ไทยพาณิชย์ส่องเศรษฐกิจ “ซีแอลเอ็มวี” ปีนี้- ปีหน้าไม่ร้องแรง

  • เจอสงครามการค้าฉุดส่งออกท่องเที่ยว
  • ยังมีข่าวดีลงทุนพุ่งรับอานิสงส์บริษัทจีนบริษัทข้างมชาติย้ายฐานผลิต

นายยรรยง ไทยเจริญ รองผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสูงสุดศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด(มหาชนเปิดเผยว่า เศรษฐกิจกลุ่มประเทศซีแอลเอ็มวี (กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนามในปีนี้ และปีหน้า (2563) จะขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงราว   6-7% จากสถานการณ์การค้าโลกที่ยังมีความไม่แน่นอนและการเติบโตที่ชะลอลงในประเทศเศรษฐกิจหลักส่งผลกระทบผ่านการส่งออกและการท่องเที่ยวที่ชะลอตัว อย่างไรก็ดี การปรับโครงสร้างห่วงโซ่การผลิตในภูมิภาคจากผลกระทบสงครามการค้าถือเป็นผลดีบางส่วนต่อเศรษฐกิจซีแอลเอ็มวี โดยเฉพาะในเวียดนามอย่างน้อยในระยะสั้น จากการที่บริษัทผู้ผลิตจีนและบริษัทข้ามชาติหลายแห่งตัดสินใจย้ายฐานการผลิตมายังกลุ่มประเทศซีแอลเอ็มวีเพื่อเลี่ยงภาษีนำเข้าของสหรัฐฯ

นอกจากนี้ ตลาดผู้บริโภคขนาดใหญ่ภายในกลุ่มประเทศซีแอลเอ็มวีที่ยังมีแนวโน้มขยายตัวและจะช่วยรองรับผลกระทบทางลบจากความเสี่ยงภายนอกที่ส่งผลให้เศรษฐกิจชะลอลง อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจซีแอลเอ็มวียังคงเผชิญความเสี่ยงรายประเทศทั้งจากปัจจัยภายในและภายนอก โดยกัมพูชาและเมียนมาอาจถูกสหภาพยุโรปถอนสิทธิพิเศษทางการค้า ซึ่งจะทำให้ทั้งสองประเทศสูญเสียความได้เปรียบด้านการส่งออกในระยะกลาง ลาวยังคงมีความเสี่ยงจากปัญหาหนี้สาธารณะที่สูง ในขณะที่เวียดนามอาจเผชิญนโยบายกีดกันการค้าจากสหรัฐฯ มากขึ้น หากกระทรวงการคลังสหรัฐฯ ขึ้นบัญชีเวียดนามเป็นประเทศผู้บิดเบือนค่าเงิน

ทั้งนี้เศรษฐกิจกัมพูชามีแนวโน้มเติบโตชะลอลงที่ราว7.0% ในปีนี้และ6.8%ในปีหน้าจากสถานการณ์การค้าโลกที่ชะลอตัว โดยภาคการท่องเที่ยวและการลงทุนทางตรงจากต่างประเทศเติบโตชะลอลงแต่ฐานะการคลังและภาคการส่งออกยังคงแข็งแกร่งขณะที่เศรษฐกิจลาวจะฟื้นตัวอย่างช้าที่ราว6.4%ในปีนี้และ6.5%ในปีหน้า โดยเศรษฐกิจลาวชะลอตัวลงเนื่องจากผลกระทบของภัยพิบัติทางธรรมชาติในปี2018สงครามการค้าและการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนขณะเดียวกันลาวยังอาจเผชิญความเสี่ยงในระยะสั้นจากทุนสำรองระหว่างประเทศที่มีอยู่จำกัด

สำหรับเศรษฐกิจเมียนมาจะเติบโตชะลอลงที่ราว6.2%ในปีนี้และ6.3%ในปีหน้าท่ามกลางความเสี่ยงภายในประเทศก่อนถึงการเลือกตั้งในปีนี้การลงทุนทางตรงจากต่างประเทศหดตัวอย่างมีนัยยะแต่นโยบายการปฏิรูปการเปิดเสรีทางการเงินอย่างต่อเนื่องและการลงทุนจากประเทศในเอเชียจะเป็นปัจจัยช่วยการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจอย่างไรก็ดีความเสี่ยงหลักต่อเศรษฐกิจมาจากวิกฤติโรฮิงญาที่ยังคงอยู่ในระหว่างการแก้ไขซึ่งทำให้เมียนมายังมีความเสี่ยงที่จะถูกถอนสิทธิพิเศษทาภาษีจากสหภาพยุโรป

ส่วนเศรษฐกิจเวียดนามจะเติบโตราว6.8%ในปีนี้และ6.7%ในปีหน้า ด้วยแรงส่งจากอุปสงค์ภายในประเทศและการส่งออกการบริโภคภาคเอกชนซึ่งได้แรงหนุนจากตลาดแรงงานภายในประเทศที่แข็งแกร่งและภาวะเงินเฟ้อในระดับปานกลางจะช่วยสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจท่ามกลางการส่งออกที่ชะลอตัวและความเสี่ยงภายนอกที่เพิ่มขึ้นจากผลกระทบของนโยบายกีดกันทางการค้าสหรัฐฯขณะที่การปฏิรูปเชิงโครงสร้างจะช่วยผลักดันการลงทุนทั้งจากภาคเอกชนภายในประเทศและการลงทุนจากต่างประเทศในระยะข้างหน้า