“มนพร” ดัน สบพ.เร่งผลิต นักบิน รับ “ศูนย์กลางการบินภูมิภาค”

มนพร นักบิน ศูนย์กลางการบินภูมิภาค
นางมนพร เจริญศรี รมช.คมนาคม ให้นโยบายกับ สถาบันการบินพลเรือน (สบพ.)


มนพร เจริญศรี มอบนโยบาย สบพ. พัฒนา-สร้างบุคลากรการบิน รองรับการขยายตัวอุตสาหกรรมการบินในประเทศไทยให้เป็น ศูนย์กลางการบินภูมิภาค ปรับปรุงศูนย์ฝึกการบินหัวหิน รับ นักบิน กลับมาฝึกบิน มองไกลการบินไทยซื้อเครื่องบินเพิ่ม จะส่งนักบินมาฝึกอีกนับพัน

นางมนพร เจริญศรี รมช.คมนาคม เปิดเผยว่า ได้ให้นโยบายกับ สถาบันการบินพลเรือน (สบพ.) ซึ่งเป็นหน่วยงานหลัก ในการผลิต บุคลากร ต้นแบบ ด้านการบิน พัฒนาองค์กร และ สร้างบุคลากร ด้านการบิน

มนพร จี้ ผลิต นักบิน รองรับดันไทยสู่ ศูนย์กลางการบินภูมิภาค

ให้พร้อม รองรับ การขยายตัว ของอุตสาหกรรมการบิน ในประเทศไทย และการเป็น ศูนย์กลางการบินของภูมิภาค (Aviation Hub) ตามนโยบาย ของรัฐบาล รวมถึง ให้ สบพ. เร่งดำเนินการ พัฒนาศูนย์ฝึกการบิน หัวหิน

เพื่อเตรียม ความพร้อม ทั้งในด้าน อาคารสถานที่ หลักสูตร อากาศยาน ที่ใช้ฝึกบิน เครื่องช่วยฝึกบิน และการเตรียม บุคลากรครูการบิน เนื่องจาก หลังอุตสาหกรรมการบิน กลับมาโต พบว่า มีปริมาณ นักบิน ที่จะเข้ามา ศึกษา จำนวนมาก

โดยได้ ของบประมาณ สนับสนุน จากรัฐบาล ในปี 2568 เพื่อพัฒนา ปรับปรุงศูนย์ฝึก กว่า 414 ล้านบาท ในเฟสแรก ซึ่งจะดำเนินการ ก่อสร้าง ในปี2568-2570 เพื่อพร้อม เปิดบริการ เต็มรูปแบบ ในปี 2571

ขณะเดียวกัน ได้เน้นย้ำ สบพ. ให้ความสำคัญ กับการฝึก อบรม หลักสูตร ด้านความปลอดภัย (Safety Management) ซึ่งเป็นหัวใจ ของการบิน และ หลักสูตร ด้านการบิน ที่เป็นมิตร กับสิ่งแวดล้อม

มนพร นักบิน ศูนย์กลางการบินภูมิภาค
นางมนพร เจริญศรี รมช.คมนาคม ให้นโยบายกับ สถาบันการบินพลเรือน (สบพ.)

ทำการตลาดเชิงรุก เพื่อเพิ่มรายได้ ให้กับ สบพ.

เช่น เชื้อเพลิงอากาศยานยั่งยืน (Sustainable Aviation Fuel : SAF) ยึดมั่น ในหลักการ สำคัญ

คือ “คุณภาพ” บุคลากรด้านการบิน ให้ตรงตาม ความต้องการ ของตลาด ทางด้าน อุตสาหกรรมการบิน ในทักษะ ที่สำคัญ ต่อการ ปฏิบัติงาน ด้านการบิน ที่ได้มาตรฐาน

โดยปรับใช้ เทคโนโลยี ดิจิทัล ในการสนับสนุน การจัด การเรียนการสอน การฝึกอบรม การให้บริการ

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลักสูตร ที่เกี่ยวข้อง กับอากาศยาน ซึ่งไม่มีนักบิน (Drone) เร่งเสริมสร้าง ภาพลักษณ์ การประชาสัมพันธ์ ที่โดดเด่น เร่งการ ทำการตลาดเชิงรุก เพื่อเพิ่มรายได้ ให้กับ สบพ.

นางสาว ภัคณัฎฐ์ มากช่วย ผู้ว่าการ สถาบันการบินพลเรือน(สบพ.) กล่าวว่า ในฐานะ ที่เป็น หน่วยงาน ที่ผลิต บุคลากร ด้านการบิน ของประเทศ กระทรวงคมนาคมได้ จัดสรรงบประมาณ ในปี 2568 จำนวน 414 ล้านบาท

ปรับปรุง ศูนย์ฝึก การบินที่หัวหิน ผลิต นักบิน ป้อนการบินไทย

เพื่อให้ สบพ.ปรับปรุง ศูนย์ฝึก การบินที่หัวหิน เนื่องจาก ภายหลัง ที่อุตสาหกรรมการบิน กลับมาโต

ทำให้ หลายสายการบิน ได้หันกลับมา ส่งนักบิน ฝึกบิน ที่สถาบันการบินพลเรือน ซึ่งศักยภาพ ของสบพ. สามารถ รองรับ นักบินเข้ามาฝึก กว่า 150 คน ต่อปี

ในขณะที่ การเรียน ที่เกี่ยวเนื่อง กับการบิน ทั้งหมด สบพ. สามารถ รับนักเรียน เข้ามาศึกษา กว่าปีละ 650 คน และทุกสาขา ทุกชั้นปี

รวมแล้ว 3,200คน และ รองรับนักเรียน ที่จะเข้ามาศึกษา ที่ สบพ.ได้กว่า 5,000 คน

อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่า ช่วงโควิด แพร่ระบาด และหยุดบิน เกือบทั่วโลก ทำให้ สบพ. ประสบปัญหา ขาดทุน อย่างหนัก

แต่ หลังการบิน กลับมาโต และ การบินไทย ได้ประกาศ ที่จะซื้อ เครื่องบินใหม่ อีก 45 ลำ

ก็ยิ่ง มั่นใจ ว่า จะมี นักบิน เข้ามา ฝึกกับ สบพ. อีกจำนวน มากกว่า พันคน แน่นอน

นอกจากนั้น สบพ. ยังมี ข้อตกลง กับ ประเทศ มองโกเลีย. สปป.ลาว กัมพูชา และเกาหลีใต้ ที่จะเข้า ไปสอน

ขั้นตอน การควบคุม การจราจร ทางอากาศ หรือ ATC ซึ่งในเรื่อง ของวิชาการ มั่นใจว่า สบพ.ได้รับการยอมรับ และได้มาตรฐาน

ที่มา : สถาบันการบินพลเรือน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง : “มนพร” โชว์ผลงานกรมเจ้าท่า 8 เดือนเข้าเป้า พัฒนาการขนส่งทางน้ำ