สื่อต่างชาติจับตาไทย… เลือกตั้งปี 66 ชี้พรรคตัวเต็ง “เพื่อไทย” ยังเสี่ยงโดนยุบพรรค 

  • เผยแม้เพื่อไทยจะชนะแบบแลนด์สไลด์ ชนะการเลือกตั้งแบบถล่มทลาย 
  • แต่เส้นทางของพรรคในฐานะรัฐบาล จะไม่มีคำว่าราบรื่น
  • สื่อญี่ปุ่นชี้อาจารย์จุฬาฯ ให้ความเห็นเผยปริศนาซ้ำซากยังอยู่ในไพ่ เพื่อไทยมีเหตุผลที่ต้องกังวล 
  • เผยเพราะรู้ว่าหน่วยงานผู้ตัดสินมีอคติ และพวกเขามีปุ่มต่างๆ ให้กด

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 17 เม.. 2566 Nikkei Asian Review หนังสือพิมพ์ท้องถิ่นในญี่ปุ่น ได้เสนอรายงานพิเศษ Thailand’s largest opposition faces dissolution fears after election ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (..) ในประเทศไทย ที่จะเกิดขึ้นวันที่ 16 ..2566 ซึ่งแม้พรรคเพื่อไทย จะถูกคาดหมายในฐานะตัวเต็งจากผลโพลหลายสำนัก และทางพรรคเองก็เชื่อว่าจะบรรลุเป้าหมาย “แลนด์สไลด์” ชนะการเลือกตั้งแบบถล่มทลาย แต่เส้นทางของพรรคเพื่อไทยในฐานะรัฐบาลจะไม่มีคำว่าราบรื่น ด้วยการต้องเผชิญกับความพยายาม “ยุบพรรค” อย่างต่อเนื่อง

ทั้งนี้ รายงานของสื่อญี่ปุ่นอ้างแหล่งข่าวในพรรคเพื่อไทย ที่พูดถึง “การประกันทางการเมือง (Political Insurance)” เพื่อจัดการกับภัยคุกคามต่างๆ ซึ่งรวมถึงการยุบพรรค ขณะที่ พิชัย นริพทะพันธุ์ (Pichai Naripthaphan) อดีตรัฐมนตรีกระทรวงพลังงาน ในฐานะรองประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์ของพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า พรรคต้องการที่นั่งอย่างน้อย 251 จาก 500 ที่นั่งเพื่อสร้างอำนาจในการเลือกตั้ง เพื่อจัดการกับภัยคุกคามนี้ และมีเป้าหมายที่จะได้ที่นั่ง 310 ที่นั่งเพื่อความมั่นคงทางการเมืองที่มากขึ้น

พรรคเพื่อไทยซึ่งถูกมองว่าเป็นตัวแทนของ ทักษิณ ชินวัตร (Thaksin Shinawatra) อดีตนายกรัฐมนตรี และผู้นำตระกูลการเมืองที่ทรงอิทธิพลที่สุดในประเทศไทย ส่งผู้สมัคร ..แบบแบ่งเขต 392 คน จาก 400 เขตเลือกตั้งทั่วประเทศ และส่งผู้สมัคร ..แบบบัญชีรายชื่อครบตามโควตา 100 คน ซึ่งผลโพลเมื่อเดือน มี..2566 ชี้ว่า พรรคเพื่อไทยได้รับความนิยมเหนือพรรคใหญ่อื่นๆ ที่เป็นคู่แข่ง เช่น พรรคพลังประชารัฐ พรรคภูมิใจไทย

อาทิ การสำรวจโดยสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้าโพลกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 49 เลือกพรรคเพื่อไทย เช่นเดียวกับการสำรวจของมหาวิทยาลัยสวนดุสิต (สวนดุสิตโพลกลุ่มตัวอย่างที่เลือกพรรคเพื่อไทยก็สูงถึงร้อยละ 46 แม้กระทั่งการสำรวจของหน่วยงานตำรรวจสันติบาล ก็ยังพบว่า พรรคเพื่อไทยน่าจะได้ ..265 ที่นั่งในสภา มากกว่าพรรคภูมิใจไทยถึง 4 เท่า

แต่ความเคลื่อนไหวของ ทักษิณ ผ่านแพลตฟอร์มสื่อสังคมออนไลน์ ในการวิพากษ์วิจารณ์การเมืองไทย รวมถึงการที่ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ (Nattawut Saikua) แกนนำมวลชนกลุ่มเสื้อแดง ซึ่งเป็นกลุ่มสนับสนุน ทักษิณ มาช่วยพรรคเพื่อไทยหาเสียง อาจเป็นช่องให้นำไปสู่การยุบพรรคเพื่อไทยได้ เนื่องจากเป็นบุคคลที่ถูกลงโทษจำคุกและห้ามยุ่งเกี่ยวกับการเมือง รวมถึงเป็นบุคคลภายนอกไม่ใช่สมาชิกพรรค ที่ผ่านมามีความพยายามร้องเรียนผ่าน สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) โดยขั้วการเมืองฝ่ายตรงข้ามที่มีแนวคิดอนุรักษ์นิยมอิงกองทัพ

กกตมีเวลา 60 วัน หลังจากการลงคะแนนเพื่อรับรองผล แต่ถึงแม้จะอนุมัติผลแล้ว กกต.ก็ยังสามารถติดตามพรรคการเมืองใดก็ได้ในรัฐสภาใหม่ตาม “ข้อมูลใหม่” ใดๆ ที่ได้รับเกี่ยวกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ถูกกล่าวหาว่าละเมิดกฎการเลือกตั้ง ดังนั้น แม้พรรคเพื่อไทยจะชนะการเลือกตั้งก็ยังต้องเผชิญกับภัยคุกคามดังกล่าว โดยปลายทางของคดีจะไปอยู่ที่ศาลรัฐธรรมนูญ องค์กรอิสระที่ถูกมองว่ามักมีคำตัดสินที่รุนแรงต่อกลุ่มที่เรียกว่า “ฝ่ายประชาธิปไตย

ย้อนไปในการเลือกตั้งเมื่อปี 2562 กกต.ได้ออกสูตรคำนวณ ..แบบที่ไม่เคยทราบมาก่อน เพื่อให้ที่นั่งในรัฐสภาแก่พรรคเล็กๆ ที่สนับสนุนกองทัพทันทีหลังจากปิดหีบเลือกตั้ง ซึ่ง กกต.นั้น มาจากการเลือกของ พล..ประยุทธ์ จันทร์โอชา (Prayuth Chan-ocha) นายกรัฐมนตรีในยุครัฐบาลรัฐประหาร ส่งผลให้พรรคพลังประชารัฐ ซึ่งได้ที่นั่ง..ในสภาเป็นอันดับ 2 ส่ง พล..ประยุทธ์ กลับมาเป็นนายกฯ อีกสมัย 

นอกจากนั้น ศาลรัฐธรรมนูญยังมีคำพิพากษายุบพรรคอนาคตใหม่ พรรคการเมืองที่มีฐานเสียงหลักเป็นเยาวชนคนหนุ่มสาว

ความกังวลของพรรคเพื่อไทยไม่ได้วิตกเกินจริงเสียทีเดียว ผู้เชี่ยวชาญต่างชี้ไปที่ประวัติศาสตร์การเมืองไทยตลอด 2 ทศวรรษที่ผ่านมา พรรคการเมืองหลายพรรคที่ก่อตั้งโดยทักษิณได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งทุกครั้งติดต่อกันตั้งแต่ปี2544 แต่พวกเขาทั้งหมดไม่ได้พ่ายแพ้เพราะบัตรเลือกตั้ง แต่โดยอำนาจของเครือข่ายอนุรักษ์นิยมอิงกองทัพ ไม่ว่าจะเป็นการถูกกองทัพทำรัฐประหารในปี 2549 และปี 2557 หรือการถูกศาลสั่งยุบพรรคในปี 2551

ทั้งนี้ รายงานของสื่อญี่ปุ่นทิ้งท้ายด้วยว่า รศ.ดร.ฐิตินันท์ พงษ์สุทธิรักษ์ (Thitinan Pongsudhirak) อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้ความเห็นว่า ปริศนาซ้ำซากยังอยู่ในไพ่ และพรรคเพื่อไทยมีเหตุผลที่ต้องกังวลเพราะรู้ว่าหน่วยงานผู้ตัดสินมีอคติ และพวกเขามีปุ่มต่างๆ ให้กด ขณะที่บรรดานักการทูตที่ประจำการในประเทศไทยก็กำลังจับตาดูการเลือกตั้งครั้งนี้ ส่วนต่างของชัยชนะจะมากน้อยเพียงใดในการพยายามต่อต้านพรรคเพื่อไทย และพวกเขาจะยอมเสี่ยงที่จะล้มล้างอาณัติประชาธิปไตยที่ชัดเจนหรือไม่