“พริษฐ์” ย้อน “เศรษฐา” ถามหาจุดยืนเรื่องแก้รัฐธรรมนูญ-กระจายอำนาจ

“พริษฐ์” จี้ “นายกฯเศรษฐา” เรื่องแก้รัฐธรรมนูญถามอำนาจสูงสุดในประเทศนี้เป็นของใครเตือนอาจถูกจดจำเป็น‘รัฐบาลเศษส่วน’

นายพริษฐ์ วัชรสินธุ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล อภิปรายในการแถลงนโยบายรัฐบาลต่อรัฐสภา โดยเฉพาะต่อนโยบายทางการเมือง และการแก้รัฐธรรมนูญ โดยระบุว่าตลอดเวลา 120 วัน ที่ผ่านมานับตั้งแต่วันเลือกตั้ง ตนเชื่อว่าคำถามหนึ่งในใจของประชาชนหลายคน คือคำถามที่ว่าอำนาจสูงสุดในประเทศนี้เป็นของใคร ซึ่งจากเหตุการณ์ที่ผ่านมา ที่นำมาสู่การจัดตั้งรัฐบาลพิเศษครั้งนี้ ตนขอทำนายว่า แม้เราจะมีรัฐบาลใหม่ที่ไม่ได้นำโดยหัวหน้าคณะรัฐประหารแล้ว แต่รัฐบาลใหม่นี้จะยังคงไม่ยอมให้อำนาจสูงสุดในประเทศเป็นของประชาชน

เพราะเมื่อเปิดอ่านคำแถลงนโยบายของรัฐบาลและวิเคราะห์ทั้งคำพูดที่อยู่ในเอกสาร และที่ตกหล่นขาดหายไป จะเห็นได้ชัดถึงอาการที่ตนขอเรียกว่า “รัฐที่ไม่ยอมเปลี่ยนแปลง” ไม่ว่าจะเป็นรัฐธรรมนูญที่ดูแล้วรัฐบาลคงจะไม่ยอมให้ประชาชนทั่วประเทศมีอำนาจขีดเขียนขึ้นมาใหม่ทั้งฉบับ หรือรัฐราชการที่คงไม่ยอมให้เกิดการกระจายอำนาจมาสู่ประชาชนในแต่ละพื้นที่

สำหรับเรื่องรัฐธรรมนูญ พรรคก้าวไกลยืนยันมาตลอดว่ารัฐธรรมนูญฉบับ 2560 มีปัญหาทั้งที่มา กระบวนการและเนื้อหา ที่ขาดความชอบธรรมทางประชาธิปไตย โดยความจริงทุกฝ่ายเคยได้ข้อสรุปร่วมกันมาแล้วว่าประเทศนี้ควรต้องมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ หากย้อนไปเมื่อเดือน .. 2563 พวกเราทุกฝ่ายในรัฐสภาแห่งนี้ได้ร่วมกันลงมติกันอย่างท่วมท้น ด้วยคะแนนเห็นชอบถึง 88% ของสมาชิกรัฐสภา เพื่อรับหลักการร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญที่จะนำไปสู่การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ดังนั้น เป้าหมายของรัฐบาลนี้ จึงไม่ควรเป็นอะไรที่ซับซ้อนไปกว่าการเดินหน้าสู่การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ที่มีที่มาของกระบวนการ และเนื้อหา ที่มีความชอบธรรมทางประชาธิปไตย

แต่หากนำเอานโยบายแก้รัฐธรรมนูญที่นายเศรษฐาและพรรคเพื่อไทยได้เคยหาเสียงไว้ อ้างอิงจากเอกสารที่พรรคเพื่อไทยส่งให้ กกตก่อนเลือกตั้ง มาเทียบกับนโยบายแก้รัฐธรรมนูญของรัฐบาล ที่ปรากฎอยู่ทั้งหมด 7 บรรทัด 94 คำในเอกสารคำแถลงนโยบาย จะเห็นได้ว่าจุดยืนและนโยบายของนายเศรษฐา และนายกรัฐมนตรีเศรษฐา ต่างกันราวฟ้ากับเหว ในอย่างน้อยใน 4 คำถาม คือ

1.รัฐบาลจะสนับสนุนการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่หรือไม่ เพราะเมื่อมาเป็นนายกรัฐมนตรีเศรษฐาแล้ว ท่านบอกแต่เพียงว่าจะ “หารือแนวทาง” ในการจัดทำรัฐธรรมนูญเท่านั้น ดังนั้น ตนจึงต้องทวงถามนายกรัฐมนตรีตรงๆ ว่าจะยังสนับสนุนให้มีการจัดทำรัฐธณรมนูญฉบับใหม่หรือไม่ หรือเมื่อท่านได้ประโยชน์จากรัฐธรรมนูญ 2560 ที่ทำให้ท่านได้เป็นนายกรัฐมนตรีในวันนี้ จุดยืนของท่านเลยเปลี่ยนแปลงไป

2.รัฐบาลจะให้ใครมาร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ สมัยเป็นนายเศรษฐา ท่านยืนยันชัดเจนว่าจะให้สภาร่างรัฐธรรมนูญ(สสร.) ที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนมาจัดทำ แต่พอมาช่วงหลังๆ ท่านกลับเริ่มเงียบต่อคำถามที่สังคมมีต่อรูปแบบของ สสรทำให้ตนเริ่มกังวลว่าท่านจะกลับลำจากรูปแบบ สสรที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน มาเป็นรูปแบบ สสรที่มีส่วนผสมของการแต่งตั้ง เพื่อเปิดช่องให้เครือข่ายอำนาจเดิมที่สนับสนุนรัฐบาลนี้ และรัฐบาลก่อนหน้าเข้ามาแทรกแซง ควบคุม และล็อกสเปก สสรหรือไม่ ซึ่งก็จะนำไปสู่การล็อกสเปกเนื้อหาของรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ให้ไม่มีอะไรที่ก้าวหน้ากว่าหรือแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญจากรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันด้วย

และเมื่อมาถึงวันนี้ ตนก็เริ่มกังวลมากขึ้นไปอีกขั้นหนึ่ง เพราะในคำแถลงนโยบายของรัฐบาล ไม่มีการเขียนคำว่าสสร.” ให้ปรากฎแม้แต่ครั้งเดียว ดังนั้นตนจึงต้องทวงถามว่าตกลงนายกรัฐมนตรีจะยังให้มี สสรมาร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่อยู่หรือไม่ หรือจะปล่อยให้อำนาจในการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ตกเป็นของรัฐสภาแห่งนี้ ที่หนึ่งในสามประกอบไปด้วย สวจากการแต่งตั้ง ที่มีผลงานในการขัดขวางการแก้ไขรัฐธรรมนูญแทบทุกครั้งตลอด 4 ปีที่ผ่านมา

3.รัฐบาลจะล็อกเนื้อหาอะไรบ้างในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ สมัยเป็นนายเศรษฐา ท่านพร้อมจะให้เกียรติประชาชนและเปิดกว้างต่อทุกความฝัน ด้วยการให้อำนาจ สสรไปถกเถียงและพิจารณาเนื้อหาใหม่ทั้งฉบับ โดยมีเงื่อนไขข้อเดียวที่ล็อกไว้ คือรูปแบบการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ซึ่งแม้ท่านไม่เขียนไว้ ก็จะเป็นเช่นนั้นอยู่แล้วตามมาตรา 255 ของรัฐธรรมนูญ 2560

แต่พอมาเป็นนายกฯ เศรษฐา ท่านกลับไปเพิ่มเงื่อนไข จากเดิมที่ท่านล็อกแค่เรื่องรูปแบบการปกครอง ตอนนี้ท่านล็อกให้ไม่มีการแก้อะไรสักคำในหมวด 1 (บททั่วไปและหมวด 2 (พระมหากษัตริย์)

วันนี้เราคงไม่มีเวลาถกกันในรายละเอียดว่า 19 มาตราในหมวดพระมหากษัตริย์ มีส่วนไหนบ้างที่อาจปรับปรุงให้ดีขึ้นได้โดยไม่กระทบรูปแบบการปกครอง แต่ตนคิดว่านายกรัฐมนตรีกำลังกังวลเกินเหตุ เพราะการแก้ไขข้อความในหมวด 1 และหมวด 2 ไม่ได้เท่ากับการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครอง และทุกครั้งที่มีการจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ ทั้งในปี 2540, 2550 และ 2560 เนื้อหาในหมวด 1 และหมวด 2 ก็ถูกปรับปรุงแก้ไขมาโดยตลอด

แต่สิ่งที่อันตรายกว่านั้น คือความกังวลเกินเหตุของนายกรัฐมนตรี อาจหวนกลับมากระทบระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขเสียเอง เพราะหากมีประชาชนอยากปรับปรุงเนื้อหาบางส่วนในหมวดพระมหากษัตริย์โดยที่ไม่กระทบรูปแบบการปกครอง การล็อกไม่ให้แม้แต่จะพูดถึงได้ด้วยเหตุและผล ในพื้นที่ที่ควรปลอดภัยอย่างสสรอาจจะยิ่งทำให้คำถามในใจของเขาดังขึ้น ว่าตกลงอำนาจสูงสุดในประเทศนี้เป็นของใคร 

หรือหากวันหนึ่งในระหว่างที่  สสรกำลังร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ คนที่อยากแก้ไขเนื้อหาในหมวด 1 และ 2 กลับไม่ใช่ประชาชนทั่วไป นายกรัฐมนตรีจะทำอย่างไร จะยืนยันอย่างแข็งขันกลับไปกับบุคคลท่านนั้นว่าแก้ไขไม่ได้ หรือจะยอมทำตามความประสงค์ของบุคคลดังกล่าว โดยอาศัยกระบวนการนอกรัฐธรรมนูญ เหมือนกับที่ พล..ประยุทธ์ เคยถูกตั้งคำถามเกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2560 หลังจากผ่านประชามติปี 2559 ไปแล้ว จนทำให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์ที่กระทบไปถึงสถาบันพระมหากษัตริย์มาจนถึงทุกวันนี้

4.รัฐบาลจะเริ่มดำเนินการการแก้ไขรัฐธรรมนูญอย่างไร สมัยเป็นนายเศรษฐา พรรคเพื่อไทยเคยแถลงไว้อย่างชัดเจนว่าในการประชุม ครมนัดแรก จะมีการออกมติให้มีการเดินหน้าจัดทำประชามติ เพื่อนับหนึ่งการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ทันที แต่พอมาเป็นนายกรัฐมนตรีเศรษฐา แม้จะบอกว่าเรื่องรัฐธรรมนูญเป็นเรื่องเร่งด่วน แต่ในเอกสารกลับไม่มีความชัดเจนว่าท่านจะดำเนินการอย่างไร นอกจากข้อความว่าท่านจะ “หารือแนวทางในการทำประชามติ

ท่านยืนยันได้ไหม ในการประชุม ครมนัดแรกที่จะเกิดขึ้นในวันนี้ พวกท่านจะมีมติออกมาเพื่อให้เดินหน้าในการจัดทำประชามติ และนับหนึ่งสู่การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และท่านยืนยันได้ไหมว่าคำถามที่ท่านจะใช้ในประชามติจะเป็นคำถามที่ยืนยันหลักการเรื่องการจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ และ สสรที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน” นายพริษฐ์ กล่าว

นายพริษฐ์ กล่าวต่อว่า หากกล่าวโดยสรุปเรื่องนโยบายรัฐธรรมนูญ ในขณะที่นโยบายของนายเศรษฐา ทั้งชัดเจนและตรงจุด แต่นโยบายของนายกรัฐมนตรีเศรษฐากลับหาความชัดเจนไม่ได้แม้แต่เรื่องเดียว แต่ในเมื่อท่านไม่ลุกขึ้นมายืนยันจุดยืนเดิมที่นายเศรษฐาเคยประกาศไว้ ตนก็ขออนุญาตไม่เชื่อว่านายกรัฐมนตรีเศรษฐาจะนำพาเราไปสู่เป้าหมายของการมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่มีความชอบธรรมทางประชาธิปไตยได้

ไม่น่าเชื่อว่าการเติม “.ไก่” แค่ตัวเดียวจาก “นายเศรษฐา” เป็น “นายกฯเศรษฐา” จะทำให้จุดยืนท่านเปลี่ยนไปได้ขนาดนี้ ซึ่งสำหรับตนแล้ว “.” ที่เพิ่มขึ้นมานี้ ย่อมาจากคำว่า “กลัว” และ คำว่า “เกรงใจ” ที่อธิบายถึงความรู้สึกที่ท่านมีต่อพรรคร่วมและเครือข่ายที่ทำให้ท่านได้เป็นนายกรัฐมนตรีในวันนี้ จนไม่กล้าผลักดันรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ของประชาชนตามที่เคยได้ให้สัจจะไว้