

เมื่อเวลา 14.00 น. วันที่ 12 ธันวาคม ที่บริเวณหน้าองค์การสหประชาชาติ (ยูเอ็น) กลุ่มเครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่น พร้อมด้วยภาคี เครือข่ายประกอบไปด้วย สมาพันธ์สมาคมประมงพื้นบ้านแห่งประเทศไทย, สมาคม สมาพันธ์, โรงเรียนสอนศาสนาอิสลามภาคใต้, ภาคีภาคประชาชน, เครือข่าย save นาบอน และกลุ่มp-move ได้อ่านแถลงการณ์ประกาศจุดยื่นที่จะเข้าร่วมการ เรียกร้องให้รัฐบาลทำตามบันทึกข้อตกลงที่ทำไว้กับผู้ชุมนุมเมื่อเดือนธันวาคม2563 เนื่องจากรัฐบาลทำผิดสัญญา ไม่มีการแจ้งความคืบหน้าของโครงการให้คนในพื้นที่ทราบ ในขณะเดียวกันบริษัทเอกชน และกลุ่มสนับสนุนได้ลักไก่เดินหน้าจัดทำ EIA ของโครงการต่าง ๆ ในพื้นที่จะสร้างอุตสาหกรรมจะนะ จ.สงขลา มีการตั้งเวทีรับฟังความคิดเหตุก็จริง แต่ทำผ่านระบบออนไลน์โดยอ้างเรื่องสถานการณ์การระบาดโควิด-19 ทำให้ชาวบ้านในพื้นที่ ที่ไม่ทีความชำนาญ หรือเข้าถึงเทคโนโลยีได้ไม่มีพื้นที่แสดงแนวหรือผลกระทบในท้องถิ่น ซึ่งเป็นข้อมูลที่เป็นความจริงได้ ถือเป็นการลักไก่ หรือที่คนภาคใต้เรียกว่า “ขี้ฉ้อ” ทำให้ก่อนหน้านี้เรามาร่วมตัวกันเพื่อทวงสัญญาจากรัฐบาล แต่กลับโดนสลายการชุมนุมและดำเนินคดี
ทั้งที่ประชาชนอย่างเรามาเพื่อเรียนร้องความยุติธรรม จากความเดือดร้อนที่เจ้าหน้าที่รัฐได้กระทำ โดยไม่มีเรื่องการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้อง แต่รัฐบาลกลับพยายามยัดเยียดเรื่องการเมืองให้เรา และดำเนินคดีกับชาวบ้าน ในลักษณะเดียวกับการชุมนุมทางการเมือง ทั้งนี้ยืนยันว่าพวกเรามีเจตนารมณ์เพียงแค่จะปกป้องทะเล ดูแลอากาศ ไม่ใช่แค่อำเภอจะนะแต่เป็นอุตสาหกรรมทุกแห่ง ทุกภาคเมื่ออุตสาหกรรมเข้ามาโดยไม่มีประชาชนเป็นส่วนร่วมก็จะเป็นการละเมิดสิทธิของประชาชน ในวันนี้กลุ่มเราจะเป็นเสมือนตนแบบที่จะแสดงออกถึงการเรียกร้อง เพื่อปกป้อง และพัฒนาที่ยั่งยื่นเป็นหลังจากนี้
ด้านนายจำนงค์ หนูพันธ์ ประธาน P-move กล่าวว่า เรายังคงย้ำและเรียกร้อง4 คือ 1.รัฐบาลต้องตรวจสอบศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.)อีกครั้ง 2.รัฐบาลจะจัดให้มีการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมอย่างครบถ้วน เพื่อให้มีข้อมูลทางวิชาการที่ถูกต้องประกอบการตัดสินใจเดินหน้าหรือยุติโครงการต่อไป 3.รัฐบาลต้องยุติการดำเนินการทั้งหมดไว้ก่อนจนกว่าจะดำเนินการตามข้อ 1 และ 2 แล้วเสร็จ และ4.รัฐบาลต้องยุติการดำเนินคดีกับเครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่นทั้ง 37 คน ที่เกิดจากการสลายการชุมนุมหน้าทำเนียบรัฐบาล ต้องการหาทางออกความขัดแย้งด้วยกระบวนการ แนวทางการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ หรือ SEA เราไม่เคยยืนกระต่ายขาเดียวว่าโครงการนี้ต้องหยุด
แต่เราเสนอว่าจะทำต่อหรือยกเลิก เอาเหตุผลทางวิชาการมาเป็นตัวตัดสินได้หรือไม่ ใช้นักวิชาการที่มีความชำนาญแต่ละเรื่อง และมี 3 ด้านที่ควรศึกษา คือด้านสิ่งแวดล้อม,สังคมวัฒนธรรม, และเศรษฐศาสตร์
จากนั้นเอาข้อเท็จจริงมาประกอบการตัดสินใจให้กับชาวบ้านที่อยู่ในพื้นที่ สิ่งที่เราอยากได้วันนี้ไม่ใช่ MOU อีกต่อไป เราได้ทำร่างกระบวนการ SEA ไว้ให้ท่านแล้ว ร่างนี้ถูกรับรองจากนักวิชาการในมหาวิทยาลัยที่ จ.สงขลา หากมีการตกลงในขั้นหลักการ นายกรัฐมนตรีสามารถเซ็นแต่งตั้งคำสั่งนี้ พวกตนกลับบ้านเลย แต่ถ้าไม่เซ็น ไม่มีกำหนดกลับ จะนั่งอยู่จนกว่าจะได้สิ่งที่ต้องการ
ที่ปรึกษาเครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่น เปิดเผยว่า ในวันพรุ่งนี้เรา และเครือข่ายที่จะเดินทางมาจากภาคใต้อีกนับ 100 คน จะเดินทางที่ ประตู 1 ทำเนียนรัฐบาล ถึงแม้จะรู้ว่าตอนนี้เจ้าหน้าที่ตำรวจได้มีการวางสิ่งกีดขวางไว้ตามเส้นทางที่จะเคลื่อนขบวน แต่อย่างไรก็จะเดินทางไปให้ใกล้ที่สุด จากการหารือกับชาวบ้าน เราพร้อมจะแลกทุกสิ่งทุกอย่างแม่กระทั้งชีวิต เพื่อให้ได้ข้อตกลงที่ต้องกร และขอตกลงของเราต้องเป็นข้อตกลงที่ผ่านมติ ครม. จึงจะเดินทางกลับ
นอกจากนี้อยากให้ทุกคนตั้งข้อสังเกต ตนได้ข่าวมาว่า วันนี้มีกลุ่มสนับสนุนโคงการอุตสาหกรรมทางภาคใต้กำลังจะเดินทางขึ้นมา เป็นข้อเท็จจริงหรือไม่ และจะขึ้นมาเพื่ออะไร และได้ข่าวมาว่ามีบุคคลที่สนิทกับนักการเมือง กำลังพยายามเข้ามาเคลียร์ ซึ่งตนประกาศไว้ตรงนี้ว่าอย่าให้เห็นว่าเข้ามาในพื้นที่ ตนไม่รับรองความปลอดภัย ถ้าอยากคุยหรือเจรจาอะไร ไปเจอกันพรุ่งนี้ที่ทำเนียนรัฐบาล