แอร์บัส ยัน อนาคต 20 ปีหน้า เอเชียแปซิฟิก เฟื่องฟู “มูลค่าตลาดบริการ” อุตสาหกรรมการบินส่งสัญญาณโตเพิ่ม 2 เท่า จับตา 3ส่วน “ต้องการฝูงบินใหม่” 1.95 หมื่นลำ “จราจรทางอากาศ” สู่ระบบดิจิทัล “ธุรกิจเกี่ยวข้อง” ตลาดบำรุงรักษาเครื่องอู้ฟู่มูลค่าปีละ 1.09 แสนล้านดอลล์ แรงงานทักษะพุ่งเกือบ 1 ล้านคน
บริษัท แอร์บัส/AIRBUS รายงานผลการจัดทำคาดการณ์ด้านบริการหรือ GSF :Global Services Forecast: GSF” ฉบับล่าสุดของแอร์บัสระบุว่า อีก 20 ปีข้างหน้ามูลค่าตลาดบริการเครื่องบินพาณิชย์ในเอเชียแปซิฟิกจะเติบโตมากกว่า 2 เท่า จะเพิ่มขึ้นจากปัจจุบัน 52,000 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อถึงปี 2586 จะสูงขึ้นเป็น 129,000 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยจะเห็นองค์ประกอบขับเคลื่อนไปพร้อม ๆ กัน 3 ส่วน ประกอบด้วย
- ส่วนที่ 1 “การเติบโต” ของตลาดบริการเครื่องบินพาณิชย์ตามผลคาดการณ์ข้างต้น มาจากในภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก มีความต้องการเครื่องบินใหม่ประมาณ 19,500 ลำ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากปริมาณการขนส่งผู้โดยสารทางอากาศในภูมิภาค จะมีอัตราการเติบโตต่อปีแบบทบต้น (Compound Annual Growth Rate: CAGR) ประมาณ 4.81 %
- ส่วนที่ 2 “ปริมาณจราจรทางอากาศ” แต่ละปีจะเพิ่มขึ้น ประกอบกับฝูงบินขยายตัวและความต้องการเครื่องบินสามารถเชื่อมต่อและใช้งานแบบดิจิทัลมากขึ้น เป็นแรงผลักดันให้ความต้องการบริการในอุตสาหกรรมการบินเติบโตสูงขึ้น จึงจะส่งผลต่อทุกขั้นตอนในวงจรชีวิตเครื่องบิน ตั้งแต่การส่งมอบจนถึงสิ้นสุดอายุการใช้งาน รวมถึงบริการด้านต่าง ๆ เช่น การบำรุงรักษาฝูงบิน การปรับปรุงเครื่องบินให้ทันสมัย และการฝึกอบรม
- ส่วนที่ 3 “ธุรกิจบริการเครื่องบิน” ภาคส่วนต่าง ๆ ในเอเชียและแปซิฟิก แอร์บัสคาดการณ์ตลาดเพิ่มจากปีปัจจุบัน 2567 ขยายตัวต่อเนื่องในปี 2586 ประกอบด้วย 2 ด้านสำคัญ ได้แก่
ด้านที่ 1 การบำรุงรักษาจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นมากกว่า 2 เท่า แนวโน้มจะเติบโตจากปัจจุบัน 43,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2586 เพิ่มขึ้นเป็น 109,000 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นอัตราการเติบโต CAGR 5.0 % โดยเฉพาะการปรับปรุงเพิ่มเติมและปรับปรุงฝูงบินให้ทันสมัยจะเติบโตอย่างมากเช่นกัน เพิ่มขึ้นจาก 5,100 ล้านเหรียญสหรัฐ ปี 2586 เป็น 13,000 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นอัตราการเติบโต CAGR 5.1 %
ด้านที่ 2 การฝึกอบรมและการปฏิบัติการจะเติบโตเพิ่มขึ้นจากมูลค่าปัจจุบัน 4,100 ล้านเหรียญสหรัฐ ปี 2586 เป็น 7,600 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นอัตราการเติบโต CAGR 3.3 %
โดยแอร์บัสคาดการณ์อีก 20 ปีข้างหน้า ในภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก “ต้องการแรงงานใหม่ที่มีทักษะ” เพิ่มขึ้น 999,000 คนหรือคิดเป็นเกือบ 45 % ของความต้องการแรงงานด้านการบินทั่วโลก แรงงานดังกล่าวจะประกอบด้วย กลุ่ม คือ 1.นักบินใหม่ 268,000 คน 2.ช่างเทคนิคใหม่ 298,000 คน และ 3.ลูกเรือใหม่ 433,000 คน
คริสตินา อากีลาร์ กรีเดอร์ รองประธานอาวุโสฝ่ายบริการลูกค้าของแอร์บัส กล่าวว่า ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกจะเติบโตควบคู่กับกิจกรรมบริการหลังการขายในระดับสูงที่สุด จึงจะมีโอกาสมากมายทั้งด้านการปรับปรุงประสิทธิภาพ การลดความซับซ้อนกระบวนการ และส่งเสริมการดำเนินงานอย่างรับผิดชอบในภาคการบิน ซึ่งแอร์บัสจะมีบทบาทสำคัญช่วยให้สายการบินและอุตสาหกรรมการบินโดยรวมสามาถใช้ประโยชน์จากโอกาสเหล่านี้พร้อมให้การสนับสนุนต่อเนื่องต่อไปอย่างเต็มประสิทธิภาพ เพื่อประโยชน์ร่วมกันของอุตสาหกรรมการบินซึ่งเติบโตอย่างมีนัยสำคัญ
เรื่องโดย #เพ็ญรุ่งใยสามเสน #gurutourza
ข่าวที่เกี่ยวข้อง : JAL-แอร์บัส ยันฝูงบิน A350 ดีจริง ใช้ไฮเทค VPT ฝึกนักบิน