เช็คก่อนเที่ยว! เปิดปฎิทินเดือนมีนาคม 2564 หยุดยาวกี่วันหลังมี ‘วันหยุดประจำภาค’ เป็นครั้งแรก



สิ้นสุดเดือนแห่งความรักก้าวเข้าสู่เดือนที่สามของปี 2564 พร้อมกับ “วันหยุด” ที่เพิ่มขึ้นมาอีก 1 วัน กล่าวคือในเดือนมีนาคม 2564 จะมี “วันหยุดประจำภาค” เพิ่มเข้ามานั่นเอง ได้แก่ วันศุกร์ที่ 26 มีนาคม 2564 

เนื่องจากปีนี้ ไทยยังต้องเผชิญกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 หรือการระบาดระลอกใหม่ ส่งผลต่อการหยุดชะงักของระบบเศรษฐกิจ ทำให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเพิ่ม “วันหยุดกรณีพิเศษ” และ “วันหยุดประจำภาค” ให้กับคนไทย เพื่อกระตุ้นการจับจ่ายในช่วงวันหยุด เพิ่มการหมุนเวียนเงินเศรษฐกิจภายในประเทศ 

โดยในเดือนมีนาคม 2564 มีการกำหนดวันหยุดเพิ่มขึ้น 1 วัน เรียกว่า “วันหยุดประจำภาค” นั่นคือ วันศุกร์ที่ 26 มีนาคม 2564 กำหนดให้เป็น วันหยุดเทศกาลไหว้พระธาตุ (ภาคเหนือ)​

ทั้งนี้ ส่งผลให้ในเดือนมีนาคม 2564 มี “วันหยุดยาว” ติดต่อกัน 3 วัน ได้แก่

  • วันศุกร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ 2564 วันหยุดเทศกาลไหว้พระธาตุ (ภาคเหนือ)
  • วันเสาร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ 2564
  • วันอาทิตย์ที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564

นอกจากนี้ยังมีคำอธิบายเกี่ยวกับ “วันหยุดประจำภาค” จากเพจเฟซบุ๊ค “ไทยคู่ฟ้า” เอาไว้ดังนี้

  1. “วันหยุดประจำภาค” ใครหยุดบ้าง?

หน่วยงานที่รับผิดชอบให้รายละเอียดว่า วันหยุดประจำภาคไหน ก็ให้หยุดเฉพาะภาคนั้น และ “หยุดเฉพาะหน่วยงานของรัฐ” โดยดูจากสถานที่ตั้งของหน่วยราชการ รัฐวิสาหกิจ โรงเรียน ว่าอยู่ในจังหวัดไหน ก็ให้หยุดตามวันหยุดประจำภาคนั้น เท่ากับว่า 1 คน จะมีวันหยุดประจำภาค 1 วัน

ส่วนพนักงาน ลูกจ้าง ของภาคเอกชนและธนาคารให้พิจารณาตามความเหมาะสม แต่รัฐบาลก็ขอความร่วมมือเพื่อให้เกิดความพร้อมเพรียงกัน

  1. “วันหยุดประจำภาค” อื่นๆ มีวันไหนอีก?

ครม. มีมติเมื่อวันที่ 29 ธ.ค. 63 กำหนดวันหยุดราชการเพิ่มเป็นกรณีพิเศษ แบบหยุดทั้งประเทศ และวันหยุดราชการประจำภาค ประจำปี 2564 เป็นการเฉพาะ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวในปีนี้ โดยเฉพาะวันหยุดประจำภาค ได้แก่

ภาคเหนือ : วันศุกร์ที่ 26 มี.ค. 64 คือ วันหยุดประเพณีไหว้พระธาตุ

ภาคอีสาน : วันจันทร์ที่ 10 พ.ค. 64 คือ วันหยุดประเพณีงานบุญบั้งไฟ

ภาคใต้ : วันพุธที่ 6 ต.ค. 64 คือ วันหยุดประเพณีสารทเดือนสิบ

ภาคกลาง : วันพฤหัสบดีที่ 21 ต.ค. 64 คือ วันหยุดเทศกาลออกพรรษา

  1. จังหวัดไหนอยู่ภาคอะไร? ดูตามเกณฑ์กลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ

เกณฑ์การพิจารณาว่าจังหวัดไหนอยู่ภาคไหน ระบุว่าต้องอ้างอิงจากประกาศ “คณะกรรมการนโยบายการบริหารจังหวัด และกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ” ที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 17 พ.ย. 60 โดยหลักเกณฑ์วันหยุดประจำภาค กำหนดให้

  • ภาคกลาง (จังหวัดภาคกลาง+ตะวันออก) : กทม. ชัยนาท อยุธยา ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง นนทบุรี ปทุมธานี นครปฐม สมุทรปราการ กาญจนบุรี ราชบุรี สุพรรณบุรี ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี สมุทรสงคราม สมุทรสาคร ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว
  • ภาคใต้ (จังหวัดภาคใต้+ภาคใต้ชายแดน) : ชุมพร นครศรีธรรมราช พัทลุง สุราษฎร์ธานี สงขลา กระบี่ ตรัง พังงา ภูเก็ต ระนอง สตูล นราธิวาส ปัตตานี ยะลา
  • ภาคอีสาน : บึงกาฬ เลย หนองคาย หนองบัวลำภู อุดรธานี นครพนม มุกดาหาร สกลนคร กาฬสินธุ์ ขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ยโสธร ศรีสะเกษ อำนาจเจริญ อุบลราชธานี
  • ภาคเหนือ : เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน เชียงราย น่าน พะเยา แพร่ ตาก พิษณุโลก เพชรบูรณ์ สุโขทัย อุตรดิตถ์ กำแพงเพชร นครสวรรค์ พิจิตร อุทัยธานี

ที่มา : ไทยคู่ฟ้า