‘อียู’ ไม่พอใจ ‘แอสตร้าเซเนก้า’ ลดส่งมอบวัคซีน ส่วนไทยมาล๊อตแรก 5 หมื่นโดส จ่อปักเข็มแรก 14 กุมภาพันธ์

  • เร่งให้บริษัทผู้ผลิตชี้แจงเหตุผลลดส่งมอบไตรมาสแรกเหลือ 31 ล้านโดสจากสัญญา 80 ล้านโดส
  • ส่วนไทยได้รับมอบ 1.5 แสนโดสจากคำสั่งซื้อ 1 ล้านโดส ล๊อตแรก 5 หมื่นโดสมาจากโรงงานอิตาลี
  • เมอร์ค ผู้ผลิตเวชภัณฑ์จากสหรัฐถอดใจเลิกพัฒนาวัคซีนหันไปพันายารักษาโควิด19 แทน

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า  ทางสหภาพยุโรปหรืออยูแสดงความไม่พอใจบริษัทแอสตร้าเซเนาก้า (AstraZeneca)หลังบริษัทระบุว่ากำลังผลิตวัคซีนของโรงงานสำหรับยุโรปนั้นต่ำกว่าที่คาดไว้ทำให้ต้องลดปริมาณส่งมอบ จากเดิมสัญญาไว้ 80 โดสภายในเดือนมีนาคม เหลือเพียง 31 ล้านโดสเท่านั้น แม้ว่าจะได้รับเงินค่าวัคซีนล่วงหน้าไปแล้วถึง 336 ล้านยูโร และสัญญารวมต้องส่งมอบวัคซีนถึง 300 ล้านโดส

ทางอียูออกมาเร่งให้บริษัทหาทางแก้ไข และอธิบายปัญหาให้ชัดเจนกว่านี้ นอกจากนี้ยังเตือนว่ามีสิทธิขอเข้าตรวจสอบบัญชีการผลิตและการจัดส่งได้ หลังจากทางสหภาพยุโรปได้ข่าวว่าบริษัทส่งมอบวัคซีนให้ชาติต่างๆ นอกสหภาพยุโรป

ทั้งนี้วัคซีนจากบริษัทดังกล่าวถูกรายงานโดยอ้างคำพูด ของนายอนุทิน ชาญวีรกูล รมว.สาธารณสุข ว่าทางไทยเจรจาขอซื้อวัคซีนเพิ่มเติมจากไป 1 ล้านโดสแต่ได้เพียงแค่ 150,000 โดสเท่านั้น ก่อนหน้านี้เอกสารขอขึ้นทะเบียนจากแอสตร้าเซเนก้า ระบุว่าล็อตแรก 150,000 โดสนี้มาจากโรงงานในอิตาลี 

จำนวน 50,000 โดสแรก จะทยอยมาถึงประเทศไทยในเดือน กุมภาพันธฺ พร้อมฉีดให้กับบุคลากรทางการแพทย์โดยสมัครใจที่ทำหน้าที่อยู่ใน จ.สมุทรสาคร เป็นหลัก จำนวน 6,000 – 7,000 คน และจะเริ่มฉีดโดสแรกในวันที่ 14 กุมภาพันธ์

ส่วนอีก 100,000 โดส จะทยอยตามมาในเดือน มีนาคมและ เมษายน ทั้งนี้ล็อตแรก 150,000 โดสเป็นคนละล็อตกับกับ 26 ล้านโดสซึ่งจะผลิตภายในประเทศโดยบริษัทสยามไบโอไซเอนซ์ ที่ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยี

ขณะเดียวกันมีรายงานข่าว เมอร์คแอนด์โค (Merck & Co.) บริษัทเวชภัณฑ์ของสหรัฐ ระบุว่า กำลังยุติการพัฒนาวัคซีนต้านไวรัวโควิด-19 จำนวน 2 ชนิด หลังจากข้อมูลการทดลองในช่วงต้นพบว่าประสบความ ล้มเหลวในการสร้างการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันที่เทียบเท่ากับการติดเชื้อตามธรรมชาติหรือวัคซีนที่มีอยู่ และจะหันไปพัฒนาวิธีการรักษาแทน โดยจะพัฒนายา Molnupiravir คาดว่าจะสามารถเปิดเผยผลการทดสอบขั้นแรกได้ในช่วงปลายเดือนมีนาคม และจะเข้าสู่การทดสอบขั้นต่อไปในเดือนพฤษภาคมนี้

ทั้งนี้บริษัทยักษ์ใหญ่แห่งนี้ได้เข้ามาแข่งขันพัฒนาวัคซีนช้ากว่าค่ายอื่นๆ โดยใช้วิธีการแบบดั้งเดิมมากขึ้นในการโฟกัสไปที่ภาพโดยอาศัยไวรัสที่อ่อนแอ หนึ่งเรียกว่า V590 ซึ่งยืมเทคโนโลยีมาจากการฉีดวัคซีนอีโบลาของ เมอร์ค ในขณะที่อีกรุ่นหนึ่งคือ V591 ซึ่งใช้วัคซีนป้องกันโรคหัดที่ใช้ในยุโรป

บริษัทดังกล่าวเป็นรายล่าสุด หลังจากบริษัทซาโนฟี และแกลคโซสมิธไคลน์ ชะลอการเปิดตัววัคซีนไปช่วงปลายที่ผ่านมา