- สร้างมูลค่าทางการค้า
- มีบทบาทในระบบเศรษฐกิจ
- รับการเปลี่ยนแปลงสู่เศรษฐกิจยุคใหม่
ม.ล.คฑาทอง ทองใหญ่ นักวิชาการพาณิชย์เชี่ยวชาญ กล่าวว่า กระทรวงพาณิชย์มีนโยบายมุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพทางการตลาดของ SMEs และ Micro SMEs และส่งเสริมผู้ประกอบการรายใหม่ให้มีบทบาทในระบบเศรษฐกิจ ตามยุทธศาสตร์ชาติและแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 13 กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ จึงได้ดำเนินโครงการและกิจกรรมต่างๆ เพื่อผลักดันและสนับสนุนผู้ประกอบการรายใหม่ทั้งในส่วนกลางและภูมิภาค ให้นำความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมมาใช้ในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและบริการเพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการค้าและยกระดับสินค้าไทยให้มีมูลค่าเพิ่มสูงพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงสู่เศรษฐกิจยุคใหม่ (NEW ECONOMY)”
โครงการส่งเสริมนักออกแบบไทยสู่ตลาดโลก ดำเนินงานโดยสำนักส่งเสริมนวัตกรรมและสร้างมูลค่าเพิ่มเพื่อการค้า เป็นอีกหนึ่งโครงการสำคัญที่ช่วยสนับสนุนคนรุ่นใหม่ที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการดำเนินธุรกิจ ให้รับโอกาสพัฒนาศักยภาพพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงสู่เศรษฐกิจยุคใหม่ รวมทั้งช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ของประเทศสู่การเป็น ศูนย์กลางอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ในภูมิภาคเอเชีย ตลอดระยะเวลา 21 ปี กรมได้สร้างกลุ่มผู้ประกอบการรุ่นใหม่ที่มีศักยภาพสู่เวทีในระดับประเทศและระดับสากล เป็นจำนวนมาก มีนักออกแบบที่ได้รับการพัฒนาในโครงการแล้ว กว่า 744 ราย
ในปีนี้ เป็นอีกครั้งที่มีการเปิดรับสมัครนักออกแบบรุ่นใหม่จากทั่วประเทศเข้าร่วมโครงการ โดยกรมได้เชิญคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในวงการออกแบบและการตลาดมาร่วมคัดเลือกเพื่อเฟ้นหานักออกแบบที่มีความพร้อมให้ได้รับโอกาสพัฒนาศักยภาพเติบโตไปสู่ตลาดสากล ทั้งนี้จะเห็นได้ว่าความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในปัจจุบัน ทำให้รูปแบบพฤติกรรมและความต้องการของผู้บริโภคเปลี่ยนไปจากเดิมค่อนข้างมาก ในฐานะนักออกแบบต้องจับตามองแนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในโลกยุคใหม่นี้ทั้ง Digital Transformation และ Sustainable Development Goals รวมถึง DIGITAL MARKET ที่มีการแข่งขัน ทำให้ต้องเกิดการพัฒนาที่ตอบสนองถึงความต้องการของคนทั่วโลก เพื่อสร้าง the Creative Power of The New Era และที่สำคัญต้องไม่ลิดรอนความต้องการของคนรุ่นหลังอีกด้วย สิ่งเหล่านี้ จึงถือว่าเป็นการพัฒนาที่ยั่งยืน”
โครงการส่งเสริมนักออกแบบไทยสู่ตลาดโลก จัดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี 2545 สำหรับนักออกแบบแฟชั่น และ ปี 2547 สำหรับ นักออกแบบสินค้าไลฟ์สไตล์ และล่าสุดเมื่อปี 2564 ได้เพิ่มกลุ่ม Creative Studio ผู้ให้บริการด้านการออกแบบ จากการดำเนินงานมาอย่างต่อเนื่อง มีนักออกแบบที่ได้รับการพัฒนาจากโครงการ แบ่งเป็น กลุ่ม Designers’ Room นักออกแบบแฟชั่น เสื้อผ้า กระเป๋า รองเท้า และเครื่อง
ประดับ จำนวน 215 แบรนด์ กลุ่ม Talent Thai นักออกแบบสินค้าไลฟ์สไตล์ เฟอร์นิเจอร์ ของใช้และของตกแต่งบ้าน จำนวน 520 แบรนด์ กลุ่ม Creative Studio ธุรกิจบริการด้านการออกแบบในสาขาต่างๆ ตั้งแต่ Ci & Branding, Character Design, Graphic Design, illustration, Industrial Design จำนวน 9 ราย
นางสาวประอรนุช ประนุช ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมนวัตกรรมและสร้างมูลค่าเพิ่มเพื่อการค้า กล่าวว่า “โครงการนี้ ได้สร้าง“บุคลากร/นักสร้างสรรค์” ที่สร้างประโยชน์ให้กับประเทศ และเป็นเวทีบ่มเพาะนักออกแบบรุ่นใหม่ให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดต่างประเทศ และสร้างชื่อเสียงให้เป็นที่ยอมรับในเวทีระดับนานาชาติ ปัจจุบันนักออกแบบไทยที่เคยเข้าร่วมโครงการ มีผลงานเป็นที่รู้จักในวงกว้าง เป็นแบรนด์ที่สร้างชื่อเสียงทั้งในประเทศและต่างประเทศ
สำหรับ “โครงการส่งเสริมนักออกแบบไทยสู่ตลาดโลก” ในปี 2566 นี้ แบ่งการดำเนินงานเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนแรก สำหรับนักออกแบบที่เคยเข้าร่วมโครงการในอดีต จะได้รับโอกาสในการเข้าร่วมการเจรจาการค้า การส่งเสริมภาพลักษณ์และประชาสัมพันธ์แบรนด์ ในงานแสดงสินค้าและเวทีการออกแบบในต่างประเทศ เช่น งานแสดงสินค้า Bangkok Gems and Jewelry Fair ระหว่างวันที่ 6 – 10 กันยายน 2566 งานแสดงสินค้า MAISON & OBJET ณ กรุงปารีส ระหว่างวันที่ 7 – 11 กันยายน 2566 และเจรจาการค้าผ่านแพลตฟอร์ม m.o.m. งานแสดงสินค้า COTERIE New York ระหว่างวันที่ 19 – 21 กันยายน 2566 งานแสดงสินค้า STYLE Bangkok 2024 ระหว่างวันที่ 20 – 24 มีนาคม 2567 การเข้าร่วมงาน Milan Design Week ระหว่างวันที่ 13 – 18 เมษายน 2567 และงาน Creative Expo Taiwan ช่วงเดือนตุลาคม 2567 ซึ่งจะเป็นเวทีสร้างชื่อเสียงและเพิ่มช่องทางทางการค้าสู่ตลาดสากลได้ ส่วนที่ 2 สำหรับนักออกแบบรุ่นใหม่ที่เราจะเปิดรับสมัครในปี 2566 ตั้งแต่วันนี้ จนถึงวันที่ 16 มิถุนายน 2566 ดำเนินการภายใต้แนวคิด “Keep an eye on : The Creative Power Of The New Era” นักออกแบบรุ่นใหม่ที่เข้าร่วมโครงการจะได้รับการพัฒนาองค์ความรู้ในการดำเนินธุรกิจ ให้สอดรับกับเศรษฐกิจยุคใหม่และแนวโน้มเมกะเทรนด์โลก โดยแบ่งเป็น 2 หลักสูตร ได้แก่
(1) หลักสูตรแรก ความรู้พื้นฐานการเป็นนักออกแบบระดับสากล อาทิ การสร้างแบรนด์ การตลาดดิจิทัล การค้าออนไลน์ และการพัฒนาสินค้าให้สอดคล้องกับแนวโน้มเมกะเทรนด์โลก อาทิ กระบวนการออกแบบหมุนเวียน (Circular Design) การพัฒนาธุรกิจมุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำและมุ่งสู่ความยั่งยืน (SDGs) เป็นต้น โดยวิทยากรจากหน่วยงานชั้นนำ อาทิ Amazon.com, CIRCO HUB Thailand เป็นต้น
(2) หลักสูตรที่ 2 ค่ายบ่มเพาะนักออกแบบไทยสู่สากล โดยแลกเปลี่ยนประสบการณ์จาก Mentor รุ่นพี่และรับโจทย์การพัฒนาสินค้าและธุรกิจ จากเครือข่ายพันธมิตรของโครงการ ได้แก่ เครือบ้านและสวน / SC Grand และองค์กร LIMITED EDUCATION และจากแบรนด์รุ่นพี่ที่ประสบความสำเร็จ Qualy/ Mobella/ SARRAN และ Q Design and Play พร้อม Alumni Team จะมาเป็นพี่เลี้ยงตลอดทั้งโครงการและกระตุ้นให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ต่อยอดความคิดในการดำเนินธุรกิจเพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือกันต่อ
สำหรับนักออกแบบที่สนใจเข้าร่วมโครงการส่งเสริมนักออกแบบไทยสู่ตลาดโลก ปี 2566 สามารถสมัครเข้าร่วมโครงการได้ ตั้งแต่วันนี้ – 16 มิถุนายน ติดตามรายละเอียดการรับสมัครเพิ่มเติมได้ที่เฟสบุ๊ค Talent Thai & Designers’ Room และสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) กระทรวงพาณิชย์ www.ditp.go.th หรือสายตรงการค้าระหว่างประเทศ โทร 1169