“ออสสิริส” ชี้อนาคตราคาทองเดือน พ.ค.66 มีสัญญาณพุ่งต่อ คาด Fed ปิดเกมขึ้นดอกเบี้ย เกาะติดแบงค์สหรัฐเสี่ยงล้มเพิ่ม



  • ออสสิริสผู้เชี่ยวชาญGold Investmentชี้แนวโน้มราคาทองคำ..66ส่งสัญญาณพุ่งต่อไป
  • จับตาFedส่งสัญญาณปิดเกมขึ้นดอกเบี้ยใกล้จบแล้ว
  • รวมทั้งมีสัญญาณแบงค์สหรัฐโดนลดเครดิตยังอยู่ในภาวะเสี่ยงล้มเพิ่ม

นายพีระพงศ์ วิริยะนุเคราะห์ นักวิจัยอาวุโส แผนก Ausiris Intelligence บริษัท ออสสิริส จำกัด กล่าวว่า ในฐานะที่บริษัทเชี่ยวชาญด้าน Gold Investmen ได้จัดทำวิเคราะห์สรุปสถานการณ์ราคาทองคำตลอดเดือนเมษายน 2566 พบราคาทองคำ “ในตลาดโลก” ปรับตัวทำจุดสูงสุดในรอบ 1 ปี 1 เดือนที่ระดับ 2,048 usd/oz ส่วน “ราคาทองในประเทศ” ทำสถิติพุ่งสูงสุดในประวัติศาสตร์ คือ ทองคำแท่ง 96.5% ขายออกสูงสุดถึงบาทละ 32,850 บาท ทองรูปพรรณขายออกสูงสุดบาทละ 33,350 บาท อ้างอิงราคาจากสมาคมค้าทองคำ ซึ่งได้รับแรงหนุนจากรายงานการประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed Minutes) ระบุถึงวิกฤตแบงก์ล่มและความวุ่นวายอื่น  ในภาคการเงิน เริ่มขึ้นเมื่อต้นเดือนมีนาคมจึงเป็นเหตุฉุดเศรษฐกิจสหรัฐฯ เข้าสู่ภาวะถดถอยภายในปี2566 และแรงหนุนจากการประกาศตัวเลขเงินเฟ้อสหรัฐที่ชะลอตัวลงอยู่ที่ 5% ซึ่งลดลงเร็วกว่าที่คาดและต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือนกันยายน 2564

ขณะนี้นักลงทุนเริ่มคาดการณ์ภาพรวมมีแนวโน้มเป็นไปได้สูงว่าก่อนหยุดพักครึ่งปี ในเดือนมิถุนายน 2566 ว่า Fed อาจจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกเพียง 1 ครั้ง ส่วนตัวเลข “การจ้างงาน” ก็เริ่มมีสัญญาณลดลง จำนวนขอสวัสดิการเพราะเกิดการว่างงานสูงขึ้นมากด้วย และตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐเองก็ยังไม่ฟื้นตัว ผนวกกับสถานการณ์รัสเซียยูเครน ยังคงความตึงเครียดขึ้น ภาพรวมทั้งหมดข้างต้นเป็นปัจจัยหลักทำให้ราคาทองเดือนเมษายน 2566 พุ่งขึ้นแรง

ทำให้แนวโน้มราคาทองคำ “เดือนพฤษภาคม 2566” วิเคราะห์จากสถิติราคาทองคำที่ผ่านมาในรอบ 10 ช่วงเดือนพฤษภาคมของแต่ละปี ราคาทองคำปรับลง 5 ครั้ง และปรับขึ้น 5 ครั้ง เฉลี่ยลงไปอยู่ที่ 3.94% ส่วนการขึ้นเฉลี่ย2.48% ดังนั้นเดือนพฤษภาคมปีนี้จึงมีโอกาสจะเกิดความผันผวนสูงอีกด้วย

สำหรับ “ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อราคาทองคำ มีนัยสำคัญ 5 ประเด็น ได้แก่

ประเด็นที่ 1 สถานการณ์ทางฝั่งสหรัฐต้องติดตามช่วงตั้งแต่ 4 พฤษภาคม เป็นต้นมา ได้กำหนดการประชุมของคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (FOMC) ของธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) เพื่อตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบายการเงิน มีแนวโน้มการประชุม Fed รอบนี้จะขึ้นดอกเบี้ยเพียง 0.25% ขยับขึ้นเป็น 5.00-5.25% อยู่ระดับสูงสุดในรอบ 16 ปีและปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็นครั้งที่ 10 นับตั้งแต่มีวัฏจักรปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเมื่อเดือนมีนาคม 2565 ทำให้นักวิเคราะห์คาดการณ์ช่วงก่อนการประชุมจนถึงช่วงประชุม Fed รอบใหม่ สถานการณ์สกุลเงินดอลลาร์อาจแข็งค่าและกดดันราคาทองคำ

จึงต้องติดตามสถานการณ์ตลาดเพื่อโฟกัสว่าทาง Fed จะมีทิศทางอย่างไรเกี่ยวกับทิศทางดอกเบี้ยช่วงที่เหลือของปีนี้หาก Fed ส่งสัญญาณชะลอหรือยุติการขึ้นอัตราดอกเบี้ย เนื่องจากความกังวลเรื่องเศรษฐกิจถดถอย ดังนั้นราคาทองอาจมีแนวโน้มปรับขึ้นต่อทันที รวมทั้งมีผลสำรวจล่าสุดของ Bloomberg ชี้ให้เห็นถึงคาดการณ์เพิ่มขึ้นว่าปลายปีนี้Fed จะลดอัตราดอกเบี้ย หากภาวะเศรษฐกิจแย่ลง ในทางกลับกันหาก Fed ส่งสัญญาณนโยบายเข้มงวดต่อ เพื่อหวังให้เงินเฟ้อลดลง ก็จะผส่งผลทำให้ราคาทองอาจถูกกดดันต่อไป 

ประเด็นที่ 2  ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตรของสหรัฐฯ เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2566 เป็นไปตามคาดการณ์ตลาดอย่างไร คนตกงานเพิ่มขึ้นหรือลดลง สะท้อนถึงปัญหาเศรษฐกิจถดถอยหรือไม่ ซึ่งจะเป็นมาตรวัดหนึ่งที่ Fed จะใช้ประเมินทิศทางดอกเบี้ยในการประชุมครั้งถัดไป ผนวกกับเรื่องอัตราเงินเฟ้อสหรัฐฯ ก็ยังเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องติดตาม ล่าสุดเดือนมีนาคมเงินเฟ้อยังคงตัวในระดับสูงอยู่ที่ระดับ 5%  แม้จะต่ำสุดนับตั้งแต่กันยายน 2564 แต่ยังห่างจากเป้าของ Fed ที่ระดับ 2% เดือนเมษายนปีนี้เปลี่ยนแปลงตามประกาศวันที่ 10 พฤษภาคม 2566

ประเด็นที่ 3 ต้องติดตามสถานการณ์ในสหรัฐฯ ยังมีความเสี่ยงเกิด Bank Runs Moody’s ปรับลดอันดับเครดิตธนาคาร สาเหตุเพราะมีสินทรัพย์ลดลง 11 แห่ง ได้แก่ Associated Banc-Corp.,Comerica Inc., First Hawaiian Inc., First Republic Bank, Intrust Financial Corporation, UMB Financial Corp, Washington Federal Inc., Western Alliance Bancorp ,US Bank และ Zions Bancorporation

การที่ Moody’s ปรับลดอันดับเครดิตธนาคาร 11 แห่ง มีความเสี่ยงทำให้ธนาคารในสหรัฐฯ เสี่ยงเกิด Bank Runs และเพิ่มความเสี่ยงทำให้ธนาคารจะล้มเพิ่ม ซึ่งจะกระทบต่อการเลิกจ้างงาน การลงทุนในสหรัฐฯ ท่ามกลางผันผวนจากหลายปัจจัยดังกล่าวนี้อาจทำให้ธนาคารกลางของ BRICS ลดการถือดอลลาร์แล้วเปลี่ยนไปถือทองคำเพิ่มมากขึ้น          

ประเด็นที่ 4 ต้องติดตามสถานการณ์ฝั่งยุโรป จากถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางยุโรป (ECB) เพื่อประเมินแนวโน้มการขึ้นดอกเบี้ยของ ECB ซึ่งนักลงทุนประเมินว่ามีโอกาสที่ ECB จะเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยต่ออีก0.25% หลังการประชุมวันที่ 4 พฤษภาคม 2566 รอบใหม่นี้จึงมีโอกาสจะปรับขึ้น 0.50% และคาดในการประชุมครั้งถัดไปจะปรับขึ้นอีก 2 ครั้ง มีผลทำให้ “สกุลเงินยูโร” มีแนวโน้มปรับตัวแข็งค่าขึ้น ถือเป็นปัจจัยหนุนทองคำด้วย

ประเด็นที่ 5 ปัจจัยด้านภูมิรัฐศาสตร์เริ่มส่งสัญญาณตรึงเครียดอีกครั้ง ล่าสุดรองประธานสภาความมั่นคงและพันธมิตรคนสำคัญของประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ผู้นำรัสเซีย ออกมาเตือนว่าโลกอาจเข้าใกล้การเกิดสงครามโลกครั้งใหม่เข้าไปทุกขณะ พร้อมขู่จะเกิดความเสี่ยงที่จะเกิดการปะทะกันด้วยอาวุธนิวเคลียร์กำลังเพิ่มสูงขึ้น หากปัจจัยดังกล่าวส่อเค้ารุนแรง “เดือนพฤษภาคม 2566” อาจเป็นแรงหนุนให้ราคาทองคำขึ้นต่อไป  

ส่วนการวิเคราะห์แนวโน้ม “ราคาทองคำในมุมทางเทคนิค” พบว่าอยู่ในช่วงปรับฐานราคาซึ่งพยายามสร้างฐานที่1,970-1,980 usd/oz ถ้าหลุดแนวรับดังกล่าวจะไปอยู่บริเวณกรอบล่างของเส้นเทรนด์ไลน์คาดการณ์จะมีแรงเทขายออกมามากและจะเข้าสู่แนวโน้มขาลงอีกครั้ง 

โดยจะปรับตัวลงไปยังแนวรับ 1,948-1,907 usd/oz แล้วจะเป็นแรงส่งทำให้ราคาทองจะเป็นขาขึ้นต่อหากสามารถเบรกแนวต้านไว้ให้อยู่ที่ 2,015 usd/oz โดยมีเป้าหมายถัดไปอยู่ที่ 2,048 usd/oz -2,090 usd/oz

เรื่องโดย…#เพ็ญรุ่ง ใยสามเสน#gurutourza, www.facebook.com/penroongyaisamsaen