“ไฟเซอร์” เตรียมทดลองวัคซีนในมนุษย์ที่สหรัฐสัปดาห์หน้า

“ไฟเซอร์” เตรียมทดลองวัคซีนในมนุษย์ที่สหรัฐสัปดาห์หน้า ร้องขอ “เอฟดีเอ”เร่งอนุมัติ และอาจพร้อมใช้เร่งด่วนในเดือนกันยายนนี้

  • หลายบริษัทแข่งกันพัฒนาวัคซีน อย่างเร็วสุดอาจพร้อมใช้หลายล้านโดสในเดือนกันยายน
  • บิล เกตส์ เผยอีกรอบว่าวัคซีนอาจเสร็จเร็วกว่าที่คาดภายใน 9 เดือน
  • แต่มีข้อท้วงติงการเร่งด่วนร่นเวลาข้ามขั้นตอนไปมีความเสี่ยง

บิสซิเนส อินไซด์เดอร์รายงานว่า วอลล์ สตรีท เจอนัล ได้สัมภาษณ์ ซีอีโอ “ไฟเซอร์” ผู้ผลิตยายักษ์ใหญ่  ว่าหลายบริษัทจะเริ่มทำการทดลองในสหรัฐฯในสัปดาห์หน้า โดยคาดว่าจะได้รับการอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาหรือเอฟดีเอของสหรัฐในกรณีเร่งด่วนในภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุข 

ผู้ผลิตยา “ไฟเซอร์” กล่าวว่าได้ทดลองวัคซีนกับมนุษย์ที่มีสุขภาพดี 12 คนในเยอรมนีแล้วและเตรียมเพิ่มเป็น 200 คนอายุระหว่าง 18-55 ปีในเฟสต่อไปพร้อมกับประเมินว่าอาจจะผลิตวัคซีนจำนวนหลายล้านโดสได้ภายในสิ้นปีนี้ 

ทั้งนี้ ไฟเซอร์ร่วมกับบริษัทไบโอฟาร์มาซูติคอล นิว เทคโนโลยี หรือ BioNtech ซึ่งเป็นบริษัทวิจัยในประเทศเยอรมัน โดยทั้งสองได้ร่วมออกแถลงการณ์เมื่อวันพุธที่ผ่านมาว่าได้จะเริ่มต้นทดลองวัคซีนกับมนุษย์ เมื่อวันที่ 23 เมษายนที่ผ่านมา โดยข้อมูลจากการทดลองนี้คาดว่าจะเสร็จสิ้นในเดือนมิถุนายน

ตัวแทน BioNTech กล่าวว่า พวกเขากำลังรอ “เอฟดีเอ” เพื่อเริ่มการทดสอบในสหรัฐซึ่งพวกเขาคาดหวังว่า “ในเร็ววันนี้” ขณะที่ทางไฟเซอร์บอกว่าจะเริ่มขึ้นในต้นสัปดาห์หน้า

แม้ว่าโดยทั่วไปจะใช้เวลาหลายปีกว่าวัคซีนจะได้รับการทดลองและมีการรับรองอย่างสมบูรณ์ แต่ เอฟดีเอ สามารถให้การอนุญาตใช้ในกรณีฉุกเฉินสำหรับการใช้งานการรักษาหรือใช้อุปกรณ์ในระหว่างเกิดเหตุฉุกเฉินด้านสาธารณสุข ซึ่งได้ออก Emergency Use Authorizations (EUAs) สำหรับอุปกรณ์ป้องกันและเครื่องช่วยหายใจในรูปแบบต่างๆ มาแล้ว

เมื่อกลางเดือนเมษายนที่ผ่านมา องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้จัดทำเอกสาร ระบุว่ามีบริษัทผู้ผลิตกว่า 70 บริษัทที่พยายามในการพัฒนาวัคซีนต้านไวรัสโควิด-19  ผู้ผลิตยา CanSino, Moderna และ Inovio ได้ประกาศเริ่มต้นขอทดลองในมนุษย์

Pfizer และ BioNTech ไม่ได้เป็นเพียงคนเดียวที่หวังว่าจะมีวัคซีนพร้อมสำหรับการใช้ในกรณีฉุกเฉินในฤดูใบไม้ร่วงซึ่งเป็นช่วงงเดือนกันยายนเป็นต้นไป ขณะที่บริษัท Moderna ของสหรัฐกล่าวว่าวัคซีนน่าจะพร้อมใช้ได้เช่นกัน

นักวิจัยที่ Jenner Institute ของ Oxford University ในสหราชอาณาจักรเริ่มการทดลองวัคซีนมนุษย์เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว หลังจากเห็นว่าการรักษาลิงแสมหกตัวแข็งแรงหลังจากได้รับเชื้อไวรัสอย่างหนัก

ภาพ AFP

และคาดว่าจะมีการทดลองวัคซีนใน 6,000 คนในเดือนพฤษภาคมต่อไป นักวิจัยกล่าวว่าหากการทดลองพิสูจน์ให้เห็นว่าปลอดภัยและมีประสิทธิภาพและหน่วยงานกำกับดูแลจะให้การอนุมัติในกรณีฉุกเฉินอาจมีปริมาณไม่กี่ล้านโดสครั้งแรกในเดือนกันยายน

ด้านประเทศจีน มีรายงานข่าวจากสำนักข่าวซินหัวว่า บริษัท Linear Clinical Research จากประเทศออสเตรเลียได้เริ่มทำการทดลองวัคซีนในมนุษย์ที่มีสุขภาพดีมีกรอบเวลา 2 เดือน โดยวัคซีนจาก S-Trime ที่พัฒนาโดย Clover Biopharmaceuticals บริษัทเทคโนโลยีชีวภาพของจีนเป็น

Johnson & Johnson ยังหวังว่าจะมีวัคซีนพร้อมสำหรับการใช้ในกรณีฉุกเฉินในต้นปี 2564

มีรายงานข่าวด้วยว่า มีการพยายามอย่างยิ่งยวดเพื่อร่นเวลาสำหรับการทดลองซึ่งปกติจะใช้เวลาเป็นปี ๆ เมื่อต้นเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ดร.แอนโทนี่ เฟาซี  ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อและที่ปรึกษา “โดนัลด์ ทรัมป์” กล่าวว่าอาจใช้เวลาอย่างน้อย 18 เดือนในการพัฒนาวัคซีน และผู้เชี่ยวชาญได้เตือนถึงความเสี่ยงในการข้ามขั้นตอนต่าง ๆ เช่นการทดสอบสัตว์

บางกลุ่มพบวิธีการอื่นเพื่อร่นกระบวนการ เช่นสถาบันเซรัมแห่งอินเดียกำลังเตรียมวัคซีน 40 ล้านหน่วยที่ใช้ในการทดลองในออกซ์ฟอร์ด แม้จะไม่รู้ว่าจะใช้งานได้หรือไม่ก็ตาม

ล่าสุด “บิล เกสต์” ผู้ก่อตั้งไมโครซอฟท์ และมูลนิธิมูลนิธิบิลและเมลินดาเกตส์  เปิดเผยในเว็บไซต์ www.gatesnotes.com ว่า ชีวิตปกติคงไม่กลับคืนสู่ปกติได้ตราบใดที่วัคซีนต้านไวรัสที่จะสามารถพัฒนาและผลิตออกมาใช้งานเพื่อสกัดกั้นการแพร่ระบาดได้ มีข่าวดีว่าอาจใช้เวลาสั้นการที่คาดกันไว้จากที่คาดกันว่า 18 เดือน อาจจะเหลือ 9 เดือน หรือนานถึง 2 ปี

www.businessinsider.com

thehill.com