว่าความเสียหายที่เกิดขึ้นไปแล้วไม่อาจทำให้กลับคืนมาได้ และการตัดสินใจเลือกการเดินทางของพวกเขาไม่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด

โดยมีคนไทย 46% ให้ความสำคัญอันดับแรกกับเรื่องช่วงเวลาที่ได้ไปท่องเที่ยวมีค่ามากกว่าจะให้ความสำคัญกับการเดินทางอย่างยั่งยืน แล้วก็มีอีกเกินกว่าครึ่งหรือ 56% เชื่อว่าแม้จะเลือกเดินทางอย่างยั่งยืน แต่หากจุดหมายปลายทางหรือสถานที่ต่าง ๆ ที่ไปเยือนไม่ได้นำแนวทางความยั่งยืนไปปฏิบัติอย่างจริงจัง ก็จะไร้ประโยชน์นั่นเอง

หัวข้อที่ 3 –ความหวังอันสดใสในการเดินทางอย่างยั่งยืน

ปัจจุบันนี้เกิดความกังวลเพิ่มขึ้นจากหลายฝ่ายถึงผู้เดินทางตระหนักเรื่องสิ่งแวดล้อมและผลกระทบต่อสังคม ของคนไทยที่จะหันมาเดินทางเพื่อความยั่งยืนช่วยเพิ่มคุณค่ามากขึ้นหรือไม่นั้น พบว่า

คนไทย 79% ยอมรับความเป็นตัวเองในแบบดีที่สุดเมื่อได้เดินทางอย่างยั่งยืนมากขึ้น จึงส่งผลให้ตื่นตัวนำแนวทางเหล่านี้มาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันด้วย

นักท่องเที่ยวบางส่วนตื่นตัวเลือกปั่นจักรยานระหว่างการเดินทางท่องเที่ยวในพื้นที่ชุมชนเพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการลดคาร์บอนไดออกไซด์
นักท่องเที่ยวบางส่วนตื่นตัวเลือกปั่นจักรยานระหว่างการเดินทางท่องเที่ยวในพื้นที่ชุมชนเพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการลดคาร์บอนไดออกไซด์

คนไทย 80% ได้พบเห็นและเรียนรู้แนวทางปฏิบัติที่ยั่งยืนระหว่างการเดินทาง จึงจุดประกายให้มีแนวโน้มจะนำมาใช้ในชีวิตประจำวันมากขึ้น เกี่ยวกับการปฏิบัติเพื่อความยั่งยืนที่นำมาปรับใช้ในการเดินทาง นั่นคือ 96% เลือกเข้าร่วมทัวร์หรือกิจกรรมผ่านประสบการณ์ด้านวัฒนธรรมท้องถิ่น วิถีชุมชนที่แท้จริง อีก 97% เลือกซื้อสินค้าจากร้านค้าขนาดเล็กหรือร้านค้าอิสระ และ 95% วางแผนเดินทางด้วยวิธีปั่นจักรยาน หรือใช้ระบบขนส่งสาธารณะได้

Danielle D’Silva หัวหน้าฝ่ายความยั่งยืน หรือ Head of Sustainability ของ Booking.com กล่าวว่าปัจจุบันสิ่งที่สำคัญเรื่องการเดินทางอย่างยั่งยืน คือทำให้ผู้เดินทางมั่นใจอยู่เสมอถึงทางเลือกที่ชัดเจน ไม่ใช่เฉพาะเป็นเพียงแค่ตัวเลือกที่เข้าถึงและเลือกสรรได้อย่างง่ายดาย แต่ต้องเข้าใจง่ายและน่าเชื่อถือด้วย จึงเชื่อเรื่องการให้ข้อมูลความรู้ การแสดงและตรวจสอบมาตรฐานด้านความยั่งยืนอย่างชัดเจนสม่ำเสมอ การรับรองที่เชื่อถือได้จากคู่ค้าในอุตสาหกรรมถึงแนวทางปฏิบัติเพื่อความยั่งยืนที่ถูกต้องจะเป็นประโยชน์ต่อผู้เดินทางอย่างแท้จริง

ถึงแม้นักเดินทางจะส่งสัญญาณเบื่อหน่ายกับความยั่งยืนจนสร้างความกังวล แต่ก็เป็นเครื่องเตือนให้ทุกฝ่ายจำเป็นจะต้องเดินหน้าสู่เป้าหมายสูงสุด ที่จะร่วมมือกันสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสิ่งแวดล้อม ชุมชนท้องถิ่น และจุดหมายปลายทางต่าง ๆ ทั่วโลก เพื่อกระตุ้นหรือปลุกจิตสำนึกผู้เดินทางตื่นตัวร่วมกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในแวดวงการเดินทาง เดินหน้าสร้างความยั่งยืนให้เกิดขึ้นได้อย่างแท้จริงต่อไป

-เรื่องโดย #เพ็ญรุ่งใยสามเสน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง : booking.com เผยผลสำรวจการเดินทางของ LGBTQ+ “มั่นใจพร้อมที่จะออกเดินทางท่องเที่ยวมากยิ่งขึ้น”