ดร.สุชัชวีร์ กับภารกิจเปลี่ยนประเทศไทย ดึง “คาร์เนกีเมลลอน” อันดับ 1 ของโลกร่วม

ณภาพของ“คน” คือ ส่ิงสำคัญอันดับแรกที่จะนำพาประเทศชาติไปสู่ความก้าวหน้าในด้านต่างๆโดยเฉพาะความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีที่เป็นตัวจักรสำคัญในการขับเคล่ือนประ เทศชาติสู่ความม่ังค่ังทางเศรษฐกิจ สังคม และสภาพแวดล้อมที่ศิวิไลซ์ 

ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง(สจล.) ได้เล่าว่าในห้วงเวลาที่คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย กำลังจะพิจารณาให้เขาดำรงตำแหน่งอธิการบดีต่อไปอีกสมัยว่า มหาวิทยาลัยในประเทศไทย จำเป็นจะต้องมีการปรับตัว และการปรับตัวที่ดีคือ การปรับปรุงหลักสูตรต่างๆที่เคยเรียนมาให้สามารถรองรับกับอนาคตได้ 

ที่สำคัญการต่อยอดกับมหาวิทยาลัยในต่างประเทศเพ่ือผลิตคนไทยให้มีคุณภาพคือ ภารกิจย่ิงใหญ่ที่เขามุ่ง ม่ันจะต้องทำให้สำเร็จ ภายใต้เป้าหมายที่จะต้องทำให้เด็กไทย เก่งกว่า เด็กสิงคโปร์ให้ได้

เป้าหมายนี้ ทำให้ ดร.สุชัชวีร์ สามารถวางแผนต่อยอดทางการศึกษาของสถาบันพระจอมเกล้าฯเข้ากับจุฬา ลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพ่ือดึงเอา มหาวิทยาลัยที่มีช่ือเสียงอันดับ 1 ของโลกด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และการจัดการวิทยาการคอมพิวเตอร์  อย่าง คาร์เนกีเมลลอน (Carnegie Mellon University) มหาวิทยาลัยเอกชนที่ตั้งอยู่ในเมืองพิตซ์เบิร์ก รัฐเพนซิลเวเนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา มาตั้งสาขาขึ้นในประเทศไทย โดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้มีคำส่ังตามมาตรา 44 รองรับให้สถาบันพระจอมเกล้าฯ จัดตั้งสาขาของมหาวิทยาลัยแห่งนี้ขึ้นในประเทศ ไทยได้ภายใต้ความร่วมมือระหว่างกัน

มหาวิทยาลัยแห่งนี้ ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2510 โดยการรวมกันของสถาบันเทคโนโลยีคาร์เนกี และ สถาบันวิจัยอุตสาหกรรมเมลลอน เป็น คาร์เนกีเมลลอน ซ่ึงเป็นที่รู้จักกันดีในช่ือของมหาวิทยา ลัยชั้นนำในด้านวิทยาการคอมพิว เตอร์ วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ และการแสดง

โดยบุคคลากรจากมหาวิทยาลัย คาร์เนกีเมลลอน ได้รับ รางวัลโนเบล มาแล้ว 13 รางวัล เป็นรางวัลประจำปีระดับนานาชาติ ซ่ึงจัดโดยคณะกรรมการสแกนดิเนเวีย พิจารณาผลงานวิจัย หรือสร้างคุณประโยชน์ให้กับมนุษชาติ ทั้งในด้านวิทยาศาสตร์ และวัฒน์ธรรม ตามเจตจำนงของ อัลเฟรด โนเบล นักเคมีชาวสวีเดนที่เป็นผู้ก่อตั้ง

รางวัลทัวริง(Turing Award) 8 รางวัล ถือเป็นรางวัลที่มีเกียรติที่สุดในด้าน วิทยาการคอมพิวเตอร์ ซ่ึงจะให้แก่บุคคลที่สร้างผลงานที่มีคุณค่ามหาศาล และมีประโยชน์ในระยะยาวกับสาขา จนกระท่ังปัจจุบันนี้ นักวิจัยส่วนใหญ่ที่ได้รับรางวัลทัวริงเป็นนักวิทยาการคอมพิวเตอร์ ถูกตั้งช่ือตาม อลัน ทัวริง นักคณิตศาสตร์ และเป็นหน่ึงในบุคคลที่ได้รับการยกย่องให้เป็นบิดาของวิทยาการคอมพิวเตอร์ยุคใหม่ 

รางวัลทิวริงนี้ ยังได้รับการยกย่อง(โดยบุคคลส่วนใหญ่) ให้เป็นรางวัลโนเบล สำหรับวิทยาการคอมพิวเตอร์ โดยรางวัลนี้มีบริษัทอินเทล และกูเกิล เป็นสปอนเซอร์หลัก ผู้ชนะจะได้รับรางวัลเงินสด 250,000 เหรียญสหรัฐ โดยก่อนหน้าที่กูเกิล จะเข้ามาร่วมเป็นสปอนเซร์​ อินเทลได้ตั้งเงินรางวัลให้แก่ผู้ชนะไว้ 100,000 เหรียญสหรัฐ 

รางวัลเอมมี 7 รางวัล เป็นรางวัลทางโทรทัศน์ที่พิจารณาผู้ทำงานด้านโทรทัศน์ เทียบเท่าได้กับรางวัลออสการ์ของฝ่ังภาพยนตร์ โดยมีการนำเสนอหลายส่วนในอุตสาหกรรมทางโทรทัศน์อย่างเช่น รายการบันเทิง ข่าว สารคดี และรายการกีฬา โดยรางวัลนี้ จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี และจะมีการแจกรางวัลในสาขาเฉพาะอย่างเช่น ไพรม์ไทม์ หรือ เอ็มมี อวอร์ด เป็นต้น

รางวัลออสการ์ 3 รางวัล รางวัลอะคาเดมี อวอร์ด หรือ ออสการ์ เป็นรางวัลทางภาพยนตร์ที่ย่ิงใหญ่ที่สุดในโลก จัดขึ้นเป็นครั้งแรกโดยสถาบันศิลปะ และวิชาการภาพยนตร์ในปี ค.ศ.1929 มีบุคคลากรด้านศิลปะการแสดงของคาร์เนกีเมลลอนได้รับรางวัลนี้ไป 3 คน

ส่วนรางวัลโทนี 4 รางวัล รางวัลโทนีนี้ เป็นรางวัลที่มอบให้แก่ศิลปะการแสดงละครเวทีโดย American Theatre Wing และ The Broadway League จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีในมหานครนิวยอร์ค เพ่ือมอบให้แก่ผู้สร้างสรรค์การทำงาน การแสดงละครเวที ละครบรอดเวย์ และโรงละครอเมริกัน 

“เราจะร่วมมือกันผลิตนักศึกษาระดับปริญญาโท และปริญาเอก พร้อมสร้างนักวิจัยเชิงนวัต กรรมระดับโลกขึ้นเพ่ือต่อยอดพัฒนาธุรกิจของประเทศไทยขึ้นสู่ระดับแนวหน้าให้ได้” 

ดร.สุชัชวีร์ กล่าวด้วยว่า เขามีแผนการที่ใหญ่กว่านั้นภายใต้แนวคิดที่ว่า การพัฒนาคนต้องเร่ิมตั้งแต่เด็กเล็ก ดังนั้น สถาบันพระจอมเกล้าฯจึงจัดตั้งโรงเรียนสาธิตแห่งสถาบันพระจอมเกล้าฯขึ้นเพ่ือให้กล่ันหัวกะทิเด็กไทยให้สามารถเรียนต่อยังสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าฯในระดับปริญญาตรีได้ ก่อนที่จะไปเรียนต่อ คาร์เนกี้เมลลอน ในระดับปริญญาโท และเอก ซ่ึงปีสองปีแรกจะต้องเรียนที่สหรัฐ ส่วนปีสุดท้ายกลับมาเรียนที่ประเทศไทย

ทุกวันนี้เด็กๆของโรงเรียนสาธิตพระจอมเกล้าฯเรามีกฏกติกาเข้มงวดคือ เม่ือเข้าโรงเรียน คุณต้องพูดภาษาอังกฤษ จะส่ังข้าวทานกับแม่ค้าในโรงเรียนก็ต้องพูดภาษาอังกฤษ ที่สำคัญก็คือ ตำราเรียนของเราเป็นหลักสูตรที่ไม่ได้อิงกับกระทรวงศึกษาธิการ เด็กเราเรียนกันแบบเด็กฝร่ัง และมีห้องที่เปิดให้ทุกคนที่อยากใช้ความคิดเกี่ยวกับเกมส์ หรือ การสร้างหุ่นยนต์ สามารถเข้าไปทดลองส่ิงประดิษฐ์จากจินตนาการของตนได้ 

ดร.สุชัชวีร์ เปิดเผยด้วยว่า เขาสามารถสร้างความน่าเช่ือถือให้กับผู้บริหารของมหาวิทยาลัยคาร์เนกีเมลลอนให้ตัดสินใจเลือกเปิดสาขาของมหาวิทยาลัยที่ประเทศไทย แทนที่จะไปเปิดที่สิงคโปร์ เพราะสถาบันเรา มีผลงานวิจัยคุณภาพระดับโลกเชิงนวัตกรรมกว่า 50 ช้ิน เขาจึงตัดสินใจมาประเทศไทยเพ่ือต่อยอดธุรกิจในไทย และสร้างมูลค่าได้มากกว่าหม่ืนล้านบาทจาความร่วมมือในงานวิจัยนวัตกรรมเฉพาะทางซ่ึงจะเน้นประเด็นที่สอดคล้องกับการส่ิงเสริมผู้ประกอบการไทย และนโยบายรัฐบาลในการส่งเสริม 10 คลัสเตอร์เป้าหมาย 

ที่คาร์เนกี้เมลลอน มีเป้าหมายผลิตนักศึกษาปริญญาโท 200 คน ปริญญาเอก 80 คน และผลิตนักวิจัยที่มีผลงานนวัตกรรมระดับโลก 50 คนภายในระยะเวลา 10 ปีต่อจากนี้ 

“ผมยังติดใจอยู่ก็ตรงที่ทำไมมีเด็กไทยสอบเข้าคาร์เนกีเมลลอนได้เพียง 12 คนเท่านั้น จากยอดรวมที่เปิดรับสมัคร และสอบเข้าได้ 255 คน อาจเป็นไปได้ว่า ผู้ปกครองไทยเรายังรู้จักมหาวิทยาลัยแห่งนี้น้อย ไม่กว้างขวางนัก ในขณะที่ คนเมริกันมาสอบที่เราและติดเป็นอันดับ 1 จำนวน 55 คน จีนสอบได้ 53 คน อินเดีย สอบได้ 29 คน ประเทศที่มีความยุ่งยากอย่าง รวันดา ยังสอบได้ 19 คน ไนจีเรีย ได้ 9 คน เอธิโอเปีย 6 คน และกาน่า 6 คน”

ที่สถาบันพระจอมเกล้าลาดกระบังฯ เขายังใช้ Carnegie Mellon University Thailand อยู่ และ เมื่อรวมกับเรา จะมีช่ือย่อว่า CMKL University หรือ มหาวิทยาลัย คาร์เนกีเมลลอนคิงมงกุฏเกล้าฯลาดกระบัง

โครงการของ CMKL U แห่งนี้ ยังสอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาประเทศตามนโยบายของรัฐบาลในพ้ืนที่โครงการระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor:EEC) ด้วย

“คนไทยต้องไม่แพ้ชาติใดในโลก” ดร.สุชัชวีร์ มักจะพูดเช่นนี้เสมอกับผู้คนท่ัวไปที่เขาพบเจอ ฉันใด ก็ฉันนั้น เขาคาดหวังว่า เด็กไทยควรมีจำนวนที่ได้เข้าเรียนในมหาวิทยาลัยแห่งนี้เพ่ิมขึ้น โดดยเฉพาะเม่ือเขา และเราต่างก็รับรู้ว่า มีเด็กไทยจำนวนมากที่ไปแข่งขันคณิตศาสตร์ ฟิสิกซ์ หรือวิชาวิทยาศาสตร์ในโลก แล้วชนะได้รางวัลที่ 1 กลับมาบ้านมากมาย เด็กๆเหล่านี้ควรได้รับการสนับสนุนให้เข้าเรียนต่อในมหาวิทยาลัยที่มีช่ือเสียงด้านเทคโนโลยีก้องโลกเช่นคาร์เนกี้เมลลอน

สมัยนี้ เราต้องมีความเข้าใจในเทคโนโลยี และใช้เทคโนโลยีให้ได้ใครก็ตามไม่มีทักษะหลายๆ ทักษะในคนๆเดียวกัน หรือไม่รู้จักจะให้เทคโนโลยีให้เป็น และให้คล่องตัวแก่การใช้ชีวิตประจำวัน ผมว่า อยู่ยาก คนที่อยู่ได้ ต้องสร้างเทคโนโลยีที่เหนือกว่าขึ้นไปเร่ือยๆ จึงจะอยู่รอดได้ 

“หลังจากที่เราได้ คาร์เนกีเมลลอนเข้ามา ก็มีมหาวิทยาลัยจากต่างชาติหลายแห่ง ตามเข้ามาเปิดสาขาของตนในประเทศไทย เช่น ไทเป และมหาวิทยาลันชั้นนำจากญี่ปุ่น และอังกฤษ ซ่ึงมาขอเข้าพบเพ่ือหารือเร่ืองการปรับเปลี่ยนหลักสูตรให้สอดคล้องกับโลกอนาคต”

มหาวิทยาลัยของประเทศไทยก็เช่นกัน ถ้าวันนี้ มหาวิทยาลัยปรับตัวไม่ทัน ผมว่าเหน่ือย หลายแห่งต้องปิดคณะหลายคณะไปเพราะตลาดไม่ต้องการ ขณะที่หลายคณะปิดตัวไปเพราะถูก Disrupt จากนวัตกรรมของโลกสมัยใหม่ หลายมหาวิทยาลัยต้องายที่ แล้วสร้างคอนโดมิเนี่ยมแทน แต่มันไม่ใช่ความผิดของมหาวิทยาลัยหรอก มันเป็นเพราะการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีมันถาโถมเข้ามารุนแรง และรวดเร็ว จนเราปรับตัวกันไม่ทัน” 

ที่พระจอมเกล้าฯลาดกระบัง จึงปรับเปลี่ยนหลักสูตรการเรียนการสอนมาตลอดเพ่ือให้เข้ากับสถานการณ์ทั้งในปัจจุบัน และอนาคต “สมัยที่ผมเกิดมา มีเด็กเกิดมาประมาณ 1.5 ล้านคน วันนี้ เกิดมาประมาณปีละ 500,000 คน หายไปครึ่งแล้ว เม่ือคนสมัยใหม่มีลูกก็อยากให้ลูกได้ดี  เรียนฟรีก็ไม่เอา เพราะตอบโจทย์เร่ืองของฟรี แต่ไม่ตอบโจทย์เร่ืองคุณภาพ เม่ือไม่มีเด็กไปเรียน มหาวิทยาลัยหลายแห่งจึงอยู่ยาก โดยเฉพาะถ้าไม่ปรับเปลี่ยนหลักสูตรให้เข้ากับยุคสมัย 

ความผิดหวังที่ว่า บัญฑิตได้งานไม่ตรงกับสาขาที่เรียน เป็นความผิดหวังของชาตินะ เพราะรัฐลงทุนอุดหนุนการศึกษาตั้งแต่ภาคบังคับจนถึงมหาวิทยาลัยยาวนานถึง 16 ปี แต่พอจบออกมา ไม่สามารถทงานได้ หรือทำงานในสาขาที่เรียนจบออกมาไม่ได้ นี่คือการสูญเสียมหาศาลเกินกว่า จะประมาณเป็นราคาได้

ถือว่า เราละเลยเร่ืองการพัฒนาคนระยะยาวซ่ึงที่สุดจะแข่งขันกับใครไม่ได้

สำหรับผม การตกงานของบัณฑิตไทย ไม่น่ากลัวเท่ากับประเทศไทยกำลังจะตกเวทีการแจ่งขันในโลกยุคที่การเปลี่ยนแปลงถาโถมเข้าใส่เช่นนี้

เม่ือสถานการณ์ของระบบการศึกษาในประเทศไทยเราเป็นเช่นนี้ ดร.สุชัชวีร์ กล่าวว่า เขาจึงปรับเปลี่ยนหลัก สูตรของสถาบันใหม่หมด เร่ิมตั้งแต่ที่เขาตั้งคณะแพทย์ศาสตร์ของสถาบันขึ้น เพ่ืออนาคตจะสร้างโรงพยาบาลให้การรักษาที่ทันสมัยแก่ผู้คนในย่านนี้ 

คณะแพทย์ศาสตร์ของสถาบันจะเรียนควบคู่ไปกับวาชาวิศวกรรมศาสตร์ เหมือนๆกับที่หลายสาขาต้องเรียนควบคู่ไปกับการสร้างหุ่นยนต์ หรือส่ิงที่เรียกว่า ปัญญาประดิษฐ์(AI) “ทำไมคนแพ้สงครามอย่างเยอรมนี และญี่ปุ่น จึงกลายเป็นชาติมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ ทำไมเขาจึงกลายเป็นประเทศชั้นำในการผลิตรถยนต์ เคร่ืองบิน เคร่ืองใช้้ไฟ ฟ้า เคร่ืองมือแพทย์ ฯลฯ” เม่ือใครๆก็ทำได้ ประเทศไทย ก็ต้องมีแพทย์ที่เรียนวิศวะเพ่ือออกแบบเคร่ืองมือแพทย์ที่จะใช้กับการรักษาได้ เราจะได้ไม่ต้องไปนำเข้าส่ิงเหล่านี้จากประเทศอ่ืน 

“เราจะมัวมาเป็นประเทศที่กว่าจะขายข้าวได้ 3 เกวียน จึงจะซื้อโทรศัพท์ได้ หรือจะเป็นประเทศที่สามารถนำเอาทรัพยากรที่มีอยู่มาใช้ให้ได้ด้วยการปรับเปลี่ยนองค์ความรู้ และเทคโนโลยีที่ทันสมัยเหมือนกับที่รัฐบาลมีนโยบายทำให้ประเทศไทยเป็น Thailand 4.0 น่ันเอง”

อย่างที่ผมพูดเสมอว่า ไม่มีอะไรที่เราแก้ไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นเร่ืองของน้ำท่วม หรือรถติดครับ เพราะคนไทยเราไม่แพ้ใครในโลก เพียงแต่ขอให้ฝันให้ไกล แล้วไปให้ถึงเท่านั้น ดร.สุชัชวีร์ กล่าวในที่สุด