

กระทรวงวัฒนธรรมและชาวโคราชร่วมผลักดัน Soft Power 11 อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ชูอัตลักษณ์ท้องถิ่น สร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ จัดโชว์ มวยโคราช ชุด “นาฏยุทธ” ในการประชุม ครม. สัญจร 1-2 ก.ค. นี้
นางรัดเกล้า อินทวงศ์ สุวรรณคีรี รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า รัฐบาล โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เดินหน้าผลักดัน 11 อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ใช้ soft power ต้นทุน ทางวัฒนธรรม และ อัตลักษณ์ในพื้นที่ ส่งเสริมการท่องเที่ยว สร้างงาน สร้างรายได้ สร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจให้กับจังหวัด และประเทศในภาพรวม
จัดโชว์มวยโคราชชุด “นาฏยุทธ” ต้อนรับครม.
โดย ในการประชุมคณะรัฐมนตรี อย่างไม่เป็นทางการ นอกสถานที่ ครั้งที่ 4/2567 หรือ ครม. สัญจร ณ จังหวัดนครราชสีมา ระหว่างวันที่ 1-2 กรกฎาคม 2567 นี้
กระทรวงวัฒนธรรม เตรียมจัดโชว์ มวยโคราชชุด “นาฏยุทธ” เพื่อต้อนรับ คณะรัฐมนตรี ร่วม เผยแพร่ soft power และการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของไทย ให้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางมากขึ้น
รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า การส่งเสริม การปรับโครงสร้าง เศรษฐกิจ การยกระดับเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน การบริการ และการท่องเที่ยว ถือเป็นหนึ่งประเด็นสำคัญ ของการตรวจราชการใน ครม. สัญจรครั้งนี้

นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล ได้มอบหมาย ให้สำนักงานวัฒนธรรม จังหวัดนครราชสีมา จัดเตรียม การแสดง Soft Power มวยโคราชชุด “นาฏยุทธ” เพื่อ ต้อนรับคณะรัฐมนตรี ในการประชุม ครม. สัญจร ณ จังหวัดนครราชสีมา ในวันจันทร์ที่ 1 กรกฎาคม 2567
มวยโคราช เป็นศิลปะ การต่อสู้ ป้องกันตัว ที่อยู่คู่กับ เมืองนครราชสีมา มาตั้งแต่ สมัยอยุธยา จนถึงปัจจุบัน เป็นมรดก ภูมิปัญญา ทางวัฒนธรรมด้าน ศิลปะการต่อสู้ ป้องกันตัว ที่บรรพบุรุษ ได้สร้างสรรค์ไว้ให้ อย่างมีคุณค่า จนกลายเป็น อีกหนึ่งสัญลักษณ์ ของจังหวัดนครราชสีมา หรือ เมืองโคราช
ซึ่ง การแสดง ชุดมวยโคราช “นาฏยุทธ” สื่อถึง ศิลปะการไหว้ครู แบบโบราณ ท่าแม่ไม้มวย โบราณ สายโคราช ที่กำลังจะศูนย์หาย จากตำราพระเหมสมาหารเจ้าเมืองโคราชสมัยก่อน
ประกอบด้วย ท่ามันเขวี่ยงควาย ล้มพลอยอาย ทัศมาลา ท่าฝึกอยู่กับที่ ท่าทุ่มทับ จับหัก ท่าหนุมานถวายแหวน ท่าฤาษีบดยา ท่าเตะคอขาด ท่าพระรามเดินดง
ทำคลิปภาพยนตร์สั้นเสนออัตลักษณ์ของแต่ละอำเภอ
โดย ในส่วนกระทรวงวัฒนธรรม ได้บูรณาการ ความร่วมมือ กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ขับเคลื่อนงาน ในจังหวัดนครราชสีมา เพื่อส่งเสริม Soft Power 11 อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ โดยใช้ ทุนทางวัฒนธรรมที่เป็นอัตลักษณ์ของแต่ละพื้นที่ ในจังหวัดนครราชสีมา นำมาสร้างมูลค่า เพิ่มทางเศรษฐกิจ
โดยได้รวบรวมข้อมูลทางศิลปวัฒนธรรมที่เป็นของดี และจุดเด่นที่เป็นอัตลักษณ์ทางศิลปวัฒนธรรมของของทั้ง 32 อำเภอของจังหวัดนครราชสีมา พร้อมร่วมกับสภาวัฒนธรรมจังหวัดจัดทำคลิปภาพยนตร์สั้นนำเสนออัตลักษณ์ของแต่ละอำเภอ ซึ่งเบื้องต้นจะดำเนินการนำร่อง 12 อำเภอ เพื่อเผยแพร่ Soft Power ด้านต่างๆ ของจังหวัด
ข่าวที่เกี่ยวข้อง : “เสริมศักดิ์” ชู ซอฟท์เพาเวอร์ ดึงคน เที่ยว เพชรบุรี 10 ล้านคน