นายกฯแจงงบประมาณรายจ่ายปี 66 มุ่งฟื้นเศรษฐกิจจากผลกระทบ โควิด

.เผยเงินเฟ้อปี 66 กลับมาไม่หลุดกรอบ 1.5%

.มุ่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพิ่มศักยภาพบุคคลากร

.เน้นใช้นวัตกรรมไอทีขับเคลื่อนเขตอีอีซีเป็นพื้นที่ดึงดูดการลงทุน

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ชี้แจงงบประมาณรายจ่ายประจำปี 66 ต่อที่ประชุมสภาผู้แทนราษฏรในการพิจารณางบประมาณวาระแรก ว่า รัฐบาลได้ใช้สมติฐานทางเศรษฐกิจ จัดทำงบประมาณภายใต้เศรษฐกิจในปี 65 ขยายตัวร้อยละ 2.5-3.5 อัตราเงินเฟ้อร้อยละ 4.2-5.2 และในปี 66 จีดีพีขยายตัวร้อยละ 3.2-4.2 เงินเฟ้อลดลงเหลือร้อยละ 0.5-1.5 จึงกลับมาอยู่ในกรอบตามที่ กนง.กำหนดไว้ ภาระหนี้สาธารณะจำนวน 9.478 ล้านล้านบาท หรือร้อยละ 60.6 ของจีดีพี ยังอยู่ในกรอบไม่เกินเพดานร้อยละ 70 ของจีดีพี 

เมื่อถึงปี 66 คาดการณ์ว่า อัตราเงินเฟ้อจะลดลงมาอยู่ในกรอบตามที่กำหนดไว้ ทุนสำรองระหว่างประเทศ 2.3 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 3.15 เท่าของภาระหนี้ต่างประเทศระยะสั้น นับว่ามีฐานะมั่นคง รัฐบาลจึงได้กำหนดงบประมาณรายจ่ายปี 66 วงเงิน 3.185 ล้านล้านบาท ขาดดุลงบประมาณ 695,000 ล้านบาท คาดการณ์รายได้ 2.490 ล้านล้านบาท รัฐบาลจัดสรรงบแบ่งออกเป็น 6 ด้าน ประกอบด้วย งบกลาง จำนวน 590,470 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ18.54 ของงบประมาณ จัดสรรให้กับส่วนราชการรับงบประมาณ 1.090 ล้านล้านบาท 

และนำมารวมเป็นงบบูรณาการ 218,477 ล้านบาท เพื่อให้ ลงทุนโครงการต่างๆไม่ซ้ำซ้อนกัน การจัดสรรเป็นรายจ่ายบุคคลากร 772,1119 ล้านบาท  งบรายจ่ายด้านทุนหมุนเวียน 206,985 ล้านบาท ตั้งงบรองรับชำระหนี้ของภาครัฐ 306,618 ล้านบาท หรือร้อยละ9.63 ของงบประมาณ 

ทั้งนี้รัฐบาลมุ่งจัดสรรงบประมาณรองรับยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคง 296,003 ล้านบาท ยุทธศาสตร์เพิ่มความสามารถในการแข่งขัน 396,125 ล้านบาท ยุทธศาสตร์การพัฒนาและเสริมสร้างทรัพยากรมนุษย์ 549,514 ล้านบาท ยุทธศาสตร์การสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม 122,964 ล้านบาท ยุทธศาสตร์ปรับความสมดุลและบริหารจัดการ 658,012 ล้านบาท เพื่อมุ่งหวัง การฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน พัฒนาเขตอีอีซี การพัมนาบุคคลากร