- โชว์ผลงานที่อนุรักษ์เต่าทะเล
- ภายใต้ชื่อว่า “Future in our hand”
- รูปมือคนโอบอุ้มเต่าหัวค้อน
เมื่อเช้าวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2563 ณ สวนโอโดริ เมืองซัปโปโร จ.ฮอกไกโด ประเทศญี่ปุ่น ทีมแกะสลักประเทศไทยคว้าแชมป์แกะสลักหิมะในการประกวดแข่งขัน Sapporo International Snow Sculpture ครั้งที่ 47 เป็นปีที่ 3 ติดต่อกัน (Grand Campion)โดยนายเสกสรร ศรีไพรพรรณ ผู้อำนวยการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานโตเกียว (ททท.) กล่าวว่า ในปีนี้ทีมประเทศไทยมาพร้อมแนวคิด Resposible Tourism หรือการท่องเที่ยวแบบรับผิดชอบ โดยชิ้นงานรูปแกะสลักเป็นรูปมือที่โอบอุ้มเต่าหัวค้อน ภายใต้ผลงานที่ชื่อว่า “Future in our hand” ผลงานดังกล่าวเป็นการสะท้อนภาวะโลกร้อนในปัจจุบันที่เกิดขึ้นจากมือมนุษย์ กอปรกับในปี 2563 ททท. ครบรอบ 60 ปี แห่งการสถาปนาซึ่งใช้การท่องเที่ยวแบบรับผิดชอบ(Responsible Tourism) เป็น key message หรือแนวคิดหลักในการสื่อสาร จึงเป็นที่มาของ”เต่าทะเล”โดยในปีนี้มีทีมแกะสลักเข้าแข่งขัน 11 ประเทศ ประกอบด้วย ออสเตรเลีย ฟินแลนด์ ลิทัวเนีย พอร์ทแลนด์(สหรัฐฯ) เกาะฮาวาย โปแลนด์ สิงคโปร์ มองโกเลีย อินโดนีเซีย มาเก๊า และประเทศไท
ขณะที่ทีมนักแกะสลักประกอบด้วย1.นายกุศล บุญกอบส่งเสริม (หัวหน้าทีม) 2.นายอำนวยศักดิ์ ศรีสุข 3.นายกฤษณะ วงศ์เทศ ทั้งนี้ ประเทศไทยได้รับรางวัลชนะเลิศในการประกวดแข่งขันแกะสลักหิมะ นานาชาติรวมทั้งสิ้น 9 ครั้ง ได้แก่ ปี 2543 (ค.ศ. 2000) ปี 2551-2553 (ค.ศ. 2008-2010) ปี 2556 (ค.ศ. 2013) 2558 (ค.ศ. 2015) จากนั้นในปี 2561 (ค.ศ.2018) ชนะเลิศกับกับผลงาน “ไก่ชน” และปี 2562 (ค.ศ.2019)ชนะเลิศกับผลงาน“ปลากัด”และล่าสุด 2563 (ค.ศ. 2020) คว้าแชมป์กับผลงาน “เต่าทะเล” เมื่อรวมทุกสมัย ไทยกลายแชมป์แกะสลักหิมะในรายการนี้ครั้งที่ 9
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับผู้ร่วมแข่งขันชาติอื่น ผู้ชนะอันดับ 2 คืออินโดนีเซีย กับงาน “ลิงอุรังอุตัง” อันดับ 3 คือ ฟินแลนด์ กับผลงานชื่อ “The Spiral” อันดับ 4 สิงคโปร์ กับผลงาน “ XYZ Star”และอันดับ 5 คือ มาเก๊า กับผลงาน “Galloping” โดยในพิธีมอบรางวัลทีมไทย นายกุศล บุญกอบส่งเสริม (หัวหน้าทีม)ซึ่งเป็นหัวหน้าทีม ถูกพิธีกรบนเวทีซักถามว่า คว้าชัยชนะมาได้อย่างไร ในเมื่อเมืองไทยไม่มีหิมะ นายกุศลได้ตอบกลับขำๆว่าซ้อมวิ่งทุกวัน ทำให้ได้รับเสียงหัวเราะและปรบมือชื่นชมกันทั้งงาน
หลังจากนั้น นายกุศล ได้ให้สัมภาษณ์ ว่า แนวคิดของผลงานแกะสลักเป็น
รูปแบบที่ ททท.ให้มาโดยอิงกับเหตุการณ์ปัจจุบัน ที่ใช้แนวอนุรักษ์ธรรมชาติทางทะเล โดยที่มีมือโอบกอดเต่าทะเลไว้ เพื่อเป็นสัญลักษณ์ให้คนทั่วโลกช่วยกันดูแลเต่าทะเล เพราะที่ผ่านมามีข่าวในประเทศไทยว่าเต่าทะเลตายจำนวนมาก ซึ่งเกิดจากการทิ้งขยะลงทะเล ดังนั้น ในผลงานแกะสลัก จึงประกอบด้วย เศษขยะรอบๆตัวเต่าทะเลด้วย โดยผลงานชิ้นร้คิดแบบล่วงหน้ามาก่อนการแข่งขัน 4-5 เดือน ก่อนหน้านี้ใช้วิธีซ้อมแกะโฟมมาก่อน เพราะเมืองไทยไม่มีหิมะ เมื่อถึงการแข่งขันได้เริ่มจากตีสเกลลงบนก้อนน้ำแข็งสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่ก่อน ซึ่งในระหว่างแก้ปีนี้หิมะตกเยอะมาก ถามว่าหนาวมั๊ย ก็หนาว แต่พอทำงานเหงื่อก็ออก ซึ่งในการมาแข่งขันทุกครั้งก็ตั้งใจเต็มที่ ใช้ทักษะจากงานที่ทำอยู่ตามปกติ เป็นช่างแกะสลักน้ำแข็ง ที่โรงแรมแชงกลีลา ส่วนนายอำนวยศักดิ์ ศรีสุข ทำงานแกะสลักน้ำแข็งที่โรงแรมแกรนด์ ไฮแอท เอราวัณ และนายกฤษณะ วงศ์เทศ มีอาชีพอิสระ ทั้งสามคน เป็นเพื่อนกันมาก่อน เมื่อถามว่าการแกะสลักน้ำแข็งและ กะสลักหิมะเหมือนกันไม่ นายกุศล กล่าวว่าไม่เหมือนกันแต่ใช้ทักษะเดียวกัน ซึ่งที่มาแข่งขันทุกครั้ง ก็มั่นใจทุกครั้งและเมื่อมาแล้วก็จะมีการพัฒนาผีมือเพิ่มเรื่อยๆ