“นิด้าโพล” เปิดผลสำรวจประชาชนเรื่อง “แก้ไขรัฐธรรมนูญ…เอาไงดี?”

NIDA Poll
“นิด้าโพล” เปิดผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “แก้ไขรัฐธรรมนูญ…เอาไงดี?”

“นิด้าโพล” เปิดผลสำรวจประชาชน เรื่อง “แก้ไขรัฐธรรมนูญ…เอาไงดี?” พบประชาชนส่วนใหญ่ไม่เชื่อมั่น ต่อการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ จะทำให้การเมืองไทยดีขึ้น

  • พบประชาชนส่วนใหญ่ไม่เชื่อมั่น
  • ต่อการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
  • จะทำให้การเมืองไทยดีขึ้น

วันที่ 5 พ.ค.2567 ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจของประชาชน เรื่อง “แก้ไขรัฐธรรมนูญ…เอาไงดี?” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 30 เมษายน ถึง 1 พฤษภาคม 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,310 หน่วยตัวอย่าง

โดยเป็นเรื่อง เกี่ยวกับการลงประชามติเพื่อจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ การสำรวจอาศัย การสุ่มตัวอย่าง โดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่าง แบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Sampling)

และเก็บข้อมูล ด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0

ทั้งนี้ จากการสำรวจเมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชน เกี่ยวกับการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยไม่แก้ไขหมวด 1 บททั่วไป และหมวด 2 พระมหากษัตริย์ พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 50.07 ระบุว่า เห็นชอบ รองลงมา ร้อยละ 29.24 ระบุว่า ไม่เห็นชอบ ร้อยละ 12.37 ระบุว่า ไม่ไปลงคะแนน และร้อยละ 8.32 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

ด้านความเชื่อมั่นของประชาชนต่อการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่จะสำเร็จภายในระยะเวลาการดำรงตำแหน่งของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) ชุดปัจจุบัน พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 46.03 ระบุว่า ไม่เชื่อมั่นเลย รองลงมา ร้อยละ 31.37 ระบุว่า ไม่ค่อยเชื่อมั่น ร้อยละ 12.67 ระบุว่า ค่อนข้างเชื่อมั่น ร้อยละ 6.80 ระบุว่า เชื่อมั่นมาก และร้อยละ 3.13 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

ขณะที่ท้ายที่สุด เมื่อถามถึงความเชื่อมั่นของประชาชน ต่อการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ จะทำให้การเมืองไทยดีขึ้น พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 37.95 ระบุว่า ไม่เชื่อมั่นเลย รองลงมา ร้อยละ 26.03 ระบุว่า ไม่ค่อยเชื่อมั่น ร้อยละ 19.31 ระบุว่า ค่อนข้างเชื่อมั่น

ส่วน ร้อยละ 15.11 ระบุว่า เชื่อมั่นมาก และร้อยละ 1.60 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

ส่วนเมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 8.55 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ร้อยละ 18.63 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคกลาง ร้อยละ 17.86 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 33.35 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

อีกร้อยละ 13.82 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ และร้อยละ 7.79 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออก ตัวอย่าง ร้อยละ 48.09 เป็นเพศชาย และร้อยละ 51.91 เป็นเพศหญิง

ขณะที่ ตัวอย่าง ร้อยละ 12.37 อายุ 18-25 ปี ร้อยละ 17.94 อายุ 26-35 ปี ร้อยละ 18.24 อายุ 36-45 ปี ร้อยละ 26.64 อายุ 46-59 ปี และร้อยละ 24.81 อายุ 60 ปีขึ้นไป ตัวอย่าง ร้อยละ 95.95 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 3.21 นับถือศาสนาอิสลาม และร้อยละ 0.84 นับถือศาสนาคริสต์ และศาสนาอื่น ๆ

สำหร้บตัวอย่าง ร้อยละ 35.58 สถานภาพโสด ร้อยละ 61.37 สมรส และร้อยละ 3.05 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ ตัวอย่าง ร้อยละ 23.82 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 36.87 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า

ทั้งนี้ร้อยละ 7.63 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 27.33 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 4.35 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า

อย่างไรก็ตาม ตัวอย่าง ร้อยละ 8.70 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 16.95 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 20.00 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ

ขณะที่ ร้อยละ 11.68 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 16.95 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 20.53 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน และร้อยละ 5.19 เป็นนักเรียน/นักศึกษา

นอกจากนี้ ตัวอย่างอีก ร้อยละ 22.68 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 22.21 รายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 29.16 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน10,001-20,000 บาท ร้อยละ 9.31 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001-30,000 บาท

ส่วน ร้อยละ 5.19 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001-40,000 บาท ร้อยละ 4.20 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 7.25 ไม่ระบุรายได้

ข่าวที่เกี่ยวข้อง: “ประชาธิปัตย์”ย้ำจุดยืนพรรคแก้รัฐธรรมนูญ

โพลชี้ประชาชนเห็นควรแก้รัฐธรรมนูญ