

วันที่ 22 พ.ค.64 ที่กรมราชทัณฑ์ นายอายุตม์ สินธพพันธุ์ อธิบดีกรมราชทัณฑ์ เผย ความคืบหน้าสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ในเรือนจำและทัณฑสถาน ข้อมูล ณ วันที่ 22 พฤษภาคม 2564 มีผู้ต้องขังติดเชื้อรายใหม่ จำนวน 523 ราย รักษาหาย 218 ราย รวมผู้ต้องขังที่อยู่ระหว่างการรักษา 14,348 ราย มีเรือนจำและทัณฑสถานที่พบผู้ติดเชื้อ 12 แห่ง ดังนี้
1.เรือนจำกลางเชียงใหม่ ต้องขังติดเชื้อรายใหม่ 2 12 รายอยู่ระหว่างการรักษา 3,575 อยู่ระหว่างการรักษา (ราย)
2.เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร ต้องขังติดเชื้อรายใหม่ 205 รายอยู่ระหว่างการรักษา 2,352 ราย
- ฝทัณฑสถานหญิงกลาง ต้องขังติดเชื้อรายใหม่ 29 ราย อยู่ระหว่างการรักษา 1,422 ราย
4.เรือนจำกลางคลองเปรม ต้องขังติดเชื้อรายใหม่ 158 รายอยู่ระหว่างการรักษา 2,283 ราย
5.เรือนจำพิเศษธนบุรี ต้องขังติดเชื้อรายใหม่ – อยู่ระหว่างการรักษา2,830 ราย
6.เรือนจำกลางฉะเชิงเทรา ต้องขังติดเชื้อรายใหม่- อยู่ระหว่างการรักษา 91 ราย
7.ทัณฑสถานบำบัดพิเศษกลาง ต้องขังติดเชื้อรายใหม่ 26 รายอยู่ระหว่างการรักษา 127 ราย
8.เรือนจำจังหวัดนนทบุรี ต้องขังติดเชื้อรายใหม่ 1 รายอยู่ระหว่างการรักษา 384 ราย
9.เรือนจำกลางบางขวาง ต้องขังติดเชื้อรายใหม่ 299 รายอยู่ระหว่างการรักษา 1,214 ราย
10.เรือนจำพิเศษมีนบุรี ต้องขังติดเชื้อรายใหม่ -อยู่ระหว่างการรักษา 11 ราย
11.เรือนจำกลางสมุทรปราการต้องขังติดเชื้อรายใหม่ – อยู่ระหว่างการรักษา 2 ราย
12.ทัณฑสถานหญิงธนบุรี ต้องขังติดเชื้อรายใหม่ 8 รายอยู่ระหว่างการรักษา67 ราย
นายอายุตม์ กล่าวอีกว่า ปัจจุบันมีผู้ต้องขังที่ได้รับการตรวจเชื้อแล้ว จำนวน 37,288 ราย มีเรือนจำที่ตรวจครบ 100% เพิ่มอีก 1 แห่ง คือ เรือนจำกลางฉะเชิงเทรา ส่วนเรือนจำอื่นๆ ที่ตรวจครบแล้ว
ยังมีการ SWAB หาเชื้อซ้ำทุกๆ 7 วันในกลุ่มที่ยังไม่พบเชื้อ รวมถึงการตรวจหาเชื้อในผู้ต้องขังเรือนจำอื่นๆ และผู้ต้องขังเข้าใหม่ทุกรายจนกว่าสถานการณ์จะปกติ
สำหรับความคืบหน้าในการดำเนินการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันเชื้อไวรัสโควิด-19 ในผู้ต้องขัง ในวันนี้ (22 พฤษภาคม 2564) กรมราชทัณฑ์จะเริ่มฉีดวัคซีนแก่ผู้ต้องขังที่เรือนจำพิเศษมีนบุรีเป็นแห่งแรก จำนวน 1,500 ราย และตั้งเป้าฉีดวัคซีนเข็มแรกจนครบ 3,831 ราย ภายใน 1 สัปดาห์ โดยการสนับสนุนวัคซีนจาก กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เป็นวัคซีน 2 ชนิด คือ ซิโนแวค เพื่อฉีดแก่ผู้ต้องขังกลุ่มอายุต่ำกว่า 60 ปี และแอสตร้าเซนเนก้า เพื่อฉีดให้กับผู้ต้องขังกลุ่มสูงอายุ และกลุ่มป่วย 7 โรคเรื้อรัง ด้วยความร่วมมือในการให้บริการฉีด โดยโรงพยาบาลนวมินทร์ 9 และทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์” นายอายุตม์ กล่าว
นอกจากนี้ กรมราชทัณฑ์ ได้มอบหมายให้ศูนย์ CARE ประจำเรือนจำและทัณฑสถานทุกแห่ง รับผิดชอบในการประสานงานรวบรวมข้อมูลของผู้ต้องขังที่ติดเชื้อ และแจ้งให้ญาติผู้ต้องขังทราบเป็นการเฉพาะราย พร้อมทั้งแจ้งความคืบหน้าการรักษา และอาการป่วยของผู้ต้องขังให้ญาติทราบผ่านทางโทรศัพท์ หรือช่องทางการสื่อสารอื่นใดที่ได้แจ้งไว้ เพื่อบรรเทาความห่วงใยของญาติผู้ต้องขัง ทั้งนี้ การดำเนินการทุกขั้นตอนจะต้องได้รับความยินยอมจากผู้ต้องขังก่อนเสมอ
