New Normal ชีวิตวิถีใหม่… มุมมองของแบงก์เกอร์ ภาคธนาคารจะมีบทบาทวางรากฐาน หมดยุคยืมจมูกชาวบ้านหายใจ

อุบัติการใหม่เกิดขึ้นในโลก จากการระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธ์ุใหม่(โควิด-19) ไวรัสตัวนี้มีเริ่มต้นจากประเทศจีน และแพร่ระบาดไปยังประเทศต่างๆท่ัวโลกอย่างรวดเร็ว

โรคอุบัติใหม่นี้ จัดเป็นความท้าทายที่เข้ามากระทบพฤติกรรมการใช้ชีวิตปกติของผู้คน และเป็นความท้าทายที่นำพามนุษยโลกโดยรวม ก้าวเข้าสู่โลกใหม่ที่จะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป หรือที่หลายคนเรียกมันว่า New Normal : ความปกติในรูปแบบใหม่ที่เรียกแบบไทยๆว่า ชีวิตวิถีใหม่ ที่ผู้คนในโลกอาจไม่หวนกลับไปใช้ชีวิตในแบบเดิมๆอีก

นับจากนี้ ….ชีวิตวิถีใหม่ ได้เกิิดขึ้น ในสภาพการณ์ที่ทุกคนตื่นตัวกัน ทีมเศรษฐกิจหนังสือพิมพ์ไทยรัฐได้เปิดประเด็นในแวดวงการธนาคารจะเดินหน้าเปลี่ยนอย่างไร เราจึงหยิบยกมาถ่ายทอดต่อ

ซีอีโอธนาคารกรุงไทยมองว่าภาคการธนาคารจะมีบทบาทวางรากฐาน “ชีวิตวิถีใหม่” ร่วมกัน

“ผยง ศรีวณิช” กรรมการผู้จัดการใหม่ ธนาคารกรุงไทย จำกัด(มหาชน) กล่าวว่า วิกฤตใหญ่ๆทุกครั้ง มักจะทิ้งมรดกของการเปลี่ยนแปลงไว้ให้เราเสมอ และเม่ือโลกหลังโควิด-19 จบลง คงยังไม่มีใครทราบแน่ชัดว่า จะนำพาสังคมของชาวโลกไปในทิศทางใด แต่ที่แน่ๆก็คือ เสาหลักของระบบเศรษฐกิจประเทศอย่างภาคการธนาคาร จะมีบทบาทเป็นผู้วางรากฐานของ “ชีวิตวิถีใหม่” หรือ New Normal นี้ร่วมกัน

“ผยง ศรีวณิช” กรรมการผู้จัดการใหม่ ธนาคารกรุงไทย จำกัด(มหาชน)


“ไม่ว่าจะเป็น New Normal หรือ Next Normal ก็ตาม มันคือความท้าทายที่อยู่ตรงหน้าเรา และเป็นตัวเร่งของปรากฏการ Digital Disruption ที่เร็วขึ้นกว่าเดิมเป็นเท่าทวีคูณ จึงเป็นโอกาสทองของผู้มีความพร้อม ส่วนผู้ที่ไม่พร้อมจำนวนมาก ก็มีความเสี่ยงสูงที่จะโดนคลื่นของการเปลี่ยนแปลงนี้กลืนหายไป ผลคือ เราจะก้าวไปสู่โลกที่ต้นทุนของธรุกิจจะแพงขึ้น ทรัพยากรทางเศรษฐกิจอย่างเงินทุน และสภาพคล่องไม่ว่าจะมาจากรัฐบาล ธนาคาร หรือ ตลาดทุน มีแนวโน้มจะแพงขึ้นกว่าเดิมเพราะมีปริมาณเหลือที่จำกัด หลังเกิดความสูญเสียในช่วยโควิด-19 ระบาดไปมาก”

กรรมการผู้จัดการใหญ่กรุงไทย กล่าวด้วยว่า นักลงทุนจะต้องการผลตอบแทนจากความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้น เพราะยังไม่แน่ใจว่า Business Model แบบไหน จึงจะไปรอดได้ใน New Normal ซ่ึงเป็นยุคท่ีธุรกิจจำเป็นต้องลองผิดลองถูก

“ในระดับประเทศ New Normal ของเศรษฐกิจไทย จะมีหน้าตาที่เปลี่ยนไปเช่นกัน วิกฤติเศรษฐกิจในคราว ก่อนๆ ล้วนแล้วแต่นำมาซึ่งความเปลี่ยนแปลงที่มีผลระยะยาว เช่น หลังวิกฤตต้มยำกุ้ง การลงทุนของประเทศไทยต้องชะลอไปหลายปี เพราะทั้งภาครัฐ ภาคธุรกิจ และภาคการเงิน มีฐานะการเงินที่อ่อนแอ แต่เหตุการณ์ในคร้ังนั้น ก็ทำให้ประเทศสร้างภูมิคุ้มกันด้านการเงิน จนได้รับคำชมว่าเป็นประเทศที่มีเสถียรภาพด้านการเงินดีเยี่ยม”

Local Economy ชนชั้นกลางและล่างจะช่วยจะขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย

ส่วนวิกฤตคราวนี้ New Normal จะทำอะไรให้แก่เศรษฐกิจ และสังคมเราบ้าง “ผมคิดว่า เศรษฐกิจไทยจะถูกผลักดันด้วยพลังจากในประเทศ (local economy) มากขึ้น เป็นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจโดยรัฐให้แก่ผู้มีรายได้น้อยถึงปานกลาง ผ่านมาตรการด้านรัฐสวัสดิการ และอื่นๆ ที่จะช่วยให้คนหมู่มาก สามารถก้าวต่อไปได้ ซึ่งจะสร้างโอกาสอันมหาศาลให้กับธุรกิจที่เห็นโอกาส ในภาวะที่ภาคการส่งออก และการท่องเที่ยวอ่อนแอลง ในขณะที่ โลกเปลี่ยนจาก Globalism เป็น Regionalism และ Nationalism มากขึ้น”

กรรมการผู้จัดใหญ่ของธนาคารกรุงไทย อาจหมายถึงการต้องหันกลับมาพ่ึงพาตนเองมากขึ้น ด้วยการปรับเปลี่ยนโครงสร้างของเศรษฐกิจและสังคม ในขณะที่ระบบธนาคารต้องเป็นตัวหลักในการใช้ ดิจิทัล เทคโนโลยีที่เข้มข้นขึ้น เพ่ือสร้างผลิตภาพแรงงานให้สูงขึ้นโดยเบ้ืองต้น ประเมินว่า เทคโนโลยีจะสร้างผลิตภาพให้สูงขึ้นได้ถึง 68% และเทคโนโลยีจะช่วยสร้างภูมิคุ้มกันทางการเงินให้แก่ครัวเรือนมากขึ้น…มันจะ Win Win Win ด้วยกันทุกฝ่ายทั้งรัฐบาล ธนาคาร และประชาชน

หันมาพึ่งพาตนเองเพราะเกิดวิกฤตทุกคนช่วยตัวเองหมดหมดยุดยืมจมูกชาวบ้านหายใจ

ดร.วิชิต สุรพงษ์ชัย นายกกรรมการธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด(มหาชน) กล่าวว่า ประเทศ ไทยเคยต้องพ่ึงรายได้จากการท่องเที่ยวถึง 18% ของจีดีพี หรือ ราว 3.3 ล้านล้านบาท จากการเดินทางเข้ามาของนักท่องเที่ยวที่สูงเกือบ 40 ล้านคน แต่หลังโควิด-19 จบลง ผมคิดว่า โอกาสที่นักท่องเที่ยวต่างชาติจะกลับมาไทย คงไม่เหมือนเดิมอีก ต้องใช้เวลาตราบเท่าที่ยังไม่มีวัคซีน นักท่องเที่ยวยังคงกล้าๆกลัวๆที่จะเดินทางอยู่ ที่สำคัญคือ โรคระบาดครั้งนี้ทำให้คนจนลง เศรษฐกิจหลายประเทศพังเกือบหมด ผู้คนจะไปเที่ยวไหนก็ต้องเก็บเงินก่อน

ดร.วิชิต สุรพงษ์ชัย นายกกรรมการธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด(มหาชน)

อีกปัญหาที่ใหญ่ไม่แพ้กันก็คือ จะเกิดการเปลี่ยนแปลงมากมายของการส่งออกจากเดิมเราใช้ Globalization ทุกประเทศย้ายฐานการผลิตไปตั้งโรงงานในประเทศที่มีแรงงานถูก เพื่อหวังต้นทุนที่ถูกลง แต่เมื่อเกิดไวรัสโควิด-19 สินค้าที่ไม่ได้ผลิตเองเกิดขาดแคลน เช่น หน้ากากอนามัย เวชภัณฑ์ และ ยา

“หลังจากนี้ทุกประเทศก็ต้องกลับมาคิด สินค้าหลายอย่างที่ Globalizationไปแล้ว  ต้องดึงกลับมาทำเองในประเทศ  ทุกคนต้องยืนบนขาของตัวเอง ไม่พึ่งจมูกคนอื่นหายใจ ทุกคนไม่ต้องการโดนซ้ำอีก เราจะเห็นหลายประเทศดึงสินค้าหลายอย่างกลับไปผลิตเองในประเทศ”

ดร.วิชิต กล่าวด้วยว่า ทุุกประเทศต้องคิดแล้ว อาหารมีความจำเป็นไหม  ถ้าจำเป็นก็ต้องดึงกลับมาผลิตในประเทศ เพื่อป้องกันการขาดแคลนเมื่อมีโรคระบาดเกิดขึ้น ดังนั้นแนวโน้มอุตสาหกรรมอาหาร หลังจากนี้ต้องติดตามว่าจะเป็นอย่างไรจะโยกย้ายฐานการผลิตเกิดขึ้นหรือไม่?!


ภาคธุรกิจกำลังดิ้นรนหาทางรอด เพื่อสร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ จากภูมิทัศน์ (landscape) ที่เปลี่ยนไป ความต้องการในการใช้งานอินเทอร์เน็ตเพื่อการประชุม การถ่ายทอดสด และบริการออนไลน์เพื่ออำนวยความสะดวกกิจกรรมในชีวิตประจำวัน ได้แก่ บริการจัดส่งสินค้า เติบโตมากกว่า 100% แทบในทุกแพลตฟอร์ม