

- อุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค อว.ทุ่มงบเร่งด่วน
- งัดใช้เทคโนโลยีบวกนวัตกรรมฟื้นทักษะ SMEs 3 กลุ่ม
- “คนว่างงาน-แรงงานคืนถิ่น-อาชีพอิสระ” เดินหน้า 4 ภารกิจ 4 แผนสร้างงาน สร้างอาชีพใหม่
- ยกระดับพัฒนาทักษะ Reskill/Upskill/Newskill แห่งอนาคต
- สอดคล้องกับความต้องการ ภาคอุตสาหกรรมในปัจจุบัน
รศ.พิเศษ ดร.ดวงฤทธิ์ เบ็ญจาธิกุล ชัยรุ่งเรือง เลขานุการรัฐมนตรีว่าการและโฆษกกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เปิดเผยว่า อุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค เดินหน้าทำโครงการสร้างกำลังคนและทักษะแห่งอนาคตในภูมิภาค เพื่อตอบโจทย์การพัฒนานวัตกรรมของประเทศ นำไปสร้างทักษะเร่งด่วนให้ 3 กลุ่มแรก คือ คนว่างงาน แรงงานคืนถิ่น ผู้ประกอบอาชีพอิสระ สามารถสร้างงาน สร้างอาชีพ ด้วยตนเอง เพิ่มทักษะชั้นสูงและทํางานสมัยใหม่grbj,กําลังคนในชุมชนท้องถิ่น SMEs และภาคอุตสาหกรรมได้หลังโควิด-19 คลี่คลาย
โครงการนี้อุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค ได้รับงบประมาณจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) นำมาใช้ประโยชน์สร้างกำลังคนและทักษะแห่งอนาคต ตอบโจทย์ 4 ภารกิจหลัก 1.พัฒนานวัตกรรมและเศรษฐกิจของประเทศ 2.พัฒนาบุคลากรในสถานประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 ให้มีทักษะและความสามารถทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่จำเป็นจะต้องเตรียมพร้อมและการปรับธุรกิจเมื่อประสบภาวะวิกฤติ 3.สร้างระบบนิเวศเทคโนโลยีและนวัตกรรมในสถาบันการศึกษาและพื้นที่ในภูมิภาค และ4.พัฒนางานวิจัยให้เป็นเทคโนโลยีเข้มข้น ด้วย 4 แผนงาน ประกอบด้วย

แผนงานที่ 1 พัฒนาระบบนิเวศเพื่อสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ (Entrepreneurial Ecosystem Development) สร้างแนวคิดของผู้ประกอบการ (Entrepreneur Mindset) ให้นักศึกษาหรือผู้สำเร็จการศึกษาไม่เกิน 10 ปี ให้พร้อมก้าวเป็นผู้ประกอบการรุ่นใหม่ในอนาคต โดยใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีมาพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบ พร้อมให้คำปรึกษาด้านการทำแผนธุรกิจและการตลาด
แผนงานที่ 2 พัฒนาความสามารถทางเทคโนโลยีของบุคลากรภาคอุตสาหกรรม (Brain Power Skill Up) เพิ่มทักษะศักยภาพ ความสามารถทางเทคโนโลยีแห่งอนาคตในภูมิภาคให้บุคลากรภาคอุตสาหกรรม 3 ทักษะ 1.ด้านดิจิตอล2.การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) 3.การใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร
แผนงานที่ 3 สร้างผู้จัดการนวัตกรรม Certified Innovation Manager (CIM) สร้างระบบและนวัตกรรม รวมถึงสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษา ภาครัฐและภาคเอกชน
แผนงานที่ 4 ยกระดับเทคโนโลยีสู่ภาคอุตสาหกรรม (Technology to Industry Convergence) ยกระดับผลงานวิจัยเพื่อต่อยอดให้พร้อมสู่เชิงพาณิชย์ ส่งเสริมการทำงานร่วมกันระหว่างมหาลัย เอกชน และภาคอุตสาหกรรม

ปี 2564 มีโครงการเด่น ๆ ประกอบด้วย โครงการแรก “เครื่องวัดสัญญาณชีพพื้นฐานในรถฉุกเฉิน” บริษัทCMUgency จำกัด เป็นผู้จัดทำซึ่งถือเป็นหนึ่งในแผนพัฒนาระบบนิเวศเพื่อสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่คิดค้นผลิตภัณฑ์ต้นแบบจนสามารถใช้งานจริงได้ และหาช่องทางการเข้าสู่ตลาด เพื่อต่อยอดงานวิจัยไปเผยแพร่ให้เป็นที่รู้จักเพื่อช่วยเหลือผู้คนได้มากขึ้น ขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการขอมาตรฐานอุปกรณ์ทางการแพทย์เพื่อออกสู่เชิงพาณิชย์ให้เร็วที่สุด
โครงการที่ 2 “นวัตกรรมแผ่นดามกระดูกส่วนไหปลาร้าที่ยิงผิวด้วยอนุภาคละเอียด” โดย รศ.ดร. อนรรฆ ขันธะชวนะสังกัดภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เป็นหนึ่งในแผนงานยกระดับเทคโนโลยีสู่ภาคอุตสาหกรรม โดยได้รับการสนับสนุนงานวิจัยด้านนวัตกรรมการออกแบบอุปกรณ์ผ่าตัดที่ยังไม่เคยมีมาก่อนและมีประสิทธิภาพสูง ช่วยลดการนำเข้าจากต่างประเทศ ก้าวสู่ตลาดอุตสาหกรรมเครื่องมือทางการแพทย์ของไทยที่ยั่งยืนของไทย
สำหรับนวัตกรรมนี้ช่วยให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่มีคุณภาพมากขึ้นอย่างน้อย 20% วัดจากระยะเวลาการรักษา อีกทั้งยังช่วยแพทย์เพิ่มประสิทธิภาพการผ่าตัดได้ดีขึ้นกว่าเดิมอย่างน้อย 15% ซึ่งได้พัฒนาต้นแบบเตรียมพร้อมทดลองวางตลาด
ขณะนี้ทางอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ได้ประสานงานกับบริษัทคู่ค้าเพื่อต่อยอดเทคโนโลยีสู่เชิงพาณิชย์ ต่อไป
เรื่องโดย…#เพ็ญรุ่งใยสามเสน #gurutourza, www.facebook.com/penroongyaisamsaen