ปฎิบัติการรักคุณเท่าฟ้า…หอบแผนฟื้นฟูการบินไทยเข้าครม.-ดันธปท.ซื้อหุ้นกู้7หมื่นล้าน-คลังลดสัดส่วนการถือหุ้น

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การประชุม คณะรัฐมนตรี(ครม.)ในวันอังคารที่ 5 พ.ค.นี้ ทางสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ(คนร.) กระทรวงการคลัง จะนำแผนการฟื้นฟูฐานะของบริษัท การบินไทย จำกัด(มหาชน) เข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุม โดยแผนการตามโครงการฟื้นฟูฐานะการบินไทยดังกล่าวมีความหนา 60 หน้ากระดาษด้วยกัน เร่ิมต้นจากสาระสำคัญของการรักษาสถานภาพของการบินไทยให้คงเป็นสายการบินแห่งชาติต่อไปภายใต้การอัดฉีดสภาพคล่องให้การบินไทยสามารถดำรงการดำเนินงานต่อไป และเตรียมความพร้อม รวมทั้งจัดทำแผนในการเปิดทำการบินต่อไปในช่วงเวลาหลังการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ยุติลง

โดยแผนดังกล่าวได้กำหนดให้ ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ภายใต้ความร่วมมือของกระทรววงการคลัง และสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์(ก.ล.ต.) เข้าซื้อตราสารหนี้ของ การบินไทย ที่ออกมาก่อนหน้านี้ มูลค่า 70,000 ล้านบาท เพ่ือให้สามารถไถ่ถอนได้ตามกำหนดระยะเวลาที่ระบุไว้ นอกจากนี้ให้กระทรวงการคลังช่วยแก้ไขการขาดแคลนสภาพคล่องให้การบินไทยสามารถบริหารธุรกิจการบินของตนได้ต่อไป

ทั้งนี้จะเห็นได้ว่า สถานภาพการบินไทย ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จะทำหน้าที่เป็นบริษัทโฮลด้ิงคอมปานี โดยใช้โมเดลธุรกิจของบริษัท ปตท.จำกัด(มหาชน) มาเป็นแบบอย่าง ด้วยการปรับลดสัดส่วนการถือครองหุ้นในส่วนของกระทรวงการคลังลง จากนั้นทำการเพ่ิมทุน และหาพันธมิตรในการร่วมทุน(Stratigic Partner)ตามขั้นตอน และระยะเวลาที่กำหนด

ขณะเดียวกัน การบินไทย จะทำการแยกบริษัทย่อยที่มองเห็นชัดว่าสามารถเป็นหน่วยธุรกิจที่สร้างรายได้ให้กับการบินไทยได้ออกไปเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เพ่ือให้สามารถทำธุรกิจได้โดยความคล่องตัว และเป็นบริษัทมหาชนที่หลุดพ้นจากการย่ืนมือเข้าไปวุ่นวายของฝ่ายการเมือง โดยการเลือกสรรผู้บริหาร หรือคณะกรรม การบอร์ด ไม่จำเป็นต้องผ่านความเห็นชอบจากฝ่ายการเมือง หากแต่ต้องผ่านความเห็นชอบจากผู้ถือหุ้นเป็นหลัก 

ทั้งนี้หน่วยธุรกิจที่พิจารณาว่าอาจจะแยกส่วนออกจากการบินไทยโฮลดิ้งได้ตามข้อเสนอของ ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ก็คือ ครัวการบินไทย ซ่ึงมีทุนจดทะเบียนอยู่ 100 ล้านบาท ปัจจุบันทำอาหารส่งให้แก่สายการบินหลายแห่งโดยมีกำไรปีละ 2,500 ล้านบาท ถ้าเอาเข้าตลาดหลักทรัพย์ มูลค่าของบริษัทจะอยู่ที่ 25,000 ล้านบาท ธุรกิจฝ่ายช่าง และการซ่อมเครื่องบิน ซึ่งฝ่ายช่างการบินไทยมีความเชี่ยวชาญในการซ่อมเครื่องบินให้แก่สายการบินหลายสาย ธุรกิจบริการภาคพื้นดิน และธุรกิจคลังสินค้าซึ่งระหว่างที่เกิดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด -19 ผู้บริหารการบินไทยได้ปรับเปลี่ยนเครื่องบินมาเพื่อใช้ในการขนส่ง และทำธุรกิจคาร์โกเพ่ิมขึ้นโดยที่การบินไทยมี ไลเซ่นส์เรื่องนี้อยู่ ถ้าธุรกิจคาร์โกถูกแยกมาเข้าตลาดหลักทรัพย์ ก็สามารถจะทำรายได้ให้การบินไทยอย่างมาก โดยเฉพาะหากเป็นธุรกิจที่ผูกขาดในประเทศ

ส่วนสายการบินโลว์คอสแอร์ไลน์ ไทยสมายพรีเมี่ยมซึ่งเป็นบริษัทลูกของการบินไทยนั้น ครม.อาจต้องเลือกที่จะให้เข้าทำหน้าที่แทนการบินไทยในระยะที่ผู้โดยสารยังไม่กลับมาไปก่อน โดยฝ่ายการบินไทยเองก็ให้ความเห็นชอบด้วยว่า การบินไทยอาจต้องเลือกที่จะบิินในเส้นทางบินที่มีระยะทางบินไม่เกิน 5 ช่ัวโมงเพ่ือประยัด และลดต้นทุนดำเนินการ ในเวลาเดียวกัน ระหว่างการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ยังไม่เป็นที่ยุติ การบินไทยก็อาจจำเป็นต้องขอต่ออายุการลดเงินเดือนและค่าจ้างของพนักงาน 35,000 คนลง 30% ออกไปอีก 3 เดือน

สำหรับแผนฟื้นฟูการบินไทย กำหนดไว้ 6 กลยุทธ์ได้แก่ 1.กลยุทธ์การปรับปรุงเครือข่ายเส้นทางบิน(Network  Strategy) 2.กลยุทธ์การปรับปรุงแผนฝูงบิน (Fleet Strategy) 3.กลยุทธ์ด้านการพาณิชย์ (Commercial Strategy) 4. กลยุทธ์การปรับปรุงการปฎิบัติการและต้นทุน (Operation & Cost Strategy) 5. กลยุทธ์การปรับปรุงโครงสร้างองค์กร (Organization Strategy) 6. กลยุทธ์การจัดการกลุ่มธุรกิจของบริษัท (Portfolio Strategy)

ผู้สื่อข่าวรายงานต่อว่า ทั้งนี้ตามแผนฟื้นฟูการบินไทยได้ระบุว่า ในส่วนของการลดขนาดองค์กร (Downsizing) เพื่อบริหารประสิทธิ ภาพต้นทุนและการดำเนินงาน โดยจะมีการลดกำลังการผลิต โดยปรับลดขนาดฝูงบิน ลดแบบเครื่องบิน เครื่องยนต์ ปรับลดเส้นทางบิน เหลือเฉพาะที่ทำกำไร หรือที่มี demand สูง ปรับโครงสร้างองค์กรให้กระชับ การบังคับบัญชารวด เร็วมีประสิทธิภาพ ปรับลดค่าใช้จ่ายด้านพนักงาน โดยเทียบเคียงกับอุตสาหกรรมเดียวกัน

นอกจากนั้นในแผนยังได้กล่าวถึง การปฎิรูปองค์กร (Transformation)ด้าน กระบวนการด้านรายได้บัตรโดยสาร (ปรับโครงสร้างราคา ช่องทางการจำหน่าย รายได้ขนส่งสินค้าและรายได้สนับสนุนอื่น จะมีการลดกำลังการผลิต โดยปรับลดขนาดฝูงบิน ลดแบบเครื่องบิน เครื่องยนต์ ปรับลดเส้นทางบิน เหลือเฉพาะที่ทำกำไร หรือที่มี demand สูง ปรับโครงสร้างองค์กรให้กระชับ การบัง คับบัญชารวดเร็ว มีประสทิธิภาพ ปรับลดค่าใช้จ่ายด้านพนักงานให้สอดคล้องกับกำลังการผลิต โดยเทียบเคียงกับอุต สาหกรรมเดียวกัน การปฎิรูปองค์กร ปรับกระบวนการด้านรายได้บัตรโดยสาร (ปรับโครงสร้างราคา ช่องทางการจำ หน่าย รายได้ขนส่งสินค้าและรายได้สนับสนุนอื่น

ผู้สื่อข่าวรายงานต่อว่า ในการจัดกระบวนการด้านรายได้ ความสามารถในการทำกำไร (Profitability) จะต้องมีรายได้ช่องทางการจำหน่ายบัตรโดยสารให้มีสัดส่วน Online ต่อ offline มากกว่า 50% รายได้นอกเหนือจากรายได้บัตรโดยสารเพิ่มจาก 20% เป็น 35-40% อัตราเติบโตรายได้เสริมเป็น 6.7% ของรายได้จากการดำเนินงาน ส่วนผลจากการปรับโครงสร้างและกำลังการผลิต จะช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านการพนักงานอย่างมีนับสำคัญตามกำลังการผลิต ลดแบบเครื่องบินจาก 6 แบบ 7 ชนิดเครื่องยนต์

อย่างไรก็ตามภายใต้แผนฟื้นฟูการบินไทยนี้ยังมี กลยุทธ์การปรับปรุงเครือข่ายเส้นทางบิน (Network Strategy) กลยุทธ์การปรับปรุงแผนฝูงบิน (Fleet Strategy) กลยุทธ์ด้านการพาณิชย์ (Commercial Strategy) กลยุทธ์การปรับปรุงการปฎิ บัติการและต้นทุน (Operations & Cost Strategy) กลยุทธ์การปรับปรุงโครงสร้างองค์กร (Organization Strategy) การจัดการกลุ่มธุรกิจของบริษัท(Portfolio Strategy)และกำหนดงบประมาณโครงการแผนฟื้นฟูปี 2563 –25672 ด้วย