ธนาคารโลกปรับลดประมาณเศรษฐกิจไทยปีนี้ลงเหลือ 3.5% จาก 3.8%

  • ห่วง “การเมือง” ที่ทำให้การลงทุนโครงการรัฐล่าช้า
  • “ระบุไม่มีเหตุผลต้องปรับดอกเบี้ยนโยบาย
  • ชี้บาทแข็งเพราะพื้นฐานประเทศไทยแกร่ง

นายเกียรติพงศ์ อริยปรัชญา นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสธนาคารโลกประจำประเทศไทย กล่าวว่า ธนาคารโลกเปิดตัวรายงานตามติดเศรษฐกิจไทยฉบับล่าสุด ธนาคารโลกพบว่า เศรษฐกิจไทยเริ่มเติบโตช้าตั้งแต่ต้นปีที่่ผ่านมาลงท่ามกลางเศรษฐกิจโลกที่ยังชะลอตัวลง ทำให้ธนาคารโลกปรับลดการคาดการณ์เศรษฐกิจไทยในปี 62 มาอยู่ที่อัตราการขยายตัวที่ 3.5 %จากการขยายตัว 3.8% ในการประมาณการครั้งก่อนหน้า ขณะที่คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจจะดีขึ้นเล็กน้อยในปี 63 โดยขยายตัว 3.6% และขยับขึ้นเป็นการขยายตัว 3.7% ในปี 64

“ทั้งนี้ ความเสี่ยสำคัญที่สุด และทำให้การขยายตัวของเศรษฐกิจไทยมีโอกาสต่ำกว่าที่ประมาณการ คือ ปัจจัยการเมือง จากการล่าช้าของการจัดตั้งรัฐบาลที่ทำให้โครงการลงทุนขนาดใหญ่ของงรัฐมีความล่าช้า และมีความเสี่ยงที่จะมีการปรับเปลี่ยนไม่ดำเนินการตามแผนเดิมสำหรับโครงการที่ยังไม่ลงนามก่อสร้าง นอกจากนั้น การเป็นรัฐบาลผสมที่มีหลายพรรค อาจจะทำให้นโยบายเศรษฐกิจไม่มีความต่อเนื่อง ซึ่งความต่อเนื่องของนโยบายเป็นเรื่องสำคัญ และอาจจะมีปัญหามากขึ้น หากรัฐบาลที่ตั้งขึ้นอยู่ได้ไม่นาน ทั้งหมดนี้ทำให้คาดว่า การลงทุนภาครัฐในโครงการลงทุนขนาดใหญ่จะล่าช้าออกไป 3 เดือน หรือมากกว่า 3 เดือน และมีความเสี่ยงต่อเนื่องไปอีก 2-3 ปีสำหรับโครงการที่ยังไม่ได้ลงนามทำสัญญาก่อสร้าง”

ขณะที่คำถามถึงการดำเนินนโยบายการเงิน และการคลัง รวมทั้งการแข็งขึ้นของค่าเงินบาทในขณะนี้นั้น นายเกียรติพงศ์กล่าวว่า ในขณะนี้หากพิจารณานโยบายการเงิน และการเงินยังเห็นว่า อยู่ในภาวะที่เอื้อต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจขณะที่ค่าเงินบาท หากเทียบในช่วงนี้กับ 5 ปีที่ผ่านมา จะเห็นว่าอยู่ในอัตราที่ใกล้เคียงกัน และนักลงทุนเห็นประเทศไทยเป็นแหล่งพักเงินที่ปลอดภัย โดยเฉพาะในตลาดตราสารหนี้ ส่วนการปรับลดดอกเบี้ยนโยบายนั้น ธปท.คงต้องติดตามความเสี่ยง โดยเฉพาะในส่วนของหนี้ครัวเรือนที่ยังสูงขึ้นต่อเนื่อง

ขณะที่นางเบอร์กิท ฮานสล์ ผู้จัดการธนาคารโลกประจำประเทศไทย กล่าวว่า เราเห็นค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น และแข็งกว่าประเทศอื่นเหมือนเทียบภูมิภาค แต่เราก็เห็นพื้นฐานเศรษฐกิจไทยที่ดีขึ้นด้วย ทำให้เห็นค่าบาทแข็งค่าขึ้น ขณะที่เงินประเทศอื่นอ่อนค่าลงตามภาวะเศรษฐกิจของประเทศอื่นๆ

“ทั้งหมดนี้เป็นสารที่ชัดเจนของผู้กำหนดนโยบายว่า ในภาพรวมพื้นฐานเศรษฐกิจไทยของเรายังอยู่ในเกณฑ์ที่ดี แม้เศรษฐกิจชะลอตัวลง แต่เป็นการชะลอลงในทิศทางเดียวกันทั้งโลก และเงินเฟ้อของไทยยังอยู่ในระดับต่ำ มองในขณะนี้เราจึงยังไม่เห็นเหตุผลท่ี่อัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยจะเปลี่ยนแปลงไปในขณะนี้”