

- ด้านบริการภาครัฐ ดีเด่น.บริหารราชการแบบมีส่วนร่วม
- คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ
นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพากร เปิดเผยว่า คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ ได้ประกาศผลการพิจารณารางวัลเลิศรัฐ ประจำปี 2563 โดยให้กรมสรรพากรเป็นหน่วยงานเดียว ที่ได้รับ “รางวัลเลิศรัฐยอดเยี่ยม” ในปีนี้ ซึ่งเป็นรางวัลที่มอบให้แก่หน่วยงานภาครัฐ เพื่อเป็นการยกย่องเชิดชูหน่วยงานที่ได้มุ่งมั่นปฏิบัติราชการจนประสบความสำเร็จมีความเป็นเลิศแห่งหน่วยงานภาครัฐนอกจากนั้นกรมสรรพากรยังได้คว้ารางวัลเลิศรัฐอีก 4 ประเภท ใน 3 สาขา ประกอบด้วย 1. สาขาการบริการภาครัฐ ระดับดีเด่น 1 รางวัล จากผลงาน “น้องอารี” ผู้ช่วยอัจฉริยะเรื่องภาษีสรรพากร เพื่อพัฒนาและยกระดับการให้บริการตอบคำถามด้านภาษีอากรแก่ประชาชน โดยการนำเทคโนโลยีดิจิทัล (ปัญญาประดิษฐ์ : AI) นำมาสู่การออกแบบและพัฒนาให้ผู้เสียภาษีเป็นศูนย์กลาง 2. สาขาการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม ระดับดีเด่น 1 รางวัล รางวัลประเภทเปิดใจใกล้ชิดประชาชน (Open Governance) ที่แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นตั้งใจในการพัฒนาการบริหารราชการให้เป็นระบบราชการแบบเปิด ส่งเสริมให้ผู้เสียภาษี ผู้ประกอบการ และ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่างๆ เข้ามามีส่วนร่วมด้วยการให้ข้อมูลและรับฟังความคิดเห็น 3. สาขาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ 2 รางวัล ได้แก่ รางวัลคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ 4.0 สะท้อนความสำเร็จในการบริหารจัดการองค์การที่แสดงถึงขีดสมรรถนะสูงและทันสมัย โดยพัฒนาระบบการบริหารจัดการได้อย่างมีมาตรฐาน สามารถสร้างคุณค่า นวัตกรรม และทันต่อโลกแห่งการเปลี่ยนแปลง และมุ่งสู่การเป็นระบบราชการ 4.0 และ รางวัลคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ ในด้านความเป็นผู้นำองค์กรและความรับผิดชอบต่อสังคม ซึ่งสะท้อนความสำเร็จของการบริหารและการกำกับดูแลองค์กรของผู้นำองค์กรและการสร้างคุณูปการ ต่อสังคมที่ทำให้กรมสรรพากรบรรลุผลสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน “กรมสรรพากรเห็นถึงความสำคัญของการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้เพื่อขับเคลื่อนหน่วยงานสู่องค์กรดิจิทัลมากว่า 2 ปี และด้วยความมุ่งมั่นและทุ่มเทของเจ้าหน้าที่กรมสรรพากร ทำให้กรมสรรพากรได้รับรางวัลในระดับประเทศในครั้งนี้ รางวัลนี้เป็นสิ่งสะท้อนให้ผู้เสียภาษี ผู้ประกอบการ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียโดยทั่วไป มั่นใจได้ว่ากรมสรรพากรจะมุ่งมั่นพัฒนาการบริการประชาชนด้านภาษีให้เป็นเรื่องง่าย สะดวก รวดเร็วและปลอดภัย รวมถึงมีความโปร่งใส และเป็นธรรม ผู้เสียภาษีและเดินหน้าตามวิถีใหม่ (นิวนอร์มอล) ”