สื่อดังทั่วโลกเกาะติดการชุมนุมประท้วงในไทย พร้อมบทวิเคราะห์สิ่งที่จะเกิดขึ้นหลายมุมมอง

การเมืองไทยที่กำลังร้อนระอุได้รับความสนใจจากสื่อต่างชาติเป็นอย่างมากโดย VOA ได้รวบรวมจากสำนักข่าวใหญ่ๆเช่นเอพีและรอยเตอร์ลงภาพข่าวตำรวจปราบจลาจลปฏิบัติการยึดพื้นที่สลายกลุ่มผู้ประท้วงหลายพันคนที่มาชุมนุมบริเวณถนนพระราม 1 แยกปทุมวันในคืนวันศุกร์

หนังสือพิมพ์ฉบับใหญ่ๆ เช่นที่สหรัฐฯ อังกฤษ และฮ่องกง เสนอรายงาน บทวิเคราะห์และบทบรรณาธิการ หลายเเง่มุม ตั้งแต่ทางการไทยใช้ พรก. ฉุกเฉินร้ายแรงในพื้นที่กรุงเทพมหานคร หลังจากที่ในวันที่ 14 ตุลาคม 2563

New York Times เสนอข่าวการประท้วงในรูปแบบวิดีโอ South China Morning Post เกาะติดการสลายการชุมนุมที่เจ้าหน้าที่ใช้นำ้แรงดันสูงฉีดใส่ผู้ประท้วง และ

Financial Times ตามข่าวการประท้วงในสัปดาห์นี้เช่นกัน ส่วน Aljazeera รายงานการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในกรุงเทพฯ

Washington Post ออกรายงานของสำนักข่าว Bloomberg ที่พยายามอธิบายว่าเหตุใดประชาชนจึงออกมาชุมนุมต่อต้านรัฐบาลอีกครั้ง โดยกล่าวถึงความเป็นมาของการเคลื่อนไหวและข้อเรียกร้องต่างๆ รวมถึงจุดเปลี่ยนที่สำคัญจากการที่นักเคลื่อนไหวเปิดประเด็นเรื่องการปฏิรูปที่กระทบต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ บทความดังกล่าวพูดถึงอนาคตของการเมืองไทย ที่ความขัดเเย้งระหว่างของกองทัพและประชาชนอาจเดินสู่ทางตันที่ทำให้ประเทศไทยเสี่ยงต่อวิกฤติการเมืองและการทำรัฐประหาร

Bloomberg ยังได้ สัมภาษณ์นักวิชาการเกี่ยวกับสถานการณ์ของไทย และพาดหัวว่าอาจเกิดการชุมนุมนอกเขตกรุงเทพมหานคร ที่ขณะนี้อยู่ภายใต้กฎหมายสถานการณ์ฉุกเฉิน สำนักข่าว Bloomberg เสนอทัศนะของ ผศ.ดร.พรรณชฎา ศิริวรรณบุศย์ แห่งคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ที่กล่าวว่า การประกาศสถานการ์ฉุกเฉิน น่าจะทำให้เติมเชื้อไฟให้แก่การเคลื่อนไหวซึ่งขณะนี้ได้รับเเรงหนุนเพิ่มขึ้น และผู้ประท้วงน่าจะเดินหน้าเคลื่อนไหวต่อไป เพราะไม่พอใจที่รัฐบาลไม่ฟังการเรียกร้องของพวกตน

ขณะเดียวกันสื่อ NikkeiAsia รายงานข่าวที่แสดงทัศนะของ รศ.ดร.อภิชาต สถิตนิรามัย แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่กล่าวว่า นักศึกษาและผู้ประท้วงคนอื่นๆคงไม่ถอยในเวลานี้ เขาบอกว่า ผู้ประท้วงจะพยายามหลายวิถีทางที่จะท้าทายการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน เพื่อที่จะให้ประชาคมโลกเห็นว่ารัฐบาลไทยไม่สามารถปกครองประเทศได้

ส่วน The Guardian ที่อังกฤษลงบทบรรณาธิการว่าด้วยการประท้วงและสถาบันพระมหากษัตริย์ โดยพาดหัวว่าธรรมเนียมของการเเสดงความอ่อนน้อมและการเคารพได้สิ้นสุดลง

กองบรรณาธิการได้เขียนว่า กระเเสต่อต้านสถาบันฯ เริ่มต้นจากกลุ่มคนที่ส่วนมากมีรายได้น้อยและกลุ่ม ‘คนเสื้อเเดง’ ในชนบทที่สนับสนุนอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร แต่ดูเหมือนว่ากลุ่มก้อนดังกล่าวกับการเคลื่อนไหวเรียกร้องประชาธิปไตยของกลุ่มชนชั้นกลางในเขตเมือง ที่มีรากความคิดจากการบ่มเพาะของสถาบันอุดมศึกษาและองค์กรเอ็นจีโอ

The Guardian แสดงความเห็นว่าฝ่ายฐานอำนาจปัจจุบันดูเหมือนจะว่าไม่สามารถเข้าใจได้ว่ายุคเเห่งการการเเสดงความอ่อนน้อมและการเคารพได้จบลงแล้วท่ามกลางความเหลื่อมลำ้ทางเศรษฐกิจในประเทศที่ที่คนรวยที่สุด 1% ของประชากรควบคุมความมั่งคั่งของสินทรัพย์ 67% ของประเทศกองบรรณาธิการของ The Guardian กล่าวว่าไม่ใช่เรื่องน่าประหลาดในที่ชนชั้นผู้นำจะไม่ต้องการให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและคนส่วนที่เหลือจะพอใจกับสภาพความแตกต่างที่เป็นอยู่ดังนั้นตามตึงเครียดในประเทศไทยน่าจะเพิ่มระดับขึ้นจนกว่าจะเกิดความลงตัวใหม่ที่ดีกว่าเดิมทางการเมืองและเศรษฐกิจรวมถึงสถานะของสถาบันกษัตริย์ด้วย

บทบรรณาธิการดังกล่าวยังได้เรียกร้องให้รัฐบาลอังกฤษและชาติต่างๆกดดันให้รัฐบาลไทยเคารพเสรีภาพของผู้ประท้วง

CNBC กล่าวว่าเศรษฐกิจไทยกำลังเจอ “ปัจจัยลบคู่” จากโควิด-19 และการประท้วง บทความนี้อ้างการวิเคราะห์ของ นักเศรษฐศาสตร์ของธนาคารมิซูโฮ Lavanya Venkateswaran ที่กล่าวว่า อุณหภูมิการเมืองของไทยหลังการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินจะสร้างความบาดเจ็บต่อเศรษฐกิจไทย ที่กำลังระส่ำจากผลกระทบของโคโรนาไวรัส ทั้งนี้ธนาคารมิซูโฮ ได้ปรับประมาณการณ์เศรษฐกิจไทยในปีนี้ให้ตำ่ลง โดยคิดว่าจีดีพีของไทยจะหดตัว 6.3% ถึง 7.5%.

The Wall Street Journal ตามข่าวประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในกรุงเทพฯ และCNN รายงานการดำเนินการเอาผิดต่อผู้ประท้วง โดยพาดหัวว่า ผู้ประท้วงสองรายอาจต้องโทษจำคุกตลอดชีวิต จากการแสดง “ความรุนแรงต่อพระราชินี”

ที่มา – https://www.voathai.com/a/foreign-press-thai-protest-coup-risk/5624700.html