บางจากฯ พร้อมรับซื้อ ไบโอดีเซล (B100)

บริษัท บางจาก เปิดเผยว่า พร้อมรับซื้อ ไบโอดีเซล (B100) ตามนโยบายรัฐบาล
บริษัท บางจาก เปิดเผยว่า พร้อมรับซื้อ ไบโอดีเซล (B100) ตามนโยบายรัฐบาล

บางจากฯ พร้อมรับซื้อน้ำมัน ไบโอดีเซล B100 ตามราคากลาง ร่วมแก้ไขปัญหาราคาปาล์มตามนโยบายรัฐบาล

ชัยวัฒน์ โควาวิสารัช
ชัยวัฒน์ โควาวิสารัช

นายชัยวัฒน์ โควาวิสารัช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัทบางจากและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ตามที่กรมการค้าภายใน ได้มีแนวทางแก้ไขปัญหาราคาผลปาล์มน้ำมันจากสถานการณ์ปัญหาราคาผลปาล์มน้ำมันปรับลดลงต่อเนื่อง โดยได้ปรับราคารับซื้อผลปาล์มน้ำมันสูงขึ้นนั้น บางจากฯ พร้อมรับซื้อน้ำมันไบโอดีเซล (B100) ผ่านบริษัท บีบีจีไอ จำกัด (มหาชน) บริษัทในกลุ่มบริษัทบางจาก ผู้ผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพรายใหญ่ของประเทศ

บีบีจีไอจะรับซื้อน้ำมันปาล์มดิบจากโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มตามราคากลางที่กรมการค้าภายในกำหนด ให้สอดคล้องกับราคาผลปาล์มน้ำมัน เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรและส่งเสริมการใช้พลังงานสะอาดที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

บางจากฯ ซื้อ B100 1.3 ล้านลิตรต่อวัน

ปัจจุบัน บางจากฯ ซื้อน้ำมันไบโอดีเซลประมาณ 1.3 ล้านลิตรต่อวันจากบีบีจีไอ ซึ่งมีกำลังการผลิต 1 ล้านลิตรต่อวัน นำมาเป็นวัตถุดิบ ในการผลิตผลิตภัณฑ์คุณภาพสูง ในโรงกลั่นน้ำมัน มาตรฐานระดับโลกทั้ง 2 แห่ง คือ โรงกลั่นพระโขนง และ โรงกลั่นศรีราชา

บางจากฯ ได้เริ่มผลิตและนำร่องการใช้ไบโอดีเซลตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 โดยใช้น้ำมันปาล์มดิบ เป็นวัตถุดิบหลัก เป็นการน้อมนำแนวพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในการส่งเสริม การใช้เชื้อเพลิงชีวภาพ เสริมสร้างการพึ่งพาตนเอง ทางพลังงานของประเทศมาใช้ ไม่เพียง เป็นการสร้างพลังงานทางเลือกให้กับประเทศ แต่ยังเป็นการช่วยสนับสนุนการใช้น้ำมันปาล์ม จากภาคการเกษตร ซึ่งมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยเป็นอย่างมาก

ข่าวที่เกี่ยวข้อง : CEO บางจาก แนะไทยเก็บภาษีคาร์บอน -อาเซียน ชูมาตรฐานใหม่

ข้อมูลเพิ่มเติม ขอบคุณแหล่งที่มา : ไบโอดีเซล (Biodiesel)หรือ Fatty acid methyl ester (FAME) คือ น้ำมันที่ผลิตมาจากพืช ซึ่งถือเป็น “เชื้อเพลิงทางเลือก” ที่ผลิตได้จากชีวภาพ เช่น ปาล์ม ทานตะวัน ถั่วเหลือง สบู่ดำ มะพร้าว

หรือ ผลิตมากจากไขมันสัตว์ หรือน้ำมัน ที่ผ่านการใช้งานแล้วซึ่งเป็นสารจำพวกไตรกลีเซอไรด์ ก็สามารถ นำมาผลิตไบโอดีเซลได้ โดย นำมาผ่านกระบวนการทางเคมี

เริ่มจากขั้นตอนแรก คือ การนำน้ำมันพืชบริสุทธิ์ มาผ่านกระบวนการทางเคมี ที่เรียกว่าปฏิกิริยาทรานส์เอสเทอริฟิเคชั่น (Transesterification) ด้วยการเติมสารตระกูลแอลกอฮอล์ เช่น เมทานอล (Methanol) และสารเร่งปฏิกิริยา จะได้เป็นไบโอดีเซล และ กลีเซอรอล จากนั้นขั้นตอนสุดท้ายให้ทำการแยกกลีเซอรอลออก ก็จะได้ไบโอดีเซลให้บริสุทธิ์ที่สามารถนำไปใช้งานได้

ในปัจจุบัน น้ำมันที่ใช้กันอยู่ อย่างน้ำมันดีเซล เกิดจากการทับถม ของซากพืชซากสัตว์ เป็นเวลาหลายล้านปี หรือ ที่เรียกกันว่าเชื้อเพลิงฟอสซิล (Fossil Fuel) ที่ใช้แล้วหมดไป ไม่สามารถทดแทน หรือหมุนเวียนได้ ซึ่ง ต่างจากไบโอดีเซลที่ผลิตมาจากพืช

เช่น ปาล์ม ทานตะวัน ถั่วเหลือง เรพซีด (Rapeseed) ​และ เมื่อได้ผลิตภัณฑ์ไบโอดีเซลออกมา ก็ได้มีการใช้งานไบโอดีเซลโดยเริ่มในปี พ.ศ. 2551 ที่มีชื่อว่าน้ำมัน B2 ด้วยการผสมไบโอดีเซลลงในน้ำมันดีเซล

หรือนั่นก็คือใน 100 % ของน้ำมัน B2 จะมี 2% Biodiesel, 98% Petrodiesel และพัฒนามาเรื่อย ๆ จนมาถึง B10 หรือ 10% Biodiesel และ 90% Petrodiesel ในปัจจุบัน

สาเหตุที่ประเทศไทย มีการใช้มาตรฐานทั้ง ASTM และ EN

เนื่องจากภูมิประเทศ และภูมิอากาศที่แตกต่างกัน ทำให้แต่ละพื้นที่ มีพืชเศรษฐกิจที่ใช้ผลิตไบโอดีเซล แตกต่างกัน จึงส่งผลให้คุณสมบัติของไบโอดีเซลที่ได้ มีความแตกต่างกัน ทำให้การตรวจสอบในแต่ละด้าน ต้องเลือกใช้มาตรฐานให้เหมาะสม เช่น มาตรฐาน ASTM D6751 ใช้กับไบโอดีเซล ที่ผลิตจากถั่วเหลือง หรือ มาตรฐาน EN 14214 ใช้กับไบโอดีเซล ที่ผลิตจากน้ำมันคาโนลา