สกสว. ถก 9PMU ดึงผลวิจัยดันไทยผู้นำอาเซียน 5 ปีหน้า 7 แผนงาน

สกสว. อาเซียน
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) กับคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กสว.) นำ 9 หน่วยบริหารและจัดการทุน (PMU)ประชุมทบทวน 7 แผนงานดันไทยผู้นำ อาเซียน 5 ปีหน้า


สกสว. เปิดเวทีระดม 9 PMU เสนอผลวิจัยดันไทยผู้นำ อาเซียน สร้างความสำเร็จตามเป้า 3-5 ปีหน้าเร่งโชว์ 7 แผนงานใหญ่วัคซีนการแพทย์ขั้นสูงอาหาร/ผลไม้มูลค่าสูง ท่องเที่ยวสร้างสรรค์ ยานยนต์ไฟฟ้า ธุรกิจ IDEs

รศ.ดร.ปัทมาวดี โพชนุกูล ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)
รศ.ดร.ปัทมาวดี โพชนุกูล ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)

รศ.ดร.ปัทมาวดี โพชนุกูล ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)เปิดเผยว่าสกสว.ร่วมกับคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กสว.) พร้อมคณะผู้บริหารจาก 9 หน่วยบริหารและจัดการทุน (PMU) ร่วมหารือทบทวนแผนงานสำคัญ เดินหน้าเพิ่มโอกาสสู่ความสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ในแผนงาน สร้างความเป็นไปได้ และความคุ้มค่า และเจตนารมณ์ของนโยบาย ตามแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศรวม 7 แผนงาน ได้แก่

แผนงาน F1 วัคซีน แผนงาน F2 ผลิตภัณฑ์การแพทย์ขั้นสูง ชีววัตถุ และวัสดุอุปกรณ์เครื่องมือแพทย์ แผนงาน F3 Functional Ingredient, Functional Food, Novel Food แผนงาน F4 อาหารและผลไม้ไทยคุณค่าสูง แผนงาน F5 การท่องเที่ยวตามแนวเศรษฐกิจสร้างสรรค์ แผนงาน F6 อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าและเทคโนโลยีเกี่ยวเนื่อง แผนงาน F7 ธุรกิจฐานนวัตกรรม (IDEs) จากทั้งหมด 15 แผนงาน เพื่อทำให้เกิดผลสำเร็จครบถ้วนภายใน 3-5 ปีข้างหน้า

สกสว.มีภารกิจต้องกระตุ้นหน่วยงานเกี่ยวข้องนำงานวิจัยเข้ามาขับเคลื่อนความสำเร็จให้ประเทศไทย ซึ่งจะต้องทำทั้งหมด 15 แผนงานหลัก
สกสว.มีภารกิจต้องกระตุ้นหน่วยงานเกี่ยวข้องนำงานวิจัยเข้ามาขับเคลื่อนความสำเร็จให้ประเทศไทย ซึ่งจะต้องทำทั้งหมด 15 แผนงานหลัก

เนื่องจากมีความสำคัญเร่งด่วนเรื่องการขับเคลื่อนแต่ละส่วนให้เกิดขึ้นตามเป้าหมายและเจตนารมณ์ของนโยบาย หรือแผนพัฒนาประเทศ ที่จะได้จากประชุมทบทวน 3 เรื่องหลัก คือ เรื่องที่ 1 ผลักดันนโยบายเพื่อโอกาสทำให้เกิดความสำเร็จต่าง ๆ ที่ได้กำหนดไว้ตามแผนงาน เรื่องที่ 2 ผลักดันความเป็นไปได้ (Feasibility) เรื่องที่ 3 ความคุ้มค่า ซึ่งจะต้องทำให้เกิดประโยชน์รูปธรรมแก่ประชาชน หรือกลุ่มเป้าหมายด้วยการแก้ปัญหารากเหง้าและยกระดับการพัฒนา ซึ่งที่ประชุมได้นำเสนอผลงาน พร้อมข้อเสนอแนะจากการดำเนินงาน ควบคู่กับเปิดรับฟังความเห็นและข้อเสนอแนะจากตัวแทนนักวิชาการ 2 กลุ่มหลัก คือ แผนงาน F1 วัคซีน แผนงาน F2 ผลิตภัณฑ์การแพทย์ขั้นสูง ชีววัตถุ และวัสดุอุปกรณ์เครื่องมือแพทย์

ผศ.ดร.ภก.วิสิฐ ตั้งเคียงศิริสิน ผู้จัดการสำนักพัฒนาศักยภาพด้านวัคซีน (รักษาการรองผู้อำนวยการสถาบันวัคซีนแห่งชาติ) กล่าวว่า แผนงาน F1 วัคซีน เป็นหนึ่งในแผนงานสำคัญช่วยสร้างความมั่นคงด้านสุขภาพให้ประเทศ เพื่อรองรับการแพร่ระบาดของไวรัสสายพันธุ์ใหม่ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ดังนั้นต้องมีเป้าหมายการดำเนินงานคือ ประเทศไทยจะสามารถพัฒนาและผลิตวัคซีนรับมือโรคสำคัญได้เอง และเป็นแหล่งผลิตวัคซีนที่สำคัญของอาเซียน โดยใช้งานวิจัย องค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เข้าไปเสริมทัพ

ปัจจุบันมีผลดำเนินงานอยู่แล้ว เช่น วัคซีนโควิด-19 โดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ได้ขึ้นทะเบียนให้องค์การเภสัชกรรมเรียบร้อยแล้วแบบ conditional approval และมีวัคซีนโควิด-19 เข้าสู่การทดสอบในมนุษย์แล้ว 3 ชนิด และไทยสามารถขยายกําลังการผลิตวัคซีนไข้หวัดใหญ่ให้เพียงพอความต้องการอีก 3 สายพันธุ์ และถ่ายทอดการผลิตวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก 9 สายพันธ์

ศ. ดร.ศันสนีย์ ไชยโรจน์ ประธานอนุกรรมการแผนงานกลุ่มสุขภาพและการแพทย์พัฒนาและผลิตผลิตภัณฑ์ สกสว. กล่าวว่า แผนงาน F2 การพัฒนาและผลิตผลิตภัณฑ์การแพทย์ขั้นสูง (Advanced Therapy Medicinal Products: ATMPs) ชีววัตถุ และวัสดุอุปกรณ์เครื่องมือแพทย์ล้วนเป็นนวัตกรรมระดับสูงและมูลค่าสูง

ต้องผลักดันไทยเป็นแหล่งผลิตสำคัญของอาเซียน โดยหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) และศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) “ศลช.” ร่วมมือกันเดินหน้าเป้าหมายแผนงานดังกล่าวคือการนำประเทศไทยเป็นแหล่งผลิตวัคซีน ยา สารสกัดสมุนไพร วัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือแพทย์และบรรจุภัณฑ์ขั้นสูง ผลิตภัณฑ์การแพทย์ขั้นสูง (ATMPs) ชีววัตถุ ที่สำคัญของอาเซียน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ลดการนําเข้าและสามารถส่งออกได้โดยใช้ผลงานวิจัย องค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรม อย่างมีประสิทธิภาพ

จากการดำเนินงานที่ผ่านมาสามารถผลิตและขึ้นทะเบียนแล้วจากองค์การอาหารและยา ได้แก่ 1.ยาชีววัตถุ วิจัย พัฒนาผลิตตั้งแต่ TRL 1-9 (API จนถึง Biosimilar) เป็นชนิดแรกของไทย 2.วัคซีน HXP-GPOVac ซึ่งผลิตสารที่มีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิต สามารถกระตุ้นการเจริญเติบโตของเซลล์ (Growth Factor) ทั้งหมด 10 ชนิด

ส่วนข้อมูลการดำเนินงาน และข้อเสนอแนะต่างๆ จากเวทีนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการนำไปกำหนดทิศทางการขับเคลื่อนแผนด้าน ววน. และการลงทุนของประเทศ รวมทั้งพัฒนาด้านอื่นๆ ทาง สกสว.จะนำกลับไปพิจารณาและนำเสนออนุกรรมการแผน ววน. ก่อนนำเสนอ กสว. เห็นชอบในหลักการและกรอบงบประมาณต่อไป

ทั้งนี้คณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กสว.) คณะผู้บริหารของหน่วยบริหารและจัดการทุน (PMU) ที่เข้าร่วมประชุมครั้งนี้ ประกอบด้วย

1.สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) 2.สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สนช.) 3.สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) (สวก.) 4.สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) 5.หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.)

6.หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและสร้างนวัตกรรม (บพค.) 7.หน่วยบริหารจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) 8.ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) หรือ ศลช. (TCELS) และ 9.สถาบันวัคซีนแห่งชาติ (NVI) 

-เรื่องโดย #เพ็ญรุ่งใยสามเสน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง : จับตายานยนต์ไทย… สกสว. จับมือ5 หน่วยงาน MOU ยกระดับผู้ประกอบการมุ่งสู่เทคโนโลยีสมัยใหม่