พรรครัฐบาลสิงคโปร์ชนะเลือกตั้ง แต่ฝ่ายค้านได้ที่นั่งสูงเป็นประวัติการณ์ส่งสัญญาณชาวสิงคโปร์ไม่พอใจแก้ปัญหาโควิด

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า เมื่อวันที่ 10 กรกฏาคม ที่ผ่านมา ประเทศสิงคโปร์ได้มีการเลือกตั้ง ซึ่งเป็นประเทศแรกหลังวิกฤการณ์โควิด-19 ซึ่งมีการเลื่อนเปิดให้ประชาชนลงคะแนนได้ถึง 22.00 น. โดยการนับคะแนนจนถึงเช้าวันที่ 11 กรกฏาคม ปรากฏว่าพรรคกิจประชาคม (People’s Action Party:PAP) ซึ่งเป็นพรรครัฐบาลยังคงชนะการเลือกตั้ง แต่ทว่าพรรคฝ่ายค้านกลับได้เก้าอี้มากที่สุดในประวัติศาสตร์ ซึ่งอาจเป็นการส่งสัญญาณว่าประชาชนชาวสิงคโปร์ไม่พึงพอในการรับมือการแพร่ระบาดโควิด-19 

โดยพรรค PAP ของรัฐบาลชนะเลือกตั้งได้ไป 83 ที่นั่ง ขณะที่พรรคแรงงาน (Workers’ Party: AP) ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้านได้ไป 10 ที่นั่ง ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่มีสมาชิกฝ่ายค้านปรากฏตัวในรัฐสภาสิงคโปร์ เกิน 10%

คะแนนนิยมที่เปลี่ยนไปแม้แต่เพียงเล็กน้อยของพรรคกิจประชาชน อาจนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางนโยบายครั้งใหญ่ และในขณะที่ประเทศแห่งนี้คุมเข้มสื่อมวลชน และมีกฎระเบียบต่างๆที่จำกัดเสรีภาพการชุมนุมและการแสดงออก รวมถึงอุปสรรคอื่นๆที่มีต่อฝ่ายค้าน เหล่าผู้สนับสนุนของฝ่ายค้านจึงหยิบยกผลคะแนนในเบื้องต้น เป็นหลักชัยที่แสดงให้เห็นถึงเข้มแข็งของพวกเขา

หลังจากครองอำนาจมาตั้งแต่สิงคโปร์ประกาศเอกราชในปี 1965 พรรคกิจประชาชนได้รับคาดหมายอย่างกว้างขวางว่าจะชนะการเลือกตั้ง ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่ามันอาจเป็นชัยชนะครั้งสุดท้ายของนายกรัฐมนตรี ลี เซียนลุง ก่อนที่เขาจะเกษียณตนเองในฐานะผู้นำของประเทศ

“ลี เซียนลุง” ลูกชายของ ลี กวนยู ผู้ก่อตั้งสิงคโปร์ ซึ่งครองเก้าอี้นายกรัฐมนตรีมาตั้งแต่ปี 2004 ประกาศยุบสภาและจัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปท่ามกลางประเทศประสบกับการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 สูงเป็นอันดับสองของอาเชียน