คนกรุงเตรียมเฮ!รถไฟฟ้าสีเขียวต่อขยายเปิดให้บริการถึงสถานีคูคตปลายปี63

วันนี้(8ก.ค.) บริษัท ระบบขนส่งมวลชน กรุงเทพ จำกัด(มหาชน) หรือ บีทีเอส พร้อมด้วยผู้บริหารการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยและบริษัทกรุงเทพธนาคม จำกัด ได้รวมกันทดลองระบบการให้บริการรถไฟฟ้าสายสีเขียว 1 สถานี จากสถานีหมอชิตถึงสถานีห้าแยกลาดพร้าว โดยมีกำหนดที่จะเปิดให้บริการฟรี ส่วนต่อขยายสายสีเขียวภายในวันที่ 11 สิงหาคมนี้ จำนวน1สถานีก่อนและมีแผนที่จะเปิดเพิ่มอีก 4สถานีจากสถานีลาดพร้าว ไปยัง สถานนี เกษตรศาสตรภายในสิ้นปี 62

โดยผู้โดยสารที่จะใช้บริการจากสถานีหมอชิตไปยังสถานีลาดพร้าวในข่วง 07.00-09.00 น. และข่วง 17.00-19.00 น. นั้นจะต้องลงต่อขบวนที่สถานีหมอชิต ส่วนเวลาอื่นสามารถใช้บริการยาวถึงสถานีลาดพร้าวได้เลย

นายสุรเชษฐ์ เหล่าพูลสุข รองผู้ว่าการ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย หรือ รฟม เปิดเผยว่า ความคืบหน้าในส่วนของงานโยธา ที่รฟม.รับผิดชอบถือว่าเสร็จสมบูรณ์ 99.99 % แล้ว ก่อนที่โครงการจะเปิดให้ประชาชน ได้ทดลองใช้บริการ ในวันที่ 11 สิงหาคมนี้ และทราบว่า ทางกรุงเทพมหานคร จะเรียนเชิญพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดการเดินรถในวันดังกล่าว

ทั้งนี้มั่นใจว่า การเปิดให้บริการรถไฟฟ้าสีเขียว ถึงสถานี 5 แยกลาดพร้าวนี้ จะส่งผลดี ทั้งในแง่ ของการลดความแออัด ของสถานีหมอชิต และช่วยส่งคนหรือผู้โดยสารจากทางด้านทิศเหนือของเมือง เข้าสู่ระบบรถไฟฟ้าบีทีเอส ได้มากขึ้น เนื่องจากบริเวณ 5 แยกลาดพร้าวถือเป็นจุดใหญ่ที่มีผู้เดินทางพลุกพล่าน และมีความต้องการใช้งานระบบรถไฟฟ้าจำนวนมาก

อย่างไรก็ตามแผนงานของ รฟม. ได้ตั้งเป้าหมายการเปิดให้บริการ รถไฟฟ้าสายสีเขียว หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ให้เร็วขึ้น โดยหลังจากเปิดให้บริการถึงสถานีห้าแยกลาดพร้าวในวันที่ 11 สิงหาคมนี้แล้ว ก็จะเปิดใช้ต่อขยายถึงแยกมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในเดือนธันวาคมปีนี้ และจะเปิดใช้ตลอดเส้นทาง 16 สถานีถึงสถานคูคตภายในปลายปี 2563

ด้านนายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด(บีทีเอส) เปิดเผยว่าการเปิดเดินรถถึงสถานี 5 แยกลาดพร้าว เชื่อว่าจะทำให้ ผู้โดยสารของรถไฟฟ้าบีทีเอส ที่ปัจจุบันนี้ มีอยู่เฉลี่ยเกือบ 800,000คนต่อวัน เพิ่มขึ้นประมาณ 4-5 % ส่วนการเดินรถให้บริการฟรี ถึง 5 แยกลาดพร้าว จะเริ่มตั้งแต่วันที่ 11 สิงหาคมนี้ จามีระยะเวลานานแค่ไหน กทม จะเป็นผู้กำหนด

ส่วนประเด็นเรื่องค่าโดยสาร ที่มีการเจรจาในคณะกรรมการที่มีการจัดตั้งขึ้น ตาม ม.44 และในคณะกรรมการฯ กทม. ได้เจรจาอยากให้มีการจัดเก็บค่าโดยสารสายสีเขียวรวมส่วนต่อขยาย ไม่เกิน 65 บาทตลอดสายนั้น ยอมรับว่าเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก

ขณะที่ประเด็นเรื่องค่าโดยสารรถไฟฟ้าของไทย ซึ่งมีการวิพากษ์วิจารณ์ว่ามีค่าโดยสารที่แพงกว่าเมืองอื่นๆในต่างปนะเทศท ที่มีรถไฟฟ้าให้บริการนั้น นายสุรพงษ์ กล่าวว่า การจะเปรียบเทียบกับเมืองอื่นนั้น ต้องพิจารณารายละเอียดด้วยว่านโยบายของรัฐบาลในประเทศนั้นเป็นอย่างไร เช่น รถไฟฟ้าในนิวยอร์ค รัฐบาลก็มีการจ่ายเงินชดเชยค่าโดยสารให้ เช่นเดียวกันกับไทย หากภาครัฐมีนโยบายต้องการตรึงค่าโดยสารให้ถูกก็คงต้องทำในลักษณะเดียวกัน