“สวนดุสิตโพล” เผยผลสำรวจพบคนไทยส่วนใหญ่เกาะติดสถานการณ์ยอดผู้ติดเชื้อโควิด-ผู้เสียชีวิตรายวัน



“สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยสวนดุสิต เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 1,270 คน (สำรวจทางออนไลน์) ระหว่างวันที่ 9-12 สิงหาคม 2564 หัวข้อ “คนไทย” กับ “ตัวเลข/สถิติ” เกี่ยวกับโควิด-19 เพื่อสะท้อนความคิดเห็นกรณีตั้งแต่มีสถานการณ์โควิด-19 จะเห็นได้ว่าคนไทยติดตามข่าวสารข้อมูลมากขึ้น โดยเฉพาะข้อมูลตัวเลขและสถิติต่างๆ เกี่ยวกับโควิด-19 ซึ่งเป็นข้อมูลที่จะช่วยให้ประชาชนเข้าใจและเห็นภาพรวมของสถานการณ์ได้ชัดเจนมากขึ้น สรุปผลได้ ดังนี้

  1. ประชาชนติดตามการรายงาน “ตัวเลข/สถิติ” เกี่ยวกับโควิด-19 จากช่องทางใด

โทรทัศน์ 71.84%
โซเชียลมีเดีย เช่น เฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ อินสตาแกรม ไลน์ 70.49%
เว็บไซต์ข่าว/แอปพลิเคชันข่าวต่าง ๆ 56.49%
การพูดคุย เช่น เพื่อน ญาติพี่น้อง คนในครอบครัว 45.17%
ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) 37.74%

  1. ประชาชนใช้เวลาในการติดตามการรายงาน “ตัวเลข/สถิติ” เกี่ยวกับโควิด-19 ประมาณเท่าใด/ต่อวัน

น้อยกว่า 30 นาทีต่อวัน 40.95%
1-2 ชั่วโมงต่อวัน 31.98%
2-5 ชั่วโมงต่อวัน 13.73%
5 ชั่วโมงขึ้นไปต่อวัน 13.34%

  1. การรายงาน “ตัวเลข/สถิติ” เกี่ยวกับโควิด-19 เรื่องใดที่ประชาชนสนใจติดตาม

อันดับ 1 ยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 และผู้เสียชีวิตรายวัน 92.33%
อันดับ 2 จำนวนผู้ได้รับการฉีดวัคซีน 65.69%
อันดับ 3 เปรียบเทียบยอดผู้ป่วยรายใหม่และผู้ที่รักษาหาย 60.87%
อันดับ 4 สถานการณ์ผู้ป่วยอาการหนัก 50.75%
อันดับ 5 จำนวนเตียง การรองรับผู้ป่วย 48.14%

  1. ประชาชนคิดว่าข้อมูลการรายงาน “ตัวเลข/สถิติ” เกี่ยวกับโควิด-19 ในปัจจุบันมีความน่าเชื่อถือในระดับใด

ค่อนข้างมีความน่าเชื่อถือ 45.87%
มีความน่าเชื่อถือน้อย 33.89%
ไม่มีความน่าเชื่อถือ 14.13%
มีความน่าเชื่อถือมาก 6.11%

  1. ประชาชนคิดว่าในสถานการณ์โควิด-19 “ตัวเลข/สถิติ” มีความสำคัญอย่างไร

อันดับ 1 สะท้อนให้เห็นแนวโน้ม ระดับความรุนแรงของโควิด-19 89.29%
อันดับ 2 ช่วยให้ตระหนักถึงความสำคัญ ระมัดระวังป้องกันตัวเองมากขึ้น 85.25%
อันดับ 3 ทำให้เข้าใจสถานการณ์โควิด-19 มากขึ้น 61.93%
อันดับ 4 ทำให้รู้จำนวน ยอดผู้ป่วย ผู้ติดเชื้อ ผู้เสียชีวิต 61.06%
อันดับ 5 นำมาคำนวณ วางแผนการดำเนินชีวิต เช่น ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับโควิด-19 46.23%

  1. ประชาชนอยากให้มีการนำเสนอ “ตัวเลข/สถิติ” เกี่ยวกับโควิด-19 อย่างไร

อันดับ 1 ชัดเจน ไม่ปกปิด บอกแหล่งอ้างอิง ที่มาของข้อมูล 92.01%
อันดับ 2 มีหน่วยงานรับผิดชอบโดยตรง ตรวจสอบก่อนเผยแพร่ 66.77%
อันดับ 3 ผู้รายงานหลักสื่อสารได้ดี สร้างความเข้าใจ 43.83%
อันดับ 4 ข้อมูลและกราฟิกดูเข้าใจง่าย 41.06%
อันดับ 5 นำเสนอต่อเนื่อง เป็นประจำ 40.35%

  1. “ตัวเลข/สถิติ” เกี่ยวกับโควิด-19 ทำให้ประชาชนมีความเครียดและวิตกกังวลมากน้อยเพียงใด

ค่อนข้างเครียดและวิตกกังวลพอสมควร 57.05%
เครียดและวิตกกังวลมากที่สุด 24.30%
ไม่ค่อยเครียดและวิตกกังวล 14.42%
ไม่เครียดและไม่วิตกกังวลเลย 4.23%
นางสาวพรพรรณ บัวทอง นักวิจัย สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต เปิดเผยว่า จากการสำรวจ พบว่า ในช่วงโควิด-19 ส่วนใหญ่ติดตามข้อมูลตัวเลขและสถิติจากโทรทัศน์ 71.84% และโซเชียลมีเดีย 70.49% ใช้เวลาในการติดตามน้อยกว่า 30 นาทีต่อวัน

เรื่องที่สนใจติดตาม คือ ยอดผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตรายวัน 92.33% และมองว่าข้อมูลปัจจุบันค่อนข้างน่าเชื่อถือ 45.87% โดยเห็นว่าข้อมูลเหล่านี้ช่วยสะท้อนให้เห็นแนวโน้ม ระดับความรุนแรงของโควิด 89.29% และอยากให้นำเสนอข้อมูลที่ชัดเจน ไม่ปกปิด 92.01% เมื่อติดตามข้อมูลเกี่ยวกับตัวเลข/สถิติแล้วรู้สึกค่อนข้างเครียดและวิตกกังวลพอสมควร 57.05%

“ปฏิเสธไม่ได้ว่าในสถานการณ์ใด ๆ ก็ตาม การรายงานข้อมูลแบบตัวเลขและสถิติเป็นสิ่งที่ทำให้ประชาชนรับรู้และเข้าใจได้ง่ายที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์แพร่ระบาดโควิด-19 เพราะทำให้ประชาชนเห็นภาพรวมและเข้าใจถึงความหนัก-เบาของสถานการณ์ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น จึงเป็นหน้าที่ของรัฐบาลในการสื่อสารข้อมูลตามความเป็นจริง ชัดเจน ตรงไปตรงมา เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับประชาชน” นางสาวพรพรรณ กล่าว