“ศักดิ์สยาม”คอนเฟิร์มหั่นราคารถไฟฟ้า15บาททุกเส้นทาง

“ศักดิ์สยาม”ตื่นสั่ง ปลัดคมนาคม อีกครั้งเร่งหาข้อสรุปค่าโดยสาร15 บาทต่อเที่ยวต่อสาย ให้ได้ข้อสรุปใน3 เดือน หวังลดปัญหาค่าครองชีพประชาชน งานนี้เอาจริงไม่กลับไปกลับมา พร้อมแสดงความเป็นห่วงถึงความไม่ปลอดภัยรถไฟฟ้าใต้ดินหากเกิดเหตุฉุกเฉิน 

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ  รมว.คมนาคม กล่าวว่า ในส่วนความคืบหน้าในการปรับลดค่าโดยสารรถไฟฟ้า เหลือ 15 บาท นั้นยืนยันว่าก่อนหน้านี้ตนไม่ไม่บอกชัดว่าจะลดราคาค่าโดยสารรถไฟฟ้าเหลือ15 บาท แต่ขณะนี้ตนมีนโยบายชัดเจนแล้ว และให้ นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคม ไปศึกษาความเป็นไปได้และให้ข้อสรุปภายใน3 เดือนจากนี้(ส.ค.-ก.ย.-ต.ต.)ที่จะปรับลดค่าโดยสารรถไฟฟ้าลงเหลือ 15 บาท/สาย/เที่ยว/คน ซึ่งไม่ใช้ตลอดเส้นทางที่ผู้โดยสารเดินทาง ซึ่งในเบื้องต้นคาดว่าจะสามารถทำได้ก่อนคือ เส้นทาง รถไฟฟ้าสายสีม่วง ,รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิ้งก์ เป็นต้น   แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นการดำเนินการดังกล่าวจะต้องไม่กระทบต่อภาระงบประมาณของภาครัฐบาล   

ส่วนกรณีที่มีกระแสข่าวว่าอาจจะใช้วิธีการไปเจรจากับเอกชนเจ้าของสัมปทานรถไฟฟ้า เพื่อขอให้ปรับลดราคาโดยแลกกับผลประโยชน์จากรัฐ อาทิ การขยายระยะเวลาสัมปทานนั้น ขณะนี้ยังไม่อยากพูดแต่ขณะนี้คิดวิธีไว้แล้ว  แต่ก็ต้องรอผลการศึกษาและมาตรการที่แต่ละหน่วยงานที่เสนอมาก่อน ซึ่งภายใน 3เดือนนี้จะได้ข้อสรุปแน่นอน

นายศักดิ์สยาม กล่าวต่อว่า จากที่ตนและ นายอธิรัฐ รัตนเศรษฐ รมช.คมนาคม และ นายถาวร เสนเนียม รมช.คมนาคม พร้อมผู้บริหารหน่วยงาน สังกัดกระทรวงคมนาคม ได้เปิดการทดลองการให้บริการรถไฟฟ้าใต้ดินสายสีน้ำเงิน ส่วนต่อขยายจำนวน 5 สถานีจากสถานีวัดมังกร-สถานีสามยอด-สถานีสนามไชย-สถานีอิสรภาพ-สถานีท่าพระ เมื่อวันจันทร์ที่ 29 ก.ค.ที่ผ่านมานั้น และมีบางช่วงคือ จากสถานีสนามไช-สถานีอิสรภาพ เป็นช่วงที่ต้องลอดอุโมงค์ใต้แม่น้ำเจ้าพระยาตนเกิดความรู้สึกกังวลขึ้นมาว่า การลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยาระยะทางลอด750 เมตร เมื่อข้ามฝั่งแล้วถึงจะมีทางขึ้นบันไดซึ่งลึกกว่า 30เมตรเพื่อมาโผล่บนพื้นดิน จนรู้สึกว่าระยะทางดังกล่าวไกลเกินไปกว่าจะขึ้นพื้นดิน และหากมีเหตุฉุกเฉินเกิดขึ้นมา ทางการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.) และ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด(มหาชน)(บีอีเอ็ม)ควรจะมีมาตรการ หรือ ช่องทางในการขนถ่ายผู้โดยสารออกจากอุโมงค์ให้มีความชัดเจน หรือ มีแนวทางมากกว่าการเดินทางลอดอุโมงค์  


“ได้ข้อมูลว่า1ขบวนรถไฟฟ้า มี3โบกี้ บรรทุกคนได้1,000คน และจะเพิ่มได้มากสุดเป็น 2โบกี้ หรือบรรทุกได้2,000คน   ซึ่งผมกังวลเรื่องความปลอดภัย เพราะหากเกิดเหตุคาดไม่ถึงขึ้น จะทำให้ไม่เกิดอันตรายกับผู้โดยสารได้อย่างไร  เพราะสิ่งที่ผมเห็นมานั้น เราไม่ค่อยมั่นใจ เพราะทางหนีภัยในอุโมงค์ลอดใต้น้ำมีน้อยและอยู่ไกล   โดย750เมตรจึงจะมีปล่องที่มีบันไดหนีภัยภัย1จุด และบันไดยังมีความสูงต้องไต่เป็นระยะทางไกลถึง30เมตร และยังไม่รู้ว่าจะเข้าปล่องหนีภัยได้ที่ละกี่คน ซึ่งจะต้องมีการฝึกซ้อมก่อนการใช้บริการจริงด้วย เพื่อสร้างความมั่นใจให้พี่น้องประชาชน  และหากเกิดเหตุจะต้องไม่มีใครได้รับอันตราย เอ็มอาร์ที ต้องหามาตรการที่ทำให้ผู้โดยสารมั่นใจ เช่น หากอพยพขึ้นมาอยู่บนน้ำแล้วจะช่วยเหลือด้วยวิธีไหนต่อ “

นอกจากนี้ ยังกำชับให้ทุกหน่วยงานกวดขัดกล้องวงจรปิด หรือ ซีซีทีวีให้สามารถใช้งานได้จริงตลอดเวลา รวมทั้งเพิ่มระยะเวลาในการบันทึกและเก็บข้อมูลให้มากขึ้นเป็นอย่างต่ำ3-6เดือน ไม่ใช่บันทึกได้แต่ 7 วัน เพราะต้องการให้ออกมาตรการเชิงป้องกันไม่ใช่การแก้ปัญหา…