CEO บางจาก แนะไทยเก็บภาษีคาร์บอน -อาเซียน ชูมาตรฐานใหม่

ธนาคารกสิกรไทย เปิดเวทีให้ผู้นำภาครัฐ เอกชน ขึ้นเวทีเสวนา “Carbon Tax–The Critical Path for Thailand Decarbonization การออกแบบภาษีคาร์บอนของไทย" ร่วมแบ่งปันแนวคิดเพื่อเป็นแนวทางให้ไทยก้าวสู่การลดคาร์บอนเป็นศูนย์ในอนาคต
ธนาคารกสิกรไทย เปิดเวทีให้ผู้นำภาครัฐ เอกชน ขึ้นเวทีเสวนา “Carbon Tax–The Critical Path for Thailand Decarbonization การออกแบบภาษีคาร์บอนของไทย" ร่วมแบ่งปันแนวคิดเพื่อเป็นแนวทางให้ไทยก้าวสู่การลดคาร์บอนเป็นศูนย์ในอนาคต

ผู้นำกลุ่ม CEO บางจาก แชร์ไอเดียไทย “เก็บภาษีคาร์บอน ” ก้าวสู่ Net Zero เต็มรูปแบบ CEO บางจาก แนะ “อาเซียน” ผนึกทำ 2 เรื่องสร้างมาตรฐาน คาร์บอนเครดิตระดับภูมิภาค นำสู่ตลาดสากล กับพัฒนาระบบการซื้อขายให้ชัดเจน

นายชัยวัฒน์ โควาวิสารัช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัทบางจากและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) นำเสนอไอเดียไทยจัดเก็บภาษีคาร์บอนและอาเซียนร่วมพัฒนามาตรฐานกับระบบซื้อขายให้ชัดเจน
นายชัยวัฒน์ โควาวิสารัช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัทบางจากและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) นำเสนอไอเดียไทยจัดเก็บภาษี คาร์บอน และอาเซียนร่วมพัฒนามาตรฐานกับระบบซื้อขายให้ชัดเจน

นายชัยวัฒน์ โควาวิสารัช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัทบางจากและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ได้สะท้อนแนวคิดเรื่องการออกแบบจัดเก็บภาษีคาร์บอนของไทยที่กำลังก้าวสู่เป้าหมายคาร์บอนเป็นศูนย์ หรือ Net Zero โดยได้แสดงความเห็นในเวทีเสวนาหัวข้อ “Carbon Tax–The Critical Path for Thailand Decarbonization การออกแบบภาษีคาร์บอนของไทย” ด้วยการแบ่งปันมุมมองของเอกชนถึงประเด็นดังกล่าว  

ซึ่งการใช้มาตรการภาษีคาร์บอนในอนาคตจะก่อให้เกิดต้นทุนเพิ่มขึ้น ดังนั้นจึงแนะนำให้ภาคการผลิตต่าง ๆ ควรทำเบื้องต้น 2 เรื่อง ได้แก่ เรื่องที่ 1 เร่งปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตและการบริหารจัดการ ด้วยการหันมาใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมสีเขียวลดการปล่อยคาร์บอนลงให้ได้มากที่สุด เรื่องที่ 2 เสนอแนวทางนำภาษีคาร์บอนที่จัดเก็บได้ไปใช้เป็นเงินทุนเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีที่จะช่วยให้ไปสู่เป้าหมายคาร์บอนเป็นศูนย์ตามกรอบเวลาที่ตั้งไว้ 

นายชัยวัฒน์ยืนยันว่า มีมุมมองภาพใหญ่ของประเทศไทยน่าจะใช้ระบบการกำหนดเพดานปล่อยก๊าซเรือนกระจกหรือ ETS : Emission Trading Scheme กับภาษีคาร์บอนควบคู่กันไป โดยปล่อยให้กลไกตลาดทำหน้าที่สะท้อนราคาคาร์บอนอย่างแท้จริง 

โดยเฉพาะกลุ่มประเทศในอาเซียนควรเร่งทำอย่างเป็นรูปธรรม 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 หันมาร่วมมือกันพัฒนา และผลักดันการกำหนดมาตรฐานคาร์บอนเครดิตร่วมกันในระดับภูมิภาค เพื่อผลักดันมาตรฐานกลางให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากลต่อไป ซึ่งจะเป็นประโยชน์เรื่องเพิ่มอำนาจต่อรองกรณีที่จะถูกใช้เป็นมาตรการกีดกันทางการค้าด้านสิ่งแวดล้อม เช่น มาตรการปรับคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดน ของสหภาพยุโรป (CBAM) เรื่องที่  2 อาเซียนควรพัฒนาตลาดซื้อขายคาร์บอนเครดิต และ นำกลไกด้านเงินทุน เช่น กองทุนของตลาดหลักทรัพย์มาสนับสนุนให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดกับธุรกิจที่มุ่งมั่นเข้าสู่เป้าหมายคาร์บอนเป็นศูนย์ทั้งปัจจุบันและอนาคต

ทั้งนี้ นายชัยวัฒน์ ซีอีโอกลุ่มบริษัทบางจาก ได้แชร์แนวคิดการจัดเก็บภาษีคาร์บอนของไทย ระหว่างร่วมเสวนาในงาน EARTH JUMP 2024 THE EDGE OF ACTION ซึ่งทางธนาคารกสิกรไทย จัดขึ้นที่เมื่อเร็ว ๆ นี้ ที่อาคารศูนย์การค้าสามย่านมิตรทาวน์ โดยมีนักวิชาการ พร้อมผู้บริหารภาครัฐ เอกชน ชั้นนำของเมืองไทย ร่วมวงแลกเปลี่ยนแนวคิดด้วย ได้แก่ ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย ดร. เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพสามิต ดร.ชนะ ภูมี ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ การบริหารความยั่งยืน บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน)  

-เรื่องโดย #เพ็ญรุ่งใยสามเสน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง : อาร์เอส ผนึก บางจาก ตั้งเป้าปูพรมร้าน PET ALL MY LOVE 50 สาขา

บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กลุ่มธุรกิจผู้นำการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน ดำเนินงานใน 5 ธุรกิจหลักคือ 1) กลุ่มธุรกิจโรงกลั่นและการค้าน้ำมัน 2) กลุ่มธุรกิจการตลาด 3) กลุ่มธุรกิจพลังงานไฟฟ้า ผ่านการดำเนินธุรกิจผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนของ บมจ. บีซีพีจี

4) กลุ่มธุรกิจผลิตภัณฑ์ชีวภาพ ดำเนินการภายใต้ บมจ. บีบีจีไอ 5) กลุ่มธุรกิจทรัพยากรธรรมชาติและธุรกิจใหม่ ลงทุนในธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียมและมีสถาบันนวัตกรรมและบ่มเพาะธุรกิจ (BiiC) เป็นผู้ลงทุน Corporate Venture Capital เน้นการลงทุนในธุรกิจใหม่ๆ ทั้งในและต่างประเทศ พร้อมทั้งช่วยสร้างระบบนิเวศน์สำหรับนวัตกรรมสีเขียว ส่งเสริมและผลักดันนวัตกรรมที่สนับสนุนการพัฒนาพลังงานสีเขียวและผลิตภัณฑ์ชีวภาพ

บางจากได้ดำเนินกิจการหลักด้วยการประกอบด้วย ธุรกิจโรงกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม ธุรกิจตลาด ธุรกิจผลิตภัณฑ์ชีวภาพ รวมถึงได้ขยายกิจการสู่ธุรกิจผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ที่เป็นพลังงานสะอาดจากธรรมชาติ ธุรกิจสำรวจและผลิตน้ำมันปิโตรเลียม และธุรกิจเกี่ยวเนื่องด้านนวัตกรรม

กลุ่มธุรกิจโรงกลั่นและการค้าน้ำมัน

โรงกลั่นน้ำมันแบบ Complex Refinery มาตรฐานระดับโลก 2 แห่ง คือโรงกลั่นน้ำมันบางจาก พระโขนงและโรงกลั่นน้ำมันบางจาก ศรีราชา จังหวัดชลบุรี โดยมีกำลังการผลิตรวมเกือบ 300,000 บาร์เรลต่อวัน สามารถผลิตน้ำมันกลุ่มเบนซินและดีเซลซึ่งเป็นน้ำมันที่มีมูลค่าสูงได้เป็นส่วนใหญ่ ผลิตภัณฑ์น้ำมันแก๊สโซฮอล์และน้ำมันดีเซลจากโรงกลั่นน้ำมันบางจากเป็นน้ำมันที่ได้คุณภาพตามข้อกำหนดมาตรฐานยูโร 4 ของภาครัฐ [3] มุ่งเน้นที่จะเพิ่มประสิทธิภาพด้านพลังงานในกระบวนการผลิต และเพิ่มศักยภาพในการผลิตเพิ่มเติมเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดและส่งเสริมกับธุรกิจที่เป็นช่องทางการจัดจำหน่ายของบริษัทฯ

กลุ่มธุรกิจการตลาด

จัดจำหน่ายผ่านช่องทางไปยังภาคอุตสาหกรรม และค้าปลีกน้ำมันผ่านเครือข่ายสถานีบริการกว่า 2,200 แห่ง เสริมด้วยธุรกิจ non-oil เช่น กาแฟอินทนิล น้ำมันหล่อลื่น Furio EV Charger รวมทั้งความร่วมมือกับพันธมิตรด้านอาหาร

บริษัทฯ ลงทุนธุรกิจพลังงานไฟฟ้าสีเขียวผ่านการดำเนินการของบริษัท บีซีพีจี จำกัด (มหาชน) ซึ่งดำเนินการผลิตไฟฟ้าทั้งในและนอกประเทศผ่านพลังงานแสงอาทิตย์ น้ำและลม

บริษัทฯ ดำเนินธุรกิจผลิตภัณฑ์ชีวภาพ เช่น ธุรกิจเอทานอลและธุรกิจไบโอดีเซล ผ่านบริษัท บีบีจีไอ จำกัด(มหาชน) ซึ่งประกอบธุรกิจผลิตและจำหน่ายเชื้อเพลิงชีวภาพที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย โดยมีเป้าหมายเป็นผู้นำด้านผลิตภัณฑ์ชีวภาพมูลค่าสูงและธุรกิจเกี่ยวกับเทคโนโลยีชีวภาพ

ภาษีคาร์บอน (อังกฤษ: carbon tax) เป็นภาษีสิ่งแวดล้อมที่จัดเก็บเนื่องจากคาร์บอนที่เป็นส่วนประกอบของเชื้อเพลิง[1] อะตอมของคาร์บอนจะประกอบอยู่ในเชื้อเพลิงฟอสซิล (ถ่านหิน ปิโตรเลียม และก๊าซธรรมชาติ) และเมื่อถูกเผาไหม้จะปล่อยออกมาในรูปแบบของคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) เปรียบต่างกับพลังงานในรูปแบบอื่นเช่น พลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานน้ำ และ พลังงานนิวเคลียร์ ที่ไม่ได้เปลี่ยนไฮโดรคาร์บอนกลายมาเป็นคาร์บอนไดออกไซด์