NIA ควง ADB แบ่งงบ 8.58 แสนล้านหนุน 5 สตาร์ตอัพ พลิกเกษตรไทย

NIA ควง ADB แบ่งงบ 8.58 แสนล้าน หนุน 5สตาร์ตอัพ
สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) “NIA” นำทีมลงพื้นที่แปลงสาธิตการปลูกข้าวนวัตกรรม ดิจิทัล AI เทคโนโลยีชีวภาพ ในไทย


NIA จับมือ ธนาคารพัฒนาเอเชียแบ่งงบ 8.58 แสนล้าน หนุน 5 สตาร์ตอัพเกษตรไทย นำดิจิทัล IA เทคโนโลยีชีวภาพ พลิกวิถีเกษตรสู่เทรนด์ใหม่ พร้อมรับมือโลกเดือด ลดเสี่ยง เพิ่มรายได้

ดร. กริชผกา บุญเฟื่องผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) “NIA” กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เปิดเผยว่า NIA จับมือกับธนาคารพัฒนาเอเซีย (ADB:Asia Development Bank) สนับสนุนสตาร์ตอัพด้านเกษตรไทยที่พัฒนาการผสานเทคโนโลยีดิจิทัล ปัญญาประดิษฐ์ และเทคโนโลยีชีวภาพ 5 ราย ได้แก่ ไบโอม ลิสเซินฟิลด์ อีซี่ไรซ์บอร์นไทยแลนด์ และวาริชย์ ยกระดับการปลูกข้าวตลอดห่วงโซ่มูลค่าอย่างยั่งยืน ทำเกษตรแม่นยำเพิ่มผลผลิต ช่วยเกษตรกรมีรายได้เพิ่มมากขึ้น พร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และความเสี่ยงทางการเกษตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ

NIA จับมือ ธนาคารพัฒนาเอเชียแบ่งงบ 8.58 แสนล้าน หนุน 5 สตาร์ตอัพเกษตรไทย
โฉมหน้า 5 สตาร์ตอัพด้านเกษตรที่คิดค้นนวัตกรรมช่วยเกษตรกรผู้ปลูกข้าวหลุดกับดักการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก

เพราะการปลูกข้าวเป็นเกษตรกรรมสำคัญของไทยและอาเซียน ยุคนี้จำเป็นจะต้องส่งเสริมวิถีทำนารูปแบบใหม่โดยนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีเข้ามาช่วยขับเคลื่อนอุตสาหกรรมการเกษตรไทยเติบโตได้ทุกการเปลี่ยนแปลง ทาง NIA จึงได้สนับสนุนสตาร์ทอัพด้านเกษตรของไทยให้มีนวัตกรรมหลากลายนำมาช่วยยกระดับอุตสาหกรรมข้าวตลอดห่วงโซ่มูลค่าการปลูกข้าว 

ทำโครงการ ต้นแบบการปลูกข้าวอย่างยั่งยืน และเป็นมิตรต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศตลอดห่วงโซ่การผลิตด้วยเทคโนโลยีชีวภาพและเทคโนโลยีดิจิทัล” ในรูปแบบแปลงนาสาธิต12 ไร่ ที่อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี โดยมีธนาคารพัฒนาเอเชียสนับสนุนงบดำเนินงาน เนื่องจากสอดคล้องกับนโยบายส่งเสริมการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้เพิ่มประสิทธิภาพการเกษตร และเตรียมความพร้อมให้เกษตรกรมีนวัตกรรมเข้ามาช่วยรับมือสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงแล้วส่งผลกระทบกับการทำนาช่วงฤดูเพาะปลูกของเกษตรกรไทย

@NIAเร่งทำภารกิจ“Groom-Grant-Growth-Global” 

ดร. กริชผกา กล่าวว่า NIA มีอีกหนึ่งบทบาทเป็น “ผู้กำหนดทิศทางนวัตกรรม (Focal Conductor)” คือ เร่งสร้างระบบนิเวศสตาร์ทอัพด้านเกษตร มุ่งแก้ไขปัญหาด้วยเทคโนโลยีเชิงลึกตลอดห่วงโซ่มูลค่าทางการเกษตร เพื่อลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต สร้างตลาดใหม่ทั่วประเทศและภูมิภาคอาเซียน โดยเชื่อมโยงการทำงานร่วมกับพันธมิตรทั้งในและต่างประเทศ ผ่าน “Groom-Grant-Growth-Global” เพื่อให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีที่ก้าวหน้า มีนวัตกรรมการเกษตรที่แข็งแกร่ง และเป็นผู้นำสร้างเทคโนโลยีและนวัตกรรมการทำแปลงนาสาธิ

จะช่วยให้เกษตรกรเกิดความเข้าใจและเปิดใจยอมให้เทคโนโลยีใหม่ๆ ได้เข้ามา “เปลี่ยนวิถีการทำเกษตรแบบดั้งเดิมไปสู่การทำเกษตรแบบสมาร์ทฟาร์ม” ซึ่งจะช่วยให้เกษตรกรทำอาชีพปลูกข้าวได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ มีรายได้เพิ่มขึ้น และอุตสาหกรรมการปลูกข้าวเติบโตไปด้วยกันอย่างยั่งยืน

@5 สตาร์ทอัพพลิกวิถีเกษตรไทย/อาเซียสู่นวัตกรรมไฮเทค

รายที่ 1  ไบโอม : เทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตรใน “กลุ่มจุลินทรีย์คึกคัก” ได้คัดเลือกสายพันธุ์แบบเฉพาะเจาะจงให้ฟื้นฟูคุณภาพดินจากสารเคมีตกค้าง คู่กับเพิ่มผลผลิตให้เกิดขึ้นพร้อมกัน สามารถใช้ร่วมกับปุ๋ยเคมีได้แต่ลดการใช้ได้ต่อเนื่อง 

รายการที่ 2 ลิสเซินฟิลด์ : เทคโนโลยีการเกษตรแม่นยำด้วยข้อมูลเกษตรที่ใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ช่วยเกษตรกรวางแผนทำเกษตรให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ลดค่าใช้จ่ายการผลิต และลดการสูญเสียต่างๆ 

รายการที 3 อีซี่ไรซ์ : โซลูชั่นตรวจสอบพันธุ์ข้าวและคุณภาพข้าวด้วย AI พัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลและตรวจสอบพันธุ์ข้าวเพื่อลดการเจือปนในการปลูก และเครื่องมือตรวจสอบคุณภาพข้าวด้วยระบบตรวจวัดคุณภาพข้าวแบบดิจิทัลโดยใช้ปัญญาประดิษฐ์และบิ๊กดาต้า ทำงานได้รวดเร็วมีประสิทธิภาพ 

รายที่ 4 บอร์นไทยแลนด์ : แพลตฟอร์มตลาดสินค้าออนไลน์ สินค้าชุมชนสนับสนุนเอกลักษณ์ภูมิปัญญาทั่วไทย ทำหน้าที่เป็นผู้ให้บริการแบบเบ็ดเสร็จ (one stop service) ให้เกษตรกร ผู้ผลิตสินค้าเกษตรและแปรรูปที่ต้องการพัฒนาแบรนด์ผลิตภัณฑ์ตัวเองให้ได้มาตรฐาน และส่งออกได้ 

รายที่ 5 วาริชธ์ : บริการแปรรูปสินค้าเกษตรและประมง สร้างช่องทางขายออนและออฟไลน์แบบครบวงจร ด้วยการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ข้าวรูปแบบใหม่ใช้การทอดกรอบแบบสูญญากาศ ลดของเสียจากอุตสาหกรรมการผลิตอาหาร

@ADBหนุนงบยั่งยืน 8.58แสนล้าน170 โครงการ

ดร. ศรีนิวะสัน อันชา ที่ปรึกษาด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ธนาคารพัฒนาเอเชีย หรือ Asian Development Bank (ADB) กล่าวว่า ADB ให้ความสำคัญกับการพัฒนาชนบทและความมั่นคงทางอาหารในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยเฉพาะประเด็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จึงได้จัดสรรเงินทุนสนับสนุนโครงการที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาอย่างยั่งยืนกว่า 170 โครงการ มูลค่า 26,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 858,000 ล้านบาท รวมทั้งโครงการสาธิตปลูกข้าวยั่งยืนฯ  เนื่องจากนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้สร้างการเปลี่ยนแปลงให้อุตสาหกรรมการปลูกข้าวในอนาคต ทั้งด้านเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ช่วยให้เกษตรกรพร้อมจะรับมือกับการเปลี่ยนแปลงได้

โครงการนี้เป็นส่วนหนึ่งของความร่วมมือระดับภูมิภาคแม่โขงเรียกว่า Greater Mekong Subregion ดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2549 มีเป้าหมายหลักมุ่งพัฒนาภาคเกษตรและความมั่นคงทางอาหารในภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง หากโครงการสาธิตของไทยประสบความสำเร็จ ADB อาจขยายผลเป็นโครงการลงทุนขนาดใหญ่ในอนาคต เช่นเดียวกับโครงการปลูกข้าวคาร์บอนต่ำคุณภาพสูงในเวียดนาม ในพื้นที่ 1 ล้านเฮกตาร์

เรื่องโดย #เพ็ญรุ่งใยสามเสน #gurutourza

สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)

ข่าวที่เกี่ยวข้อง : อีโวลท์ Evolt จับมือ เอสซีจี อินเตอร์เนชั่นเเนล เเละ NIA เปิดสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า